Friday, July 3, 2009

Inside DW

หลังจากที่ได้ นำข้อมูล เกี่ยวกับ DW มาลง

2 บทความแล้ว หวังว่า เพื่อนๆ คงจะได้ ...

ความรู้ และมีความเข้าใจ ใน DW เพิ่มขึ้น

กันบ้าง ไม่มากก็น้อย นะคะ แต่ก็ยังอยากสรุป

ให้เข้าใจง่ายๆ อีกที ละกันค่ะ...



เจ้า DW นี้ ถือว่าเป็นหลักทรัพย์ และจะเข้า

trade ใน SET ไม่ใช่ TFEX


การซื้อขาย ก็เหมือนกับเรา ซื้อขาย Warrant

ใน SET นั่นแหละ และก็ต้องอย่าลืม ดูเรื่อง

วันครบกำหนดอายุด้วย


ส่วนที่ต่างกับ Warrant ก็คือ ผู้ออก เป็นบริษัท

ที่ไม่ใช่เจ้าของหุ้น เมื่อผู้ถือ DW ต้องการใช้สิทธิ

บริษัทผู้ออกนี้ จะต้องไปซื้อหุ้น ในตลาด มาส่งมอบ

เพราะฉะนั้น เราก็ต้องพิจารณา ดูว่า บริษัทที่ออก

DW นี้ สามารถเตรียมหุ้น มารองรับการใช้สิทธิ

ได้เพียงพอ หรือไม่ มีความน่าเชื่อถือ และฐานะ

ทางการเงินดี เมื่อลูกค้ามาใช้สิทธิ แล้วไม่ผิดสัญญา


DW ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับตลาดทุนไทย

แต่สำหรับ ตลาดทุนที่พัฒนาแล้ว อย่างในอเมริกา

ยุโรป เลิกสนใจ DW ไปนานแล้ว เพราะโครงสร้าง

ตลาดของเขา เป็นนักลงทุนสถาบัน

DW เป็นสินค้า ที่เหมาะสมกับตลาดทุน ที่มีโครงสร้าง

เป็น นักลงทุนรายย่อย และเก็งกำไร จึงบูมมากใน

ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งเกาหลีใต้



สำหรับประเทศไทย มีบล.เคจีไอ และกิมเอ็ง

เป็นผู้นำ ผลิตภัณฑ์นี้ เข้ามาเสนอ ให้นักลงทุนไทย

ซึ่งทั้ง สองบริษัทนี้ ได้รับอนุญาต จาก ก.ล.ต.

ให้สามารถทำธุรกรรม ดังกล่าวได้ ในฐานะบุคคลที่ 3

โดยจะต้องหาหลักทรัพย์อ้างอิง มาทำการซื้อขาย

อาจจะเป็นหลักทรัพย์ หรือดัชนีหลักทรัพย์

โดย ก.ล.ต. กำหนดว่า หุ้นที่สามารถเป็นหลักทรัพย์

อ้างอิงได้ ต้องจดทะเบียนซื้อขายม่ต่ำกว่า 1 ปี

มี Market Cap เฉลี่ย 3 เดือน มากกว่า1 หมื่นล้านบาท

และมีปริมาณการซื้อขาย มากกว่า 1%


ในช่วงปลายปี 2008 หลักทรัพย์ ที่ผ่านเกณฑ์ ดังกล่าว

มี 26 บริษัท อยู่ในกลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ พลังงาน

วัสดุก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ทั้ง เคจีไอ

และกิมเอ็ง สามารถหาหุ้นที่น่าสนใจ และเป็นที่ต้องการ

ของนักลงทุนได้มาก พอสมควร และเนื่องจากบริษัท

ที่ออก DW ไม่ต้อง ขออนุญาต บริษัทจดทะเบียน

ผู้ออก ไม่มีความสัมพันธ์ กับบริษัทนั้นเลย ทำให้

สามารถ เลือกหุ้น ที่ดีที่สุด มาทำ DW ออกขาย

ให้กับ ลูกค้า ได้



แล้ว เคจีไอ กับ กิมเอ็ง ได้ประโยชน์ อะไร???

ได้ประโยชน์ ในเรื่องของความเชื่อมั่น และภาพพจน์

ที่ดีในสายตาสถาบันการเงิน

แต่ในฐานะที่เขา เป็นผู้ออก หลักทรัพย์ใหม่ ขายให้กับ

ประชาชนครั้งแรก(IPO) เขาก็จะต้องซื้อหุ้นมาเก็บไว้

เพื่อรองรับ การใช้สิทธิ ทำให้เป็นการเพิ่มสภาพคล่อง

ให้กับหุ้น อีกทางหนึ่ง และไม่มีผลกระทบด้าน

Dilution เพราะไม่มีการเพิ่มทุน เป็นหุ้นที่ซื้อขาย

บนกระดาน อยู่แล้ว และทำให้หุ้น หลายบริษัท ที่เป็น

ที่ต้องการของนักลงทุน แต่ขาดสภาพคล่อง หรือไม่มี

Warrant ขาย DW จะช่วยอุดช่องว่าง ดังกล่าวนี้ได้



แต่แม้ว่า DW จะน่าสนใจแค่ไหน สิ่งสำคัญ ที่นักลงทุน

จะลืมไป ไม่ได้เลย คือเรื่องของความเสี่ยง ซึ่งจะมีอยู่

ตลอดเวลา นอกเหนือจากความผันผวนของตลาดแล้ว

ยังมีความเสี่ยง ด้านผู้ออกด้วย เพราะหากมีปัญหา

จะเกิดหนี้สูญ ทันที



เพื่อลดความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้น กับนักลงทุน

ทาง ก.ล.ต. เลยกำหนดให้ บล. ที่สนใจออก DW

ต้องมีทุนจดทะเบียน ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท

มีสภาพคล่องขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท

อัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องต่อสินทรัพย์เสี่ยง

ไม่ต่ำกว่า 7% และมีอันดับความน่าเชื่อถือ ระดับ

Investment Grade ขึ้นไป



ก็ถือว่า DW นี้ เป็นรูปแบบใหม่ ที่ บล. ต่างชาติ

นำมาดึงดูด นักลงทุนไทย เพื่อจูงใจให้ทำธุรกรรม

และเป็นเพียงแค่การบริการ ให้ลูกค้าซื้อหุ้นเท่านั้นเอง



โปรดติดตาม PTT13CA ตอนต่อไป

ถ้าใครมีความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็โปรดช่วยกันโพสต์

ด้วยนะคะ จะได้เป็นการแบ่งปันความรู้กันค่ะ

No comments:

Post a Comment

Custom Search

Followers