Friday, July 10, 2009

เจาะลึกแนวโน้มการใช้สกุลเงินอื่นทดแทนดอลล์

ANALYSIS : เจาะลึกแนวโน้มการใช้

สกุลเงินอื่นทดแทน ดอลล์ในฐานะ

เงินสำรองหลักของโลก ต่อไปนี้

เป็นการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ

ที่เกี่ยวกับดอลลาร์ ในฐานะสกุลเงิน

สำรองของโลก เพราะเหตุใดจึงควร

มีการใช้เงินสกุลอื่น ทดแทนดอลล์

ในฐานะ สกุลเงินสำรองของโลก

จีนและประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่

อย่างรัสเซีย และบราซิล ถือเป็น

หนึ่งในประเทศ ที่ถือครองสินทรัพย์

ในรูปดอลลาร์ มากที่สุดในโลก

โดยส่วนใหญ่ อยู่ในรูปของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

ซึ่งจีนเป็นประเทศ ที่ครอบครองทุนสำรอง

เงินตราต่างประเทศ มากที่สุดในโลก

สหรัฐ ประสบความยากลำบาก

ในการรักษา มูลค่าของดอลลาร์

โดยร่วงลงลงมาแล้ว เมื่อเทียบกับ

สกุลเงินสำคัญ ราว 33% นับแต่ปี 2002

วิกฤติการเงิน กระตุ้นให้รัฐบาลสหรัฐ

นำเงินหลายล้านล้านดอลลาร์มาใช้

ในการกอบกู้เศรษฐกิจ



ต่อไปภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ค่าดอลลาร์

ดิ่งลงต่อไป จีนจะได้รับผลกระทบ

จากเรื่องนี้มาก โดยเชื่อว่าจีนครอบครอง

ดอลลาร์สัดส่วนราว 70% ในทุนสำรอง

เงินตราต่างประเทศของจีน

ซึ่งมีมูลค่าราว 1.9 ล้านล้านดอลลาร์

การที่สหรัฐ เป็นผู้ผลิตสกุลเงินสำรอง

หลักของโลก ส่งผลให้สหรัฐมีความได้เปรียบ

ซึ่งเป็นการสนับสนุน ความไม่สมดุล

ในระบบการเงินโลก และทำให้รัฐบาลสสหรัฐ

ประสบภาวะขาดดุล ในขณะที่สหรัฐจัดหา

อุปทานดอลลาร์ อย่างต่อเนื่อง

ให้แก่ตลาดโลก


การกักตุน สกุลเงินสำรองในรูปของดอลลาร์

มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะฟองสบู่

ด้านสินทรัพย์ ซึ่ง นักเศรษฐ ศาสตร์บางคน

ระบุว่า การที่จีนนำสกุลเงินสำรอง

ออกมาหมุนเวียน ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ

และมีส่วนทำให้ เกิดภาวะฟองสบู่ใน...

ตลาดที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้

เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน

-----สกุลเงินใดควรจับตามอง----

1.ยูโร ยูโรเป็นสกุลเงินที่ได้รับการซื้อขาย

มากที่สุดในโลก รองจากดอลลาร์

และเป็นสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงมาก

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องง่าย ที่จะซื้อ

และขายพันธบัตร ในรูปยูโร

โดยไม่สร้างความผันผวน ให้กับตลาด

ด้วยเหตุนี้ สัดส่วนของยูโร

ในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั่วโลก

จึงเติบโตขึ้น นับตั้งแต่มีการจัดตั้งสกุลเงินนี้

ในปี 1999 โดยเพิ่มขึ้นจาก 18.1%

สู่ 25.9% ในปัจจุบัน


ขณะที่ธนาคารกลางรัสเซีย ได้ปรับสัดส่วน

การถือครองยูโรกับดอลลาร์ในปริมาณที่เท่ากัน

อย่างไรก็ดี การที่รัสเซียทำเช่นนี้

มีสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการที่มีความสัมพันธ์

ทางการค้า อย่างแข็งแกร่งกับยูโรโซน

ซึ่งมีสมาชิก 16 ประเทศ


อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางยุโรป (ECB)

หลีกลี่ยงการสนับสนุน ให้ใช้ยูโร

เพราะจะเป็น การกระตุ้นความต้องการซื้อยูโร

จะส่งผลให้ ค่าเงินทะยานขึ้น และเป็นอุปสรรค

ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซน

2. หยวน สกุลเงินหยวนของจีน

เป็นสกุลเงินของประเทศที่มี

ประชากร มากที่สุดในโลก

และหลายคน เชื่อว่าจีนจะกลายเป็นประเทศ

ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ มากที่สุดในโลก

ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า จีนได้ทำข้อตกลง

กับประเทศคู่ค้า ในการใช้หยวนมากยิ่งขึ้น

ในฐานะผู้รักษามูลค่าของทุนสำรอง

ถ้าหากจีนได้ก้าวมา เป็นประเทศมหาอำนาจ

ทางเศรษฐกิจ อันดับหนึ่งของโลก

อุปสรรคใหญ่ ทั้งการเงินและการเมือง

จะขัดขวางกระบวนการนี้ ส่งผลให้ต้องใช้

เวลาหลายปี หรือหลายสิบปี กว่าจะสำเร็จได้

โดยจีนจำเป็น ต้องผ่อนคลายมาตรการ

ควบคุมเศรษฐกิจ และระบบการเงินของตน

เพื่ออนุญาตให้หยวน ไหลเวียนได้อย่างอิสระ

และเพื่ออนุญาต ให้ธนาคารกลาง

ของประเทศอื่นๆ และชาวต่างชาติ

ลงทุนในหยวนได้อย่างอิสระ

3. สกุลเงินของประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์

อุปสงค์ในน้ำมัน , โลหะ และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ

อาจกระตุ้น ให้ธนาคารกลางหลายแห่ง

กระจายทุนสำรองบางส่วนของตน

เข้าสู่สกุลเงิน ประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัฑ์

อย่างเช่น ออสเตรเลีย, แคนาดา และนิวซีแลนด์

ปัญหาใหญ่ ก็คือการที่ตลาดสำหรับสกุลเงินกลุ่มนี้

มีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับปริมาณสำรองทั่วโลก

ที่ 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นความเคลื่อนไหว

ของราคาเพียงเล็กน้อย จึงอาจก่อให้เกิดความผันผวน

ที่สูงมาก ในอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินกลุ่มนี้


4. SDR จีนและรัสเซียเสนอแนะว่า

SDR Special Drawing Right ซึ่งเป็นตระกร้า

สกุลเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF

อาจกลายเป็น สกุลเงินสำรองหลักของโลก

การใช้ SDR มากยิ่งขึ้น อาจรวมถึงการสนับสนุน

ให้ใช้ SDR ในการชำระค่าสินค้า

และใช้เป็นสกุลเงินในการทำ ธุรกรรมเอกชน

ระหว่างประเทศ เช่น การกู้เงิน , พันธบัตร

หรือเงินฝาก IMF จะพิจารณาทบทวนองค์ประกอบ

ของ SDR ใน ปี 2010 และมีแนวโน้มว่า

ประเทศเกิดใหม่ จะทำตามอย่างจีน

ในการผลักดันให้ IMF นำสกุลเงินของประเทศตนเอง

ไปรวมไว้ใน SDR ด้วย


นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า

เป็นเรื่องง่ายกว่าสำหรับธนาคารกลาง

ในการปรับสัดส่วน ทุนสำรองของตน

ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของ SDR

รายงานรายไตรมาสของ IMF เรื่อง

“สกุลเงินที่เป็นองค์ประกอบในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ”

แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของดอลลาร์ในทุนสำรอง

ของธนาคารกลาง ทะยานขึ้นในไตรมาสแรก

สู่ 64.9% จาก 64% สัดส่วนดังกล่าว

ถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี

แต่มีสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากความต้องการซื้อ

ดอลลาร์ ในฐานะสกุลเงินที่มีความปลอดภัยสูง

ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงิน

อย่างไรก็ดี สัดส่วนนี้ยังคงอยู่ต่ำกว่าสัดส่วน 73%

ของดอลลาร์ในช่วงต้นปี 2001

ที่มา : http://www.chaloke.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7042#81016

No comments:

Post a Comment

Custom Search

Followers