กลยุทธ์หุ้น เดือนกันยายน
http://kelive.kimeng.co.th/kelive/UploadPdfs/20090827173133255090827_Monthly%20Report%20Sept09_T.pdf
ขอบคุณ KIM ENG Kelive Research
Friday, August 28, 2009
Monday, August 10, 2009
หลักทรัพย์ที่ควรรู้จัก (ตอนจบ)
17. กองทุนส่วนบุคคล ( PRIVATE FUND )
คือ กองทุนที่สถาบันการเงินผู้ได้รับอนุญาต จัดการ
การลงทุนให้กับบุคคล หรือ คณะบุคคลไม่เกิน 10 ราย
โดยมีจำนวนเงินต่อกองทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
ซึ่งเจ้าของเงินทุน สามารถมีส่วน ในการกำหนด
นโยบายการลงทุนของตนเองได้
18. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( PROVIDENT FUND / PVD )
คือ กองทุนที่ลูกจ้าง และนายจ้าง ร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจ
เงินกองทุน มาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม และเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ
ให้ทุกเดือน เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเกษียณอายุหรือ
ออกจากงาน ลูกจ้างจะถูกกำหนดให้จ่ายเงินสะสมตั้งแต่ร้อยละ 2-15
ของเงินเดือน และนายจ้างจะต้องสมทบเงิน ไม่น้อยกว่าเงินสะสม
ของลูกจ้างแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือนลูกจ้าง เงินสะสม
ที่ลูกจ้างจ่าย สามารถนำมาหักลดหย่อน ในการคำนวณเงินได้
เพื่อเสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท
ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 290,000 บาทได้รับการยกเว้น
ไม่ต้องนำไปคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี
19. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
( GOVERNMENT PENSION FUND /GPF / กบข. )
คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหาร
เงินเกษียณอายุ ให้ข้าราชการแทนระบบบำเหน็จบำนาญเดิม
ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และฐานะทางการคลังของประเทศ
ข้าราชการจะถูกกำหนดให้จ่ายเงินสะสมร้อยละ 3 ของเงินเดือน
ส่วนรัฐจะจ่ายเงินสมทบให้ร้อยละ 3 เช่นกัน
เมื่อสมาชิกเกษียณอายุ หากอายุราชการไม่ถึง 10 ปี
จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น
หากทำงาน 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปี จะได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ และดอกผลจากกบข. พร้อมมีเงินบำเหน็จให้อีกก้อนหนึ่ง
ซึ่งเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยอายุราชการ หากทำงาน 25 ปีขึ้นไป
สมาชิกกองทุนจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบและดอกผลจากกบข.
พร้อมบำเหน็จหรือบำนาญ หากเป็นบำเหน็จ จะเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย
คูณอายุราชการ ถ้าเป็นบำนาญจะเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
คูณอายุราชการหารด้วยห้าสิบ รับป็นรายได้ต่อเดือน ไปตลอดชีวิต
20. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
( RETIREMENT MUTUAL FUND / RMF )
เป็นกองทุนรวม ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ บริหารเงินเกษียณอายุให้ประชาชน
ทั่วไป โดยเฉพาะคนที่ทำงานอิสระ ไม่ได้ทำงานบริษัทหรือรับราชการ
เพื่อให้สามารถ เตรียมเงินเกษียณอายุได้อย่างเป็นระบบ เหมือนสมาชิก
ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามบริษัทต่างๆ
กองทุนนี้ ผู้ลงทุนต้องออกเงินออมแต่เพียงฝ่ายเดียวและมีข้อกำหนด
ให้ ต้องลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของ
เงินได้ในปีภาษีนั้นหรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ ต้องไม่ขาด
การลงทุนในแต่ละกองทุนรวมเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน โดยกองทุนรวมนี้
จะไม่มีการจ่ายเงินปันผล หรือ เงินตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้ลงทุน
จะจ่ายเงินทั้งหมดก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนแจ้งไถ่ถอน
ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ ผลตอบแทน
การลงทุนไม่ต้องเสียภาษี และ เงินลงทุนที่เติมเข้าไปในแต่ละปี
ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ ตามที่จ่ายจริง
โดยเมื่อรวมเงินลงทุนนี้เข้ากับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือ กบข.แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในแต่ละปีภาษี
เงินที่ลงทุนไปทั้งหมด พร้อมผลตอบแทนจะไถ่ถอนได้
ก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้ว
ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ ไถ่ถอนได้ในกรณีผู้ลงทุนทุพลภาพหรือตาย
โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะเริ่มในปีเงินได้ 2544 เป็นต้นไป
กรณีผู้ลงทุนทำผิดเงื่อนไข ไถ่ถอนก่อนข้อกำหนด สิทธิประโยชน์
ทางภาษีที่ได้รับจากการลงทุน ในส่วนของ 5 ปีสุดท้าย จะต้องถูก
เรียกคืนและผลตอบแทนการลงทุนของ 5 ปีท้ายสุดจะต้องถือ
เป็นรายได้นำมารวมคำนวณภาษีด้วย
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนี้ สามารถลงทุนในหลักทรัพย์
ทุกประเภท เช่น หุ้นสามัญ , หุ้นกู้ , พันธบัตร , เงินฝาก หรือ
วอร์แรนท์ แต่ผู้ลงทุน สามารถกำหนดได้ว่า จะเลือกลงทุน
ในกองทุนประเภทใด และผู้ลงทุนสามารถโอนย้ายกองทุนจาก
RMF หนึ่งไปยังอีก RMF หนึ่งได้ เพื่อเลือกนโยบายการลงทุน
ที่เหมาะสมกับอายุและภาวะตลาดในตอนนั้น
21. กรมธรรม์ประกันชีวิต ( LIFE INSURANCE POLICY )
เป็นการลงทุน ที่ให้ผลตอบแทนเรื่องการออมทรัพย์ และการคุ้มครอง
ในเวลาเดียวกัน ผลตอบแทนของกรมธรรม์ประกันชีวิต มักกำหนด
ไว้คงที่ที่ 5-6 % ต่อปี จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบความเสี่ยง
หรือผู้ที่เก็บเงินไม่ค่อยได้ เนื่องจากการเก็บออม โดยการทำ
ประกันชีวิต เป็นวิธีเก็บเงิน ที่เป็นระบบระเบียบมากที่สุดวิธีหนึ่ง
ผู้ลงทุนต้องเจียดเงินมาเก็บทุกปีเป็นเวลายาวนานถึง 20 ปี
หรือจนครบอายุสัญญา
สำหรับผู้ลงทุน ที่ต้องการเก็บเงินเพื่อใช้ยามเกษียณอายุ
มีรูปแบบที่น่าสนใจ 2 แบบคือ แบบสะสมทรัพย์ ซึ่งเป็นการ
เก็บออมเงินแล้วไปรับเงินก้อน ไว้ใช้เป็นเงินบำเหน็จเมื่อ
ตอนครบสัญญา หรือแบบมีเงินได้ประจำ เป็นแบบเก็บเงิน
ระยะเวลาหนึ่ง ( ประมาณ 20 ปี ) หลังจากนั้นไม่ต้องจ่าย
เบี้ยประกันอีกแล้ว แต่จะได้รับเงินบำนาญไว้ใช้ทุกปี ไปตลอดชีวิต
ซึ่งแบบหลังนี้ยังสามารถป้องกันญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก
มาหยิบยืมเงินก้อนสุดท้ายที่จะเก็บไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิตได้
เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักเก็บออมเงิน
เพื่อจะได้ดูแลรับผิดชอบตนเองเมื่อตอนแก่ จึงสนับสนุนให้ลดหย่อนภาษี
ได้ถึงปีละ 100,000 บาท ดอกผลที่เกิดจากการทำประกันชีวิตทุกบาท
ทุกสตางค์ไม่ต้องเสียภาษี และยังมีกฎหมายคุ้มครองพิเศษ ให้เงินสินไหม
ประกันชีวิตเป็นเงินปลอดหนี้สิน เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดได้เกินกว่าเบี้ยประกัน
ที่ได้จ่ายไปซึ่งจะแตกต่างจากสินทรัพย์อื่นๆที่จะถูกยึดจากเจ้าหนี้ได้
เมื่อผู้ลงทุนเสียชีวิตไป
22. อินเวสต์เมนต์ลิงค์ / ยูนิตลิงค์
( INVESTMENT LINKED / UNIT LINK )
คือ แบบประกันชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของประกันแบบชั่วระยะเวลา
และ กองทุนรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน เบี้ยประกันที่จ่ายทุกปี ได้รวม
เบี้ยประกันปกติและเงินลงทุนเข้าไว้ด้วยกันแล้ว แต่ผู้เอาประกัน
สามารถเพิ่มเงินลงทุนได้ตลอดเวลา และในเวลาเดียวกัน
ก็สามารถขายหน่วยลงทุนที่ซื้อเพิ่มนี้ได้ทุกเวลาเช่นกัน
บริษัทประกัน จะนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์
เหมือนกองทุนรวมทั่วไป และให้สิทธิลูกค้าเลือกได้ว่าจะลงทุน
ในกองทุนประเภทใด ในสัดส่วนเท่าไร หรือ จะโอนย้าย
ประเภทของกองทุนก็ได้เช่นกัน
เนื่องจาก อินเวสต์เมนต์ ลิงค์ นับเป็นประกันชีวิตชนิดหนึ่ง
จึงต้องมีขั้นตอนพิจารณา อายุ , สุขภาพ ,ฐานะทางการเงิน
เหมือนประกันชีวิตทั่วไป แต่ก็ได้สิทธิรับความคุ้มครองเงินลงทุน
จากเจ้าหนี้ และได้สิทธิประโยชน์เรื่องภาษีเหมือนประกันชีวิตทุกประการ
เราได้รู้จักหลักทรัพย์ หรือช่องทางการลงทุนข้างต้นแบบคร่าวๆแล้ว
ตอนนี้อยู่ที่ว่า เราสนใจแนวทางการลงทุนแบบไหน เรามีความชำนาญ
มากน้อยเพียงใด หรือ จะมอบหมายให้นักลงทุนมืออาชีพ
จากสถาบันการเงินช่วยลงทุนให้เรา
แต่ที่แน่ๆ เราต้องจัดพอร์ตการลงทุนให้หลากหลาย
เพื่อกระจายความเสี่ยง เพราะการลงทุนใดๆล้วนมีความเสี่ยง
ขนาดเงินคงคลังของประเทศที่มีอยู่เป็นแสนล้านยังหายวับ
ไปในชั่วพริบตา บริษัทเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศยังล้มละลาย
ในชั่วข้ามคืน แล้วเราคิดว่า ในโลกนี้ ยังมีอะไรที่แน่นอนอีกล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.thaifinancialadvisor.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538653110&Ntype=1
คือ กองทุนที่สถาบันการเงินผู้ได้รับอนุญาต จัดการ
การลงทุนให้กับบุคคล หรือ คณะบุคคลไม่เกิน 10 ราย
โดยมีจำนวนเงินต่อกองทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
ซึ่งเจ้าของเงินทุน สามารถมีส่วน ในการกำหนด
นโยบายการลงทุนของตนเองได้
18. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( PROVIDENT FUND / PVD )
คือ กองทุนที่ลูกจ้าง และนายจ้าง ร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจ
เงินกองทุน มาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม และเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ
ให้ทุกเดือน เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเกษียณอายุหรือ
ออกจากงาน ลูกจ้างจะถูกกำหนดให้จ่ายเงินสะสมตั้งแต่ร้อยละ 2-15
ของเงินเดือน และนายจ้างจะต้องสมทบเงิน ไม่น้อยกว่าเงินสะสม
ของลูกจ้างแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือนลูกจ้าง เงินสะสม
ที่ลูกจ้างจ่าย สามารถนำมาหักลดหย่อน ในการคำนวณเงินได้
เพื่อเสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท
ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 290,000 บาทได้รับการยกเว้น
ไม่ต้องนำไปคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี
19. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
( GOVERNMENT PENSION FUND /GPF / กบข. )
คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหาร
เงินเกษียณอายุ ให้ข้าราชการแทนระบบบำเหน็จบำนาญเดิม
ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และฐานะทางการคลังของประเทศ
ข้าราชการจะถูกกำหนดให้จ่ายเงินสะสมร้อยละ 3 ของเงินเดือน
ส่วนรัฐจะจ่ายเงินสมทบให้ร้อยละ 3 เช่นกัน
เมื่อสมาชิกเกษียณอายุ หากอายุราชการไม่ถึง 10 ปี
จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น
หากทำงาน 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปี จะได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ และดอกผลจากกบข. พร้อมมีเงินบำเหน็จให้อีกก้อนหนึ่ง
ซึ่งเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยอายุราชการ หากทำงาน 25 ปีขึ้นไป
สมาชิกกองทุนจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบและดอกผลจากกบข.
พร้อมบำเหน็จหรือบำนาญ หากเป็นบำเหน็จ จะเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย
คูณอายุราชการ ถ้าเป็นบำนาญจะเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
คูณอายุราชการหารด้วยห้าสิบ รับป็นรายได้ต่อเดือน ไปตลอดชีวิต
20. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
( RETIREMENT MUTUAL FUND / RMF )
เป็นกองทุนรวม ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ บริหารเงินเกษียณอายุให้ประชาชน
ทั่วไป โดยเฉพาะคนที่ทำงานอิสระ ไม่ได้ทำงานบริษัทหรือรับราชการ
เพื่อให้สามารถ เตรียมเงินเกษียณอายุได้อย่างเป็นระบบ เหมือนสมาชิก
ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามบริษัทต่างๆ
กองทุนนี้ ผู้ลงทุนต้องออกเงินออมแต่เพียงฝ่ายเดียวและมีข้อกำหนด
ให้ ต้องลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของ
เงินได้ในปีภาษีนั้นหรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ ต้องไม่ขาด
การลงทุนในแต่ละกองทุนรวมเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน โดยกองทุนรวมนี้
จะไม่มีการจ่ายเงินปันผล หรือ เงินตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้ลงทุน
จะจ่ายเงินทั้งหมดก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนแจ้งไถ่ถอน
ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ ผลตอบแทน
การลงทุนไม่ต้องเสียภาษี และ เงินลงทุนที่เติมเข้าไปในแต่ละปี
ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ ตามที่จ่ายจริง
โดยเมื่อรวมเงินลงทุนนี้เข้ากับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือ กบข.แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในแต่ละปีภาษี
เงินที่ลงทุนไปทั้งหมด พร้อมผลตอบแทนจะไถ่ถอนได้
ก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้ว
ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ ไถ่ถอนได้ในกรณีผู้ลงทุนทุพลภาพหรือตาย
โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะเริ่มในปีเงินได้ 2544 เป็นต้นไป
กรณีผู้ลงทุนทำผิดเงื่อนไข ไถ่ถอนก่อนข้อกำหนด สิทธิประโยชน์
ทางภาษีที่ได้รับจากการลงทุน ในส่วนของ 5 ปีสุดท้าย จะต้องถูก
เรียกคืนและผลตอบแทนการลงทุนของ 5 ปีท้ายสุดจะต้องถือ
เป็นรายได้นำมารวมคำนวณภาษีด้วย
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนี้ สามารถลงทุนในหลักทรัพย์
ทุกประเภท เช่น หุ้นสามัญ , หุ้นกู้ , พันธบัตร , เงินฝาก หรือ
วอร์แรนท์ แต่ผู้ลงทุน สามารถกำหนดได้ว่า จะเลือกลงทุน
ในกองทุนประเภทใด และผู้ลงทุนสามารถโอนย้ายกองทุนจาก
RMF หนึ่งไปยังอีก RMF หนึ่งได้ เพื่อเลือกนโยบายการลงทุน
ที่เหมาะสมกับอายุและภาวะตลาดในตอนนั้น
21. กรมธรรม์ประกันชีวิต ( LIFE INSURANCE POLICY )
เป็นการลงทุน ที่ให้ผลตอบแทนเรื่องการออมทรัพย์ และการคุ้มครอง
ในเวลาเดียวกัน ผลตอบแทนของกรมธรรม์ประกันชีวิต มักกำหนด
ไว้คงที่ที่ 5-6 % ต่อปี จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบความเสี่ยง
หรือผู้ที่เก็บเงินไม่ค่อยได้ เนื่องจากการเก็บออม โดยการทำ
ประกันชีวิต เป็นวิธีเก็บเงิน ที่เป็นระบบระเบียบมากที่สุดวิธีหนึ่ง
ผู้ลงทุนต้องเจียดเงินมาเก็บทุกปีเป็นเวลายาวนานถึง 20 ปี
หรือจนครบอายุสัญญา
สำหรับผู้ลงทุน ที่ต้องการเก็บเงินเพื่อใช้ยามเกษียณอายุ
มีรูปแบบที่น่าสนใจ 2 แบบคือ แบบสะสมทรัพย์ ซึ่งเป็นการ
เก็บออมเงินแล้วไปรับเงินก้อน ไว้ใช้เป็นเงินบำเหน็จเมื่อ
ตอนครบสัญญา หรือแบบมีเงินได้ประจำ เป็นแบบเก็บเงิน
ระยะเวลาหนึ่ง ( ประมาณ 20 ปี ) หลังจากนั้นไม่ต้องจ่าย
เบี้ยประกันอีกแล้ว แต่จะได้รับเงินบำนาญไว้ใช้ทุกปี ไปตลอดชีวิต
ซึ่งแบบหลังนี้ยังสามารถป้องกันญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก
มาหยิบยืมเงินก้อนสุดท้ายที่จะเก็บไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิตได้
เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักเก็บออมเงิน
เพื่อจะได้ดูแลรับผิดชอบตนเองเมื่อตอนแก่ จึงสนับสนุนให้ลดหย่อนภาษี
ได้ถึงปีละ 100,000 บาท ดอกผลที่เกิดจากการทำประกันชีวิตทุกบาท
ทุกสตางค์ไม่ต้องเสียภาษี และยังมีกฎหมายคุ้มครองพิเศษ ให้เงินสินไหม
ประกันชีวิตเป็นเงินปลอดหนี้สิน เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดได้เกินกว่าเบี้ยประกัน
ที่ได้จ่ายไปซึ่งจะแตกต่างจากสินทรัพย์อื่นๆที่จะถูกยึดจากเจ้าหนี้ได้
เมื่อผู้ลงทุนเสียชีวิตไป
22. อินเวสต์เมนต์ลิงค์ / ยูนิตลิงค์
( INVESTMENT LINKED / UNIT LINK )
คือ แบบประกันชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของประกันแบบชั่วระยะเวลา
และ กองทุนรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน เบี้ยประกันที่จ่ายทุกปี ได้รวม
เบี้ยประกันปกติและเงินลงทุนเข้าไว้ด้วยกันแล้ว แต่ผู้เอาประกัน
สามารถเพิ่มเงินลงทุนได้ตลอดเวลา และในเวลาเดียวกัน
ก็สามารถขายหน่วยลงทุนที่ซื้อเพิ่มนี้ได้ทุกเวลาเช่นกัน
บริษัทประกัน จะนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์
เหมือนกองทุนรวมทั่วไป และให้สิทธิลูกค้าเลือกได้ว่าจะลงทุน
ในกองทุนประเภทใด ในสัดส่วนเท่าไร หรือ จะโอนย้าย
ประเภทของกองทุนก็ได้เช่นกัน
เนื่องจาก อินเวสต์เมนต์ ลิงค์ นับเป็นประกันชีวิตชนิดหนึ่ง
จึงต้องมีขั้นตอนพิจารณา อายุ , สุขภาพ ,ฐานะทางการเงิน
เหมือนประกันชีวิตทั่วไป แต่ก็ได้สิทธิรับความคุ้มครองเงินลงทุน
จากเจ้าหนี้ และได้สิทธิประโยชน์เรื่องภาษีเหมือนประกันชีวิตทุกประการ
เราได้รู้จักหลักทรัพย์ หรือช่องทางการลงทุนข้างต้นแบบคร่าวๆแล้ว
ตอนนี้อยู่ที่ว่า เราสนใจแนวทางการลงทุนแบบไหน เรามีความชำนาญ
มากน้อยเพียงใด หรือ จะมอบหมายให้นักลงทุนมืออาชีพ
จากสถาบันการเงินช่วยลงทุนให้เรา
แต่ที่แน่ๆ เราต้องจัดพอร์ตการลงทุนให้หลากหลาย
เพื่อกระจายความเสี่ยง เพราะการลงทุนใดๆล้วนมีความเสี่ยง
ขนาดเงินคงคลังของประเทศที่มีอยู่เป็นแสนล้านยังหายวับ
ไปในชั่วพริบตา บริษัทเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศยังล้มละลาย
ในชั่วข้ามคืน แล้วเราคิดว่า ในโลกนี้ ยังมีอะไรที่แน่นอนอีกล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.thaifinancialadvisor.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538653110&Ntype=1
หลักทรัพย์ที่ควรรู้จัก (ตอน 1)
โลกของเราเปลี่ยนแปลงทุกวัน สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนคือ
คนเราต้องแก่ลง และต้องมีเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ
การลงทุนจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น
ขณะเดียวกัน การลงทุนโดยไม่มีความเข้าใจที่มากพอ
ก็อาจทำลายเงินออมทั้งก้อนที่เราเฝ้าอุตส่าห์เก็บมาตลอดชีวิตก็ได้
ในบทความชิ้นนี้ จะเป็นเพียง การแนะนำหลักทรัพย์
ทางการเงินชนิดต่างๆให้เรารู้จักแบบคร่าวๆ หากเราสนใจ
จะลงทุนสินค้าชนิดใด คงต้องไปศึกษาข้อมูล ลึกลงไป
ในหลักทรัพย์นั้นๆ ก่อนตัดสินใจลงทุนจริงๆ
หลักทรัพย์ทางการเงินที่ควรรู้จัก
1. หุ้นสามัญ ( COMMON SHARE , STOCK )
คือ เอกสารที่แสดงสิทธิในความเป็นเจ้าของของบริษัท
หรือ กิจการใดกิจการหนึ่ง วัตถุประสงค์ของบริษัทที่ออกขายหุ้น
เพื่อระดมเงินทุนขยายกิจการ แต่ผู้ซื้อหุ้นหรือผู้ถือหุ้น
มีวัตถุประสงค์ เพื่อหวังผลกำไรจากเงินปันผล และการเพิ่มขึ้น
ของราคาหุ้น การเป็นผู้ถือหุ้น ยังทำให้เรามีสิทธิมีส่วน
ในการกำหนดแนวนโยบายของบริษัท แต่สิทธิดังกล่าวจะมากน้อย
เพียงใด ขึ้นกับว่า เราถือหุ้นบริษัทนั้นมากน้อยเพียงใดด้วย
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ ( PREFERED SHARE )
คือหุ้น ประเภทหนึ่ง ที่ให้สิทธิพิเศษ แก่ผู้ถือหุ้น มากกว่า
หุ้นสามัญ อย่างน้อยสองประการ คือ
ประการแรก มีสิทธิรับเงินปันผล ในอัตราที่แน่นอนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
เงินปันผลที่ไม่จ่ายในปีปัจจุบัน ก็ให้สะสมไปจ่ายในอนาคตได้
ขึ้นกับข้อกำหนดในการออกหุ้นบุริมสิทธิ์ในครั้งนั้นๆ
ประการที่สอง หากบริษัทต้องเลิกกิจการ ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ
ได้รับการแบ่งทรัพย์สินก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ โดยทั่วไป
บริษัทจะออกหุ้นบุริมสิทธิ์ ในภาวะที่บริษัทเกิดวิกฤต
ระดมเงินทุนไม่ได้ จึงต้องจูงใจผู้คน โดยให้สิทธิพิเศษ
มากกว่าผู้ถือหุ้นเดิม แต่บริษัทมักกำหนดให้ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์
ไม่มีสิทธิ ในการออกเสียง และไม่มีสิทธิในการรับเลือกตั้ง
เป็นกรรมการบริษัท
3. หุ้นกู้ ( DEBENTURE , CORPORATE BOND )
คือ เอกสารที่แสดงสิทธิเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท หรือ กิจการใดกิจการหนึ่ง
บริษัทออกหุ้นกู้ เพื่อระดมทุนขยายกิจการ แต่ทำในรูปของการกู้ยืม
ประชาชนโดยกำหนดระยะเวลา และอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน
(ว่าเป็นคงที่หรือลอยตัวตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ) โดยทั่วไป
หุ้นกู้จะมีอายุ 3-7 ปี ดอกเบี้ยมักสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
แต่เป็นการกู้ที่ไม่มีหลักประกัน การจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายเป็นงวดๆ
เมื่อครบกำหนดผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน
บริษัทเลือกจะกู้เงินจากประชาชนโดยตรง เพราะอัตราดอกเบี้ย
ถูกกว่าการกู้เงินจากธนาคาร ระยะเวลากู้ยาวนานกว่า ทำให้บริหารเงิน
ได้ง่าย หรือ อยู่ในภาวะที่ธนาคาร อาจไม่ยอมปล่อยกู้เพิ่มเติมให้แล้ว
จึงต้องหาช่องทางกู้เงินจากประชาชนแทน
ส่วนผู้ลงทุนซื้อหุ้นกู้ เพราะ ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าฝากธนาคาร ,
มีผลตอบแทนคงที่ และยังสามารถทำกำไรได้จากการขายหุ้นกู้
ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง หุ้นกู้จะมีราคาสูงขึ้น
หุ้นกู้มีหลายประเภท เช่น
- หุ้นกู้แปลงสภาพ คือ หุ้นกู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ
สามารถเลือกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ หรือจะถือ
เป็นหุ้นกู้ต่อเพื่อรับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ จนครบกำหนดก็ได้
ผู้ลงทุนจะใช้สิทธิ แปลงสภาพก็ต่อเมื่อราคาหุ้นสามัญ
อยู่สูงกว่าราคาแปลงสภาพ
- หุ้นกู้มีหลักประกัน คือ หุ้นกู้ที่มีสถาบันการเงิน หรือ
บริษัทอื่นที่มั่นคงกว่ามาค้ำประกันหนี้สินให้ หรือ บริษัทผู้ออกหุ้นกู้
อาจยินยอมให้เอาทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน ,ตัวโรงงาน มาค้ำประกันหนี้สิน
- หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ คือหุ้นกู้ที่กำหนด ให้มีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัท
เป็นลำดับท้ายๆในกลุ่มหุ้นกู้ด้วยกันในกรณีที่บริษัทปิดกิจการลง
แต่มักให้ดอกเบี้ยสูงมาก
หมายเหตุ ลำดับสิทธิ์ในการเรียกร้องต่อสินทรัพย์ของบริษัท
ในกรณีที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งปิดกิจการ คือ รัฐบาล ( กรมสรรพากร ) ,
พนักงาน ลูกจ้าง , เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นกู้มีหลักประกัน , เจ้าหนี้การค้า ,
เจ้าหนี้ทั่วไป , ผู้ถือหุ้นกู้ , หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ , หุ้นบุริมสิทธิ์ และหุ้นสามัญ
4. สลิปส์ - แคปส์ ( SLIPS , CAPS ) คือ หุ้นบุริมสิทธิ์
ควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ ที่สถาบันการเงิน นำออกมาขายระดมทุน
ในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน เนื่องจากไม่สามารถเพิ่มทุน
ในรูปของหุ้นสามัญได้ จึงระดมทุนในรูปหุ้นบุริมสิทธิ์ ที่มีหุ้นกู้
ด้อยสิทธิ์ดอกเบี้ยสูงถึง 22 % มาจูงใจ โดยคาดการณ์ว่า
ในช่วง 5 ปีแรก บริษัทคงยังไม่มีกำไร มาจ่ายเงินปันผล
ให้หุ้นบุริมสิทธิ์ ดอกเบี้ยรับเฉลี่ยจึงตกปีละ 11 % เมื่อครบ
5 ปีสถาบันการเงินเหล่านี้มีสิทธิไถ่ถอนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้
5. พันธบัตร ( GOVERNMENT BOND ) คือ หุ้นกู้
ที่ออกโดยรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจโดยมีรัฐบาลค้ำประกัน
ความเสี่ยง จากการไม่ได้เงินลงทุนคืนจึงแทบไม่มี ดอกเบี้ย
มักจะต่ำกว่าหุ้นกู้ทั่วไป แต่ยังคงสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
เนื่องจากระยะถือครองยาวนานกว่า
6. วอร์แรนท์ ( WARRANT ) คือ เอกสารแสดงสิทธิ
ในการซื้อหุ้นสามัญในอนาคต ในจำนวนและราคาที่กำหนดไว้
บริษัทมักออกวอร์แรนท์ เพื่อจูงใจผู้ถือหุ้นในกรณีต้องการเพิ่มทุน
โดยอาจจะให้ฟรี หรือ จำหน่ายในราคาถูก ผู้ถือวอร์แรนท์จะใช้สิทธิ
ก็ต่อเมื่อราคาหุ้นสามัญ สูงกว่าราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ โดยที่
ต้นทุนในการถือวอรํแรนท์ ต่ำกว่าหุ้นสามัญ แต่ การเปลี่ยนแปลง
ของราคาใกล้เคียงกับหุ้นสามัญ จึงถือเป็นหลักทรัพย์
ที่มีความผันผวนของราคาสูงมาก
7. สัญญาสิทธิ์ ( OPTION ) คือ เอกสารแสดงสิทธิที่จะซื้อ
หรือ ขายทรัพย์สินที่ระบุไว้ โดยไม่บังคับว่าต้องซื้อ หรือขาย
ตามที่ระบุไว้นั้น โดยทั่วไปตราสารนี้จะระบุเงื่อนไขต่างๆ เช่น
วันที่ใช้สิทธิ์ ราคาหรือจำนวนของตราสาร ที่ผู้ถือสามารถใช้สิทธิ์
ซื้อหรือขายให้
สิทธิ์ในการซื้อหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ เรียกว่า CALL OPTION
สิทธิ์ในการขายเรียกว่า PUT OPTION
วอร์แรนท์จัดเป็นสัญญาสิทธิ์ชนิด CALL OPTION
8. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ( FORWARD หรือ FUTURE )
คือ สัญญา หรือข้อตกลงที่ผู้ถือหุ้น และผู้ออกตราสาร ต้องดำเนิน
การซื้อหรือขาย และส่งมอบทรัพย์สินตามราคาและจำนวนที่ระบุไว้
ณ วันสิ้นสัญญา เป็นการเก็งกำไร ภาวะการณ์ในอนาคตที่มีความเสี่ยง
สูงสุด เนื่องจากถูกบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
9. บัตรเงินฝาก ( NEGOTIABLE CERTIFICATE
OF DEPOSIT / NCD )
คือตราสารชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายการฝากเงินแบบประจำ
ที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ผู้ฝากเงิน ต่างจากการฝากประจำ
ตรงที่สามารถเปลี่ยนมือ จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้
และจำนวนเงินขั้นต่ำในการฝากเงินอยู่ที่ 5 แสนบาท
โดยระยะเวลาที่ฝากจะอยู่ระหว่าง 3 เดือนถึง 3 ปี แล้วแต่
จะกำหนด ผู้ถือจะได้รับเงินต้น และดอกเบี้ยทั้งหมดก็ต่อเมื่อ
ถือจนครบกำหนด ดังนั้นผลตอบแทนจึงมักมากกว่าการฝากประจำ
10. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ( PROMISSORY NOTE / P/N )
เป็นหนังสือ ซึ่งผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง
ให้แก่บุคคลหนึ่ง คล้ายๆการเขียนเช็คล่วงหน้า เพียงแต่ผู้ออกตั๋ว
ต้องอยู่ในรูปของบริษัท และตั๋วเงินนี้ต้องติดอากรแสตมป์ให้เรียบร้อย
แต่ความหมายของตั๋วสัญญาใช้เงิน ในท้องตลาดหมายถึง ตั๋วเงินที่
บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จะออกให้กับผู้ฝากเงิน
ซึ่งมักให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากธนาคาร การฝากเงินสามารถ
ฝากได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
11. ตั๋วแลกเงิน ( BILL OF EXCHANGE / B/E )
เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจำกัด ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนระยะสั้น 3 - 12 เดือนมีอัตราผลตอบแทน
สูงกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และตั๋วสัญญาใช้เงิน ( P/ N )
ของบริษัทเงินทุน
บริษัทเอกชน นิยมออกตั๋วแลกเงินแทนหุ้นกู้ เพื่อหลีกเลี่ยง
การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทต่อสาธารณชน และไม่ต้องการ
เสียเวลา และค่าใช้จ่าย ในการว่าจ้างบริษัทจัดอันดับเครดิต
มาจัดทำอันดับความน่าเชื่อถือให้ เหมือนการจำหน่ายหุ้นกู้
ตามปกติ บริษัทจะออกตั๋วแลกเงิน เพื่อใช้หมุนเวียน
ในธุรกิจการค้า มากกว่าใช้เป็นเครื่องมือ ในการระดมทุน
ระยะยาว แต่ระยะหลัง เริ่มมีบริษัทบางแห่งใช้ตั๋วแลกเงิน
ในการระดมทุนระยะยาว โดยขยายเวลาเป็น 3 ปี
เพื่อทดแทนการออกหุ้นกู้
ตั๋วแลกเงิน สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ มีระยะเวลา
ไถ่ถอนสั้นกว่าตราสารอื่น ทำให้เกิดความคล่องตัว บริหารได้ง่าย
และบริษัทที่ออกตั๋วแลกเงินมักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ จึงได้รับ
ความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการ
กองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตั๋วแลกเงิน จะมีธนาคารพาณิชย์ค้ำประกัน ( อาวัล )
ให้หรือไม่ก็ได้ หากผู้ออกตั๋วต้องการให้ตั๋วแลกเงินของตน
ดูน่าเชื่อถือและได้รับความนิยม ก็ให้ธนาคารค้ำประกัน
โดยในการนี้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายบางส่วนให้ธนาคาร
12. ตั๋วเงินคลัง ( TREASURY BILL ) คือ ตราสารทางการเงิน
ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก เพื่อกู้ยืมเงินระยะสั้นๆ
ไม่เกิน 1 ปี จากสถาบันการเงินในประเทศ จำหน่ายโดยวิธีประมูล
ซึ่งกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
เป็นผู้จัดการประมูลแทน ผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลได้แก่
สถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร , บริษัทเงินทุน , บริษัทหลักทรัพย์ ,
บริษัทประกันภัย , บริษัทประกันชีวิต , กองทุนรวมและกองทุน
สำรองเลี้ยงชีพ โดยจะจัดสรรให้แก่ผู้ที่เสนอผลตอบแทนต่ำสุดก่อน
แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนอผลตอบแทนสูงขึ้นตามลำดับ
จนกว่าจะครบวงเงิน
13. กองทุนรวมตราสารหนี้ ( FIXED INCOME FUND / BOND FUND )
คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุน จะนำเงินของผู้ลงทุนไปซื้อหุ้นกู้ ,
พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเงินฝากเป็นหลัก
เหมาะกับผู้ออมเงินรายย่อยที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ และต้องการ
สภาพคล่องในการขายหน่วยลงทุน แต่ต้องยอมรับว่าผลตอบแทน
ของเราส่วนหนึ่งจะถูกหักเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดแล้ว
ประมาณ 1 % ของเงินลงทุน
14. กองทุนรวมตราสารทุน ( EQUITY FUND )
คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุน จะนำเงิน
ของผู้ลงทุนไปซื้อหุ้นเป็นหลัก ( บางกองทุนอาจลงทุน
ในวอร์แรนท์ด้วย ) เหมาะกับนักลงทุน รายย่อย
ที่ไม่มีความรู้เรื่องการลงทุน แต่ต้องการผลตอบแทนสูง
ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่ามีความเสี่ยงสูงด้วย
15. กองทุนเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ
( FOREIGN INVESTMENT FUND /FIF ) เป็นกองทุน
ที่ได้รับอนุญาตให้ไปลงทุนในต่างประเทศได้ เป็นการเปิดโอกาส
ให้นักลงทุน สามารถแสวงหาแหล่งลงทุนที่มีผลตอบแทนที่ดีกว่า
เป็นการกระจายความเสี่ยง จากความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยน
และภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยทางการได้เปิดให้เริ่มลงทุน
ได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 เฉพาะกองทุนรวม
ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
16. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ( PROPERTY FUND )
คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุน จะนำเงินของผู้ลงทุน
ไปซื้ออาคารสำนักงาน หรืออาคารที่พักอาศัย ที่อยู่ในทำเล
ที่ดีใจกลางเมือง และมีผู้เช่าตั้งแต่ 80 % ขึ้นไป มีรายได้
จากการเช่าสม่ำเสมอ สามารถสร้างผลตอบแทนในรูป
ของค่าเช่าหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วประมาณ 8-10 % ต่อปี
ซึ่งกำไรสุทธินี้จะถูกนำไปจ่ายคืนให้ผู้ลงทุนในรูปของ
เงินปันผล และยังมีโอกาสทำกำไร เพิ่มได้จากการ
ขายอาคารต่อ หากมีผู้สนใจจะซื้ออาคารนี้ในอนาคต
โดยทั่วไปหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
จะต้องถูกนำเข้าไป จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์
เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายทำกำไร หรือเปลี่ยน
เป็นเงินสดได้ ขณะที่นักลงทุนอื่น ที่ยังไม่ได้ซื้อ
หน่วยลงทุนนี้ตั้งแต่แรก ก็สามารถไปซื้อ
หน่วยลงทุนนี้ได้ในตลาดหลักทรัพย์
คนเราต้องแก่ลง และต้องมีเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ
การลงทุนจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น
ขณะเดียวกัน การลงทุนโดยไม่มีความเข้าใจที่มากพอ
ก็อาจทำลายเงินออมทั้งก้อนที่เราเฝ้าอุตส่าห์เก็บมาตลอดชีวิตก็ได้
ในบทความชิ้นนี้ จะเป็นเพียง การแนะนำหลักทรัพย์
ทางการเงินชนิดต่างๆให้เรารู้จักแบบคร่าวๆ หากเราสนใจ
จะลงทุนสินค้าชนิดใด คงต้องไปศึกษาข้อมูล ลึกลงไป
ในหลักทรัพย์นั้นๆ ก่อนตัดสินใจลงทุนจริงๆ
หลักทรัพย์ทางการเงินที่ควรรู้จัก
1. หุ้นสามัญ ( COMMON SHARE , STOCK )
คือ เอกสารที่แสดงสิทธิในความเป็นเจ้าของของบริษัท
หรือ กิจการใดกิจการหนึ่ง วัตถุประสงค์ของบริษัทที่ออกขายหุ้น
เพื่อระดมเงินทุนขยายกิจการ แต่ผู้ซื้อหุ้นหรือผู้ถือหุ้น
มีวัตถุประสงค์ เพื่อหวังผลกำไรจากเงินปันผล และการเพิ่มขึ้น
ของราคาหุ้น การเป็นผู้ถือหุ้น ยังทำให้เรามีสิทธิมีส่วน
ในการกำหนดแนวนโยบายของบริษัท แต่สิทธิดังกล่าวจะมากน้อย
เพียงใด ขึ้นกับว่า เราถือหุ้นบริษัทนั้นมากน้อยเพียงใดด้วย
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ ( PREFERED SHARE )
คือหุ้น ประเภทหนึ่ง ที่ให้สิทธิพิเศษ แก่ผู้ถือหุ้น มากกว่า
หุ้นสามัญ อย่างน้อยสองประการ คือ
ประการแรก มีสิทธิรับเงินปันผล ในอัตราที่แน่นอนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
เงินปันผลที่ไม่จ่ายในปีปัจจุบัน ก็ให้สะสมไปจ่ายในอนาคตได้
ขึ้นกับข้อกำหนดในการออกหุ้นบุริมสิทธิ์ในครั้งนั้นๆ
ประการที่สอง หากบริษัทต้องเลิกกิจการ ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ
ได้รับการแบ่งทรัพย์สินก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ โดยทั่วไป
บริษัทจะออกหุ้นบุริมสิทธิ์ ในภาวะที่บริษัทเกิดวิกฤต
ระดมเงินทุนไม่ได้ จึงต้องจูงใจผู้คน โดยให้สิทธิพิเศษ
มากกว่าผู้ถือหุ้นเดิม แต่บริษัทมักกำหนดให้ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์
ไม่มีสิทธิ ในการออกเสียง และไม่มีสิทธิในการรับเลือกตั้ง
เป็นกรรมการบริษัท
3. หุ้นกู้ ( DEBENTURE , CORPORATE BOND )
คือ เอกสารที่แสดงสิทธิเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท หรือ กิจการใดกิจการหนึ่ง
บริษัทออกหุ้นกู้ เพื่อระดมทุนขยายกิจการ แต่ทำในรูปของการกู้ยืม
ประชาชนโดยกำหนดระยะเวลา และอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน
(ว่าเป็นคงที่หรือลอยตัวตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ) โดยทั่วไป
หุ้นกู้จะมีอายุ 3-7 ปี ดอกเบี้ยมักสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
แต่เป็นการกู้ที่ไม่มีหลักประกัน การจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายเป็นงวดๆ
เมื่อครบกำหนดผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน
บริษัทเลือกจะกู้เงินจากประชาชนโดยตรง เพราะอัตราดอกเบี้ย
ถูกกว่าการกู้เงินจากธนาคาร ระยะเวลากู้ยาวนานกว่า ทำให้บริหารเงิน
ได้ง่าย หรือ อยู่ในภาวะที่ธนาคาร อาจไม่ยอมปล่อยกู้เพิ่มเติมให้แล้ว
จึงต้องหาช่องทางกู้เงินจากประชาชนแทน
ส่วนผู้ลงทุนซื้อหุ้นกู้ เพราะ ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าฝากธนาคาร ,
มีผลตอบแทนคงที่ และยังสามารถทำกำไรได้จากการขายหุ้นกู้
ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง หุ้นกู้จะมีราคาสูงขึ้น
หุ้นกู้มีหลายประเภท เช่น
- หุ้นกู้แปลงสภาพ คือ หุ้นกู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ
สามารถเลือกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ หรือจะถือ
เป็นหุ้นกู้ต่อเพื่อรับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ จนครบกำหนดก็ได้
ผู้ลงทุนจะใช้สิทธิ แปลงสภาพก็ต่อเมื่อราคาหุ้นสามัญ
อยู่สูงกว่าราคาแปลงสภาพ
- หุ้นกู้มีหลักประกัน คือ หุ้นกู้ที่มีสถาบันการเงิน หรือ
บริษัทอื่นที่มั่นคงกว่ามาค้ำประกันหนี้สินให้ หรือ บริษัทผู้ออกหุ้นกู้
อาจยินยอมให้เอาทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน ,ตัวโรงงาน มาค้ำประกันหนี้สิน
- หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ คือหุ้นกู้ที่กำหนด ให้มีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัท
เป็นลำดับท้ายๆในกลุ่มหุ้นกู้ด้วยกันในกรณีที่บริษัทปิดกิจการลง
แต่มักให้ดอกเบี้ยสูงมาก
หมายเหตุ ลำดับสิทธิ์ในการเรียกร้องต่อสินทรัพย์ของบริษัท
ในกรณีที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งปิดกิจการ คือ รัฐบาล ( กรมสรรพากร ) ,
พนักงาน ลูกจ้าง , เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นกู้มีหลักประกัน , เจ้าหนี้การค้า ,
เจ้าหนี้ทั่วไป , ผู้ถือหุ้นกู้ , หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ , หุ้นบุริมสิทธิ์ และหุ้นสามัญ
4. สลิปส์ - แคปส์ ( SLIPS , CAPS ) คือ หุ้นบุริมสิทธิ์
ควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ ที่สถาบันการเงิน นำออกมาขายระดมทุน
ในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน เนื่องจากไม่สามารถเพิ่มทุน
ในรูปของหุ้นสามัญได้ จึงระดมทุนในรูปหุ้นบุริมสิทธิ์ ที่มีหุ้นกู้
ด้อยสิทธิ์ดอกเบี้ยสูงถึง 22 % มาจูงใจ โดยคาดการณ์ว่า
ในช่วง 5 ปีแรก บริษัทคงยังไม่มีกำไร มาจ่ายเงินปันผล
ให้หุ้นบุริมสิทธิ์ ดอกเบี้ยรับเฉลี่ยจึงตกปีละ 11 % เมื่อครบ
5 ปีสถาบันการเงินเหล่านี้มีสิทธิไถ่ถอนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้
5. พันธบัตร ( GOVERNMENT BOND ) คือ หุ้นกู้
ที่ออกโดยรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจโดยมีรัฐบาลค้ำประกัน
ความเสี่ยง จากการไม่ได้เงินลงทุนคืนจึงแทบไม่มี ดอกเบี้ย
มักจะต่ำกว่าหุ้นกู้ทั่วไป แต่ยังคงสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
เนื่องจากระยะถือครองยาวนานกว่า
6. วอร์แรนท์ ( WARRANT ) คือ เอกสารแสดงสิทธิ
ในการซื้อหุ้นสามัญในอนาคต ในจำนวนและราคาที่กำหนดไว้
บริษัทมักออกวอร์แรนท์ เพื่อจูงใจผู้ถือหุ้นในกรณีต้องการเพิ่มทุน
โดยอาจจะให้ฟรี หรือ จำหน่ายในราคาถูก ผู้ถือวอร์แรนท์จะใช้สิทธิ
ก็ต่อเมื่อราคาหุ้นสามัญ สูงกว่าราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ โดยที่
ต้นทุนในการถือวอรํแรนท์ ต่ำกว่าหุ้นสามัญ แต่ การเปลี่ยนแปลง
ของราคาใกล้เคียงกับหุ้นสามัญ จึงถือเป็นหลักทรัพย์
ที่มีความผันผวนของราคาสูงมาก
7. สัญญาสิทธิ์ ( OPTION ) คือ เอกสารแสดงสิทธิที่จะซื้อ
หรือ ขายทรัพย์สินที่ระบุไว้ โดยไม่บังคับว่าต้องซื้อ หรือขาย
ตามที่ระบุไว้นั้น โดยทั่วไปตราสารนี้จะระบุเงื่อนไขต่างๆ เช่น
วันที่ใช้สิทธิ์ ราคาหรือจำนวนของตราสาร ที่ผู้ถือสามารถใช้สิทธิ์
ซื้อหรือขายให้
สิทธิ์ในการซื้อหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ เรียกว่า CALL OPTION
สิทธิ์ในการขายเรียกว่า PUT OPTION
วอร์แรนท์จัดเป็นสัญญาสิทธิ์ชนิด CALL OPTION
8. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ( FORWARD หรือ FUTURE )
คือ สัญญา หรือข้อตกลงที่ผู้ถือหุ้น และผู้ออกตราสาร ต้องดำเนิน
การซื้อหรือขาย และส่งมอบทรัพย์สินตามราคาและจำนวนที่ระบุไว้
ณ วันสิ้นสัญญา เป็นการเก็งกำไร ภาวะการณ์ในอนาคตที่มีความเสี่ยง
สูงสุด เนื่องจากถูกบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
9. บัตรเงินฝาก ( NEGOTIABLE CERTIFICATE
OF DEPOSIT / NCD )
คือตราสารชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายการฝากเงินแบบประจำ
ที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ผู้ฝากเงิน ต่างจากการฝากประจำ
ตรงที่สามารถเปลี่ยนมือ จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้
และจำนวนเงินขั้นต่ำในการฝากเงินอยู่ที่ 5 แสนบาท
โดยระยะเวลาที่ฝากจะอยู่ระหว่าง 3 เดือนถึง 3 ปี แล้วแต่
จะกำหนด ผู้ถือจะได้รับเงินต้น และดอกเบี้ยทั้งหมดก็ต่อเมื่อ
ถือจนครบกำหนด ดังนั้นผลตอบแทนจึงมักมากกว่าการฝากประจำ
10. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ( PROMISSORY NOTE / P/N )
เป็นหนังสือ ซึ่งผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง
ให้แก่บุคคลหนึ่ง คล้ายๆการเขียนเช็คล่วงหน้า เพียงแต่ผู้ออกตั๋ว
ต้องอยู่ในรูปของบริษัท และตั๋วเงินนี้ต้องติดอากรแสตมป์ให้เรียบร้อย
แต่ความหมายของตั๋วสัญญาใช้เงิน ในท้องตลาดหมายถึง ตั๋วเงินที่
บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จะออกให้กับผู้ฝากเงิน
ซึ่งมักให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากธนาคาร การฝากเงินสามารถ
ฝากได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
11. ตั๋วแลกเงิน ( BILL OF EXCHANGE / B/E )
เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่งที่ออกโดยบริษัทจำกัด ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนระยะสั้น 3 - 12 เดือนมีอัตราผลตอบแทน
สูงกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และตั๋วสัญญาใช้เงิน ( P/ N )
ของบริษัทเงินทุน
บริษัทเอกชน นิยมออกตั๋วแลกเงินแทนหุ้นกู้ เพื่อหลีกเลี่ยง
การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทต่อสาธารณชน และไม่ต้องการ
เสียเวลา และค่าใช้จ่าย ในการว่าจ้างบริษัทจัดอันดับเครดิต
มาจัดทำอันดับความน่าเชื่อถือให้ เหมือนการจำหน่ายหุ้นกู้
ตามปกติ บริษัทจะออกตั๋วแลกเงิน เพื่อใช้หมุนเวียน
ในธุรกิจการค้า มากกว่าใช้เป็นเครื่องมือ ในการระดมทุน
ระยะยาว แต่ระยะหลัง เริ่มมีบริษัทบางแห่งใช้ตั๋วแลกเงิน
ในการระดมทุนระยะยาว โดยขยายเวลาเป็น 3 ปี
เพื่อทดแทนการออกหุ้นกู้
ตั๋วแลกเงิน สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ มีระยะเวลา
ไถ่ถอนสั้นกว่าตราสารอื่น ทำให้เกิดความคล่องตัว บริหารได้ง่าย
และบริษัทที่ออกตั๋วแลกเงินมักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ จึงได้รับ
ความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการ
กองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตั๋วแลกเงิน จะมีธนาคารพาณิชย์ค้ำประกัน ( อาวัล )
ให้หรือไม่ก็ได้ หากผู้ออกตั๋วต้องการให้ตั๋วแลกเงินของตน
ดูน่าเชื่อถือและได้รับความนิยม ก็ให้ธนาคารค้ำประกัน
โดยในการนี้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายบางส่วนให้ธนาคาร
12. ตั๋วเงินคลัง ( TREASURY BILL ) คือ ตราสารทางการเงิน
ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก เพื่อกู้ยืมเงินระยะสั้นๆ
ไม่เกิน 1 ปี จากสถาบันการเงินในประเทศ จำหน่ายโดยวิธีประมูล
ซึ่งกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
เป็นผู้จัดการประมูลแทน ผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลได้แก่
สถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร , บริษัทเงินทุน , บริษัทหลักทรัพย์ ,
บริษัทประกันภัย , บริษัทประกันชีวิต , กองทุนรวมและกองทุน
สำรองเลี้ยงชีพ โดยจะจัดสรรให้แก่ผู้ที่เสนอผลตอบแทนต่ำสุดก่อน
แล้วจึงจัดสรรให้ผู้ประมูลที่เสนอผลตอบแทนสูงขึ้นตามลำดับ
จนกว่าจะครบวงเงิน
13. กองทุนรวมตราสารหนี้ ( FIXED INCOME FUND / BOND FUND )
คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุน จะนำเงินของผู้ลงทุนไปซื้อหุ้นกู้ ,
พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเงินฝากเป็นหลัก
เหมาะกับผู้ออมเงินรายย่อยที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ และต้องการ
สภาพคล่องในการขายหน่วยลงทุน แต่ต้องยอมรับว่าผลตอบแทน
ของเราส่วนหนึ่งจะถูกหักเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดแล้ว
ประมาณ 1 % ของเงินลงทุน
14. กองทุนรวมตราสารทุน ( EQUITY FUND )
คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุน จะนำเงิน
ของผู้ลงทุนไปซื้อหุ้นเป็นหลัก ( บางกองทุนอาจลงทุน
ในวอร์แรนท์ด้วย ) เหมาะกับนักลงทุน รายย่อย
ที่ไม่มีความรู้เรื่องการลงทุน แต่ต้องการผลตอบแทนสูง
ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่ามีความเสี่ยงสูงด้วย
15. กองทุนเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ
( FOREIGN INVESTMENT FUND /FIF ) เป็นกองทุน
ที่ได้รับอนุญาตให้ไปลงทุนในต่างประเทศได้ เป็นการเปิดโอกาส
ให้นักลงทุน สามารถแสวงหาแหล่งลงทุนที่มีผลตอบแทนที่ดีกว่า
เป็นการกระจายความเสี่ยง จากความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยน
และภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยทางการได้เปิดให้เริ่มลงทุน
ได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 เฉพาะกองทุนรวม
ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
16. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ( PROPERTY FUND )
คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุน จะนำเงินของผู้ลงทุน
ไปซื้ออาคารสำนักงาน หรืออาคารที่พักอาศัย ที่อยู่ในทำเล
ที่ดีใจกลางเมือง และมีผู้เช่าตั้งแต่ 80 % ขึ้นไป มีรายได้
จากการเช่าสม่ำเสมอ สามารถสร้างผลตอบแทนในรูป
ของค่าเช่าหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วประมาณ 8-10 % ต่อปี
ซึ่งกำไรสุทธินี้จะถูกนำไปจ่ายคืนให้ผู้ลงทุนในรูปของ
เงินปันผล และยังมีโอกาสทำกำไร เพิ่มได้จากการ
ขายอาคารต่อ หากมีผู้สนใจจะซื้ออาคารนี้ในอนาคต
โดยทั่วไปหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
จะต้องถูกนำเข้าไป จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์
เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายทำกำไร หรือเปลี่ยน
เป็นเงินสดได้ ขณะที่นักลงทุนอื่น ที่ยังไม่ได้ซื้อ
หน่วยลงทุนนี้ตั้งแต่แรก ก็สามารถไปซื้อ
หน่วยลงทุนนี้ได้ในตลาดหลักทรัพย์
เงินสิบบาท
ถ้าเรามีเงินอยู่ 10 บาท ไปซื้อของ 3 บาท
จะได้รับเงินทอนเท่าไร ครูคนหนึ่งตั้งคำถาม
กับเด็กว่า “ถ้าเรามีเงินอยู่ 10 บาท นำไปซื้อของ 3 บาท
จะได้รับเงินทอนเท่าไร” เด็กส่วนใหญ่ตอบว่า “7 บาท”
แต่มีเด็ก 2 คน ที่ตอบไม่เหมือนกับคนอื่น
คนหนึ่งตอบว่า “2 บาทคะ” อีกคนหนึ่งตอบว่า “ไม่ต้องทอนครับ”
ครูถามเด็กคนแรกว่า ทำไมถึงได้เงินทอน 2 บาท
คำตอบที่ได้คือ ในจินตนาการของเขา
เขามีเหรียญห้าบาท 2 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท
เขาก็ให้เหรียญห้าบาทไป 1 เหรียญ
ดังนั้น จึงได้รับเงินทอนมา 2 บาท
เมื่อถามเด็กคนที่สองว่า ทำไม ไม่ได้รับเงินทอนกลับมา
เด็กคนนี้ไปคิดว่าเขามีเหรียญหนึ่งบาท
ทั้งหมด 10 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท
เขาก็ส่งเหรียญหนึ่งบาทให้แม่ค้าไป 3 เหรียญ
แม่ค้าจึงไม่ต้องทอนเงินให้เขา
โชคดีที่เป็นการถาม-ตอบในห้องเรียน
ลองนึกดูสิว่า ถ้าโจทย์นี้ เป็นข้อสอบที่มีคำตอบ
เป็น ก-ข-ค-ง เด็ก 2 คนนี้ คงไม่ได้คะแนน
จากคำตอบที่ผิดเพี้ยนไปจากคนส่วนใหญ่
การสร้างโจทย์ที่ “เสมือนจริง” ในจินตนาการของครู
อาจถูกจำกัดเพียงแค่ “ตัวเลข” แต่สำหรับเด็ก
จินตนาการของพวกเขาไร้กรอบ เงิน 10 บาท
จึงสามารถเปลี่ยนเป็นเหรียญสิบบาท เหรียญห้าบาท
หรือ เหรียญหนึ่งบาท
เมืองไทยมีเหรียญสองบาท เราจึงอาจได้คำตอบ
เพิ่มอีก 1 ตำตอบ คือได้เงินทอน 1 บาท
โลกในห้องเรียน กับโลกของความเป็นจริง
นั้นแตกต่างกัน โลกในห้องเรียน ทุกคำถาม
ส่วนใหญ่มีเพียง 1 คำตอบ แต่โลกของความเป็นจริง
ทุกคำถามอาจมีคำตอบที่ถูกต้องได้เกิน 1 คำตอบ
อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคนๆนั้น
เพียงแค่คำตอบของเรา
อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนๆนั้น
ด้วยกรอบความคิดของเรา
ดูเผินๆ เรื่องข้างต้น อาจจะไม่เกี่ยว
กับการวางแผนการเงินสักเท่าไร
แต่หากคิดให้ลึกซึ้ง จะพบว่า
ในโลกของความเป็นจริง ช่องทาง
ในการทำมาหากิน วิธีการเก็บออม
หรือทางเลือกในการลงทุนมีหลากหลายมากมาย
ขึ้นกับโอกาส สิ่งแวดล้อม ความชำนาญ
หรือความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
แต่หลักการพื้นฐานในการวางแผนยังคงเดิม
ไม่เปลี่ยนแปลง เฉกเช่นเดียวกับตัวอย่างข้างต้น
เรามีเงิน 10 บาท ซื้อของไปเพียง 3 บาท
ย่อมมีเงินเหลือ 7 บาท แต่วิธีการจ่ายเงิน
หรือวิธีการทอนเงินนั้น อาจแตกต่างกันไป
ในแต่ละคน แต่ละสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาการเงินที่ดี จึงควรชี้แนะ
เพียงหลักการกว้างๆ เพื่อให้ลูกค้านำไปปฏิบัติ
เช่น การวางแผนให้เป็นรูปธรรม การกำหนด
กรอบของเวลา หรือการกระจายความเสี่ยง
การตัดสินใจแทนลูกค้าทั้งหมด โดยไม่ใส่ใจ
ในข้อจำกัดของลูกค้า อาจนำความเสียหาย
มาให้โดยคาดไม่ถึง
อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคนๆนั้น
เพียงแค่คำตอบของเรา
อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนๆนั้น
ด้วยกรอบความคิดของเรา
หมายเหตุ ขอขอบคุณผู้เขียนนิรนาม
ที่สามารถใช้ตัวอย่างเรื่องง่ายๆ
แต่ให้ข้อคิดอย่างลึกซึ้ง ขอบคุณจริงๆ
จะได้รับเงินทอนเท่าไร ครูคนหนึ่งตั้งคำถาม
กับเด็กว่า “ถ้าเรามีเงินอยู่ 10 บาท นำไปซื้อของ 3 บาท
จะได้รับเงินทอนเท่าไร” เด็กส่วนใหญ่ตอบว่า “7 บาท”
แต่มีเด็ก 2 คน ที่ตอบไม่เหมือนกับคนอื่น
คนหนึ่งตอบว่า “2 บาทคะ” อีกคนหนึ่งตอบว่า “ไม่ต้องทอนครับ”
ครูถามเด็กคนแรกว่า ทำไมถึงได้เงินทอน 2 บาท
คำตอบที่ได้คือ ในจินตนาการของเขา
เขามีเหรียญห้าบาท 2 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท
เขาก็ให้เหรียญห้าบาทไป 1 เหรียญ
ดังนั้น จึงได้รับเงินทอนมา 2 บาท
เมื่อถามเด็กคนที่สองว่า ทำไม ไม่ได้รับเงินทอนกลับมา
เด็กคนนี้ไปคิดว่าเขามีเหรียญหนึ่งบาท
ทั้งหมด 10 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท
เขาก็ส่งเหรียญหนึ่งบาทให้แม่ค้าไป 3 เหรียญ
แม่ค้าจึงไม่ต้องทอนเงินให้เขา
โชคดีที่เป็นการถาม-ตอบในห้องเรียน
ลองนึกดูสิว่า ถ้าโจทย์นี้ เป็นข้อสอบที่มีคำตอบ
เป็น ก-ข-ค-ง เด็ก 2 คนนี้ คงไม่ได้คะแนน
จากคำตอบที่ผิดเพี้ยนไปจากคนส่วนใหญ่
การสร้างโจทย์ที่ “เสมือนจริง” ในจินตนาการของครู
อาจถูกจำกัดเพียงแค่ “ตัวเลข” แต่สำหรับเด็ก
จินตนาการของพวกเขาไร้กรอบ เงิน 10 บาท
จึงสามารถเปลี่ยนเป็นเหรียญสิบบาท เหรียญห้าบาท
หรือ เหรียญหนึ่งบาท
เมืองไทยมีเหรียญสองบาท เราจึงอาจได้คำตอบ
เพิ่มอีก 1 ตำตอบ คือได้เงินทอน 1 บาท
โลกในห้องเรียน กับโลกของความเป็นจริง
นั้นแตกต่างกัน โลกในห้องเรียน ทุกคำถาม
ส่วนใหญ่มีเพียง 1 คำตอบ แต่โลกของความเป็นจริง
ทุกคำถามอาจมีคำตอบที่ถูกต้องได้เกิน 1 คำตอบ
อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคนๆนั้น
เพียงแค่คำตอบของเรา
อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนๆนั้น
ด้วยกรอบความคิดของเรา
ดูเผินๆ เรื่องข้างต้น อาจจะไม่เกี่ยว
กับการวางแผนการเงินสักเท่าไร
แต่หากคิดให้ลึกซึ้ง จะพบว่า
ในโลกของความเป็นจริง ช่องทาง
ในการทำมาหากิน วิธีการเก็บออม
หรือทางเลือกในการลงทุนมีหลากหลายมากมาย
ขึ้นกับโอกาส สิ่งแวดล้อม ความชำนาญ
หรือความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
แต่หลักการพื้นฐานในการวางแผนยังคงเดิม
ไม่เปลี่ยนแปลง เฉกเช่นเดียวกับตัวอย่างข้างต้น
เรามีเงิน 10 บาท ซื้อของไปเพียง 3 บาท
ย่อมมีเงินเหลือ 7 บาท แต่วิธีการจ่ายเงิน
หรือวิธีการทอนเงินนั้น อาจแตกต่างกันไป
ในแต่ละคน แต่ละสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาการเงินที่ดี จึงควรชี้แนะ
เพียงหลักการกว้างๆ เพื่อให้ลูกค้านำไปปฏิบัติ
เช่น การวางแผนให้เป็นรูปธรรม การกำหนด
กรอบของเวลา หรือการกระจายความเสี่ยง
การตัดสินใจแทนลูกค้าทั้งหมด โดยไม่ใส่ใจ
ในข้อจำกัดของลูกค้า อาจนำความเสียหาย
มาให้โดยคาดไม่ถึง
อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคนๆนั้น
เพียงแค่คำตอบของเรา
อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนๆนั้น
ด้วยกรอบความคิดของเรา
หมายเหตุ ขอขอบคุณผู้เขียนนิรนาม
ที่สามารถใช้ตัวอย่างเรื่องง่ายๆ
แต่ให้ข้อคิดอย่างลึกซึ้ง ขอบคุณจริงๆ
ทำไมต้องมีตลาดหุ้น
ทำไมต้องมีตลาดหุ้น : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
"ตลาดหุ้น" ที่ชาวบ้าน ซื้อขายหุ้นกันอยู่ ทุกวันนี้
จัดอยู่ในประเภท ตลาดรอง (Secondary Market)
ของตลาดทุน ส่วน ตลาดหลัก (Primary Market) จริงๆ
ของตลาดทุน ซึ่งเป็นตลาดที่ กิจการทั้งหลาย
ใช้ระดมทุนเพื่อขยายกิจการ คือ "ตลาด IPO"
หรือที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า "หุ้นจอง"
เมื่อกิจการขายหุ้นจอง เงินที่ได้ จะเข้าบริษัท
เพื่อนำไปใช้ในกิจการ หลังจากนั้น บริษัทก็มักจะนำ
หุ้นของบริษัทbเข้าไปจดทะเบียนbในตลาดหุ้น
เพื่อให้หุ้นของบริษัทbกลายเป็นสินค้าตัวหนึ่ง
ที่สามารถ ซื้อขายเปลี่ยนมือ ในตลาดหุ้นได้
หลังจากนี้แล้ว การซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหุ้น
จะเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนมือ ไปมาระหว่างนักลงทุนเท่านั้น
ไม่ได้มีเม็ดเงิน เข้าสู่บริษัทเพื่อนำไปใช้ในกิจการอีกต่อไป
นั่นคือ สิ่งที่ใช้แยกความแตกต่าง ระหว่างตลาดหลัก
กับตลาดรองก็คือ เมื่อมีการขายหุ้นแล้ว เงินไปไหน
ถ้าเป็นตลาดหลัก เงินจะเข้าสู่บริษัท
แต่ถ้าเป็นตลาดรอง เงินจะเข้ากระเป๋าผู้ที่ขายหุ้น
ประเด็นนี้ ทำให้มีบางคน กล่าวหาตลาดหุ้น
ว่า...ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม
เพราะเงิน ไม่ได้เข้าบริษัท เพื่อก่อให้เกิดการลงทุน
ในระบบเศรษฐกิจจริงๆ เงินเพียงแต่ไหลจากกระเป๋า
ของนักลงทุนคนหนึ่ง ไปยังกระเป๋าของนักลงทุน
อีกคนหนึ่งไปเรื่อยๆ เท่านั้น และนักลงทุนในตลาดหุ้น
ก็หากิน ด้วยการซื้อหุ้นมาในราคาหนึ่ง แล้วขายออกไป
ในราคาที่สูงกว่า แล้วเก็บกำไรเข้ากระเป๋า บางคนถึงกับ
บอกว่า น่าจะยกเลิก ตลาดหุ้นไปเลย
เหลือไว้แต่ตลาด IPO ก็พอ
นั่นเป็น ความคิด ของคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ลองคิดดูว่า ถ้าหากไม่มีตลาดรอง
ตลาดหลักจะอยู่ได้หรือไม่ คงแทบไม่เหลือ
นักลงทุนคนไหน ที่จะกล้าซื้อหุ้นจองจากบริษัท
อีกต่อไป เพราะนักลงทุนเหล่านั้นย่อมรู้ว่า
เมื่อซื้อมาแล้ว จะไม่สามารถขายหุ้นนั้น ต่อให้ใครได้
หรือถ้าขายได้ ก็ต้องขายขาดทุนมากๆ เพื่อให้มี
ใครสักคนยอมซื้อ ดังนั้นเหตุผลที่แท้จริง ที่ต้องมี
ตลาดหุ้น ก็เพื่อให้ตลาดหลัก สามารถดำรงอยู่ได้นั่นเอง
บางคน คิดว่าการที่รถยนต์มีตลาดมือสองนั้น ทำให้
ตลาดมือหนึ่งแย่ลง เพราะตลาดมือสอง จะแย่งลูกค้าส่วนหนึ่ง
ของตลาดมือหนึ่งไป แต่ที่จริงแล้ว ลองคิดดูว่า ถ้าผู้บริโภค
ซื้อรถยนต์มาแล้ว ห้ามขายต่อโดยเด็ดขาด จะมีผู้บริโภค
ที่กล้าซื้อรถยนต์มือหนึ่งมากขึ้นหรือน้อยลง
ทุกวันนี้ มีคนส่วนหนึ่งที่กล้าซื้อรถใหม่บ่อยๆ ก็เพราะเขารู้ว่า
เขาสามารถขายต่อ ในตลาดมือสองเมื่อไรก็ได้
ขาดทุนนิดหน่อย แสนสองแสนถือว่ากำไรใช้
เลยทำให้ตลาดรถใหม่ขายดี ฉันใดก็ฉันนั้น
ตลาดรอง ช่วยส่งเสริมตลาดหลัก ด้วยการทำให้สินค้า
ของตลาดหลัก กลายเป็นสินค้าที่มีสภาพคล่องสูง
คนที่ซื้อหุ้นจองไปแล้ว หากวันดีคืนดีเกิดมีความจำเป็น
ต้องใช้เงินด่วนขึ้นมาก็ไม่ต้องกลัวว่าจะขายต่อให้ใครไม่ได้
มีบางคนอยากเห็นตลาดหุ้น มีแต่นักลงทุนระยะยาวอย่างเดียว
ไม่มีนักเก็งกำไรระยะสั้น เพราะพวกเขามีทัศนคติในแง่ลบกับ
คำว่า "เก็งกำไร" แต่ที่จริงแล้ว ลองคิดดูให้ดี ถ้าในตลาดหุ้น
มีแต่นักลงทุนทั้งหมด ไม่มีใครเป็นนักเก็งกำไรเลย
สภาพคล่องในตลาดหุ้น คงหายไปมากกว่า 95%
ถ้าการขายหุ้นออก ในตลาดหุ้น กับการไปเร่ขายหุ้น
ด้วยตนเองนอกตลาดหุ้น มีความยากลำบากเท่ากัน
เพราะหาคนซื้อได้ยาก ก็ไม่รู้ว่าจะมีตลาดหุ้นเอาไว้เพื่ออะไร
ดังนั้น ตลาดหุ้นที่มีคุณค่าต้องเป็นตลาด ที่มีคนจำนวนหนึ่ง
ในตลาดยินดีที่จะซื้อหรือขายหุ้นบ่อยๆ โดยแลกกับโอกาส
ทำกำไรเล็กๆ น้อยๆ ทุกวันเพื่อสร้างสภาพคล่อง
ให้กับคนที่เป็นนักลงทุน กล่าวคือทำให้คนที่เป็นนักลงทุน
ระยะยาวสามารถขายหุ้นออกได้เสมอ (โดยไม่ต้องขายขาดทุนมากๆ)
เมื่อใดก็ตาม ที่พวกเขามีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน
แบบเร่งด่วน พูดง่ายๆ ก็คือการซื้อๆ ขายๆ ของนักเก็งกำไร
ช่วยลด liquidity risk ให้กับคนที่เป็นนักลงทุนนั่นเอง
โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วย กับแนวคิดที่ว่า
เป้าหมายของการพัฒนานักลงทุนรายย่อย
คือการทำให้นักลงทุนรายย่อย หันมาลงทุน
ระยะยาวกันให้หมด สิ่งที่ผมอยากเห็นมากกว่า
คือทำอย่างไร นักลงทุนรายย่อยจึงจะเป็นนักลงทุน
ที่มีภูมิต้านทาน กล่าวคือ ตัดสินใจจากข้อมูล
ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้เป็นหลัก
ไม่ถูกชักจูงไปได้ง่าย ไม่เชื่อข่าวลือข่าวปล่อยต่างๆ
ไม่แห่ตามกันโดยขาดวิจารณาณของตนเอง
ส่วนจะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น นักเทคนิค
หรือนักลงทุนระยะยาวนั้น ผมกลับคิดว่า
ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ นักลงทุนทุกแบบ
ล้วนแต่มีคุณค่าต่อตลาดทุนทั้งสิ้น หากตั้งใจ
จะเป็นนักเทคนิคก็ควรศึกษาเทคนิคให้จริงจัง
คนที่เล่นสั้นหลายคนที่ผมรู้จัก เป็นคนที่ไม่ยอม
เชื่ออะไรง่ายๆ ผมก็ไม่เคยรู้สึกเป็นห่วงพวกเขาเลย
เพราะผมมั่นใจว่า คนนิสัยแบบนี้ จะสามารถ
เอาตัวรอดในตลาดหุ้นได้อย่างแน่นอน
"ตลาดหุ้น" ที่ชาวบ้าน ซื้อขายหุ้นกันอยู่ ทุกวันนี้
จัดอยู่ในประเภท ตลาดรอง (Secondary Market)
ของตลาดทุน ส่วน ตลาดหลัก (Primary Market) จริงๆ
ของตลาดทุน ซึ่งเป็นตลาดที่ กิจการทั้งหลาย
ใช้ระดมทุนเพื่อขยายกิจการ คือ "ตลาด IPO"
หรือที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า "หุ้นจอง"
เมื่อกิจการขายหุ้นจอง เงินที่ได้ จะเข้าบริษัท
เพื่อนำไปใช้ในกิจการ หลังจากนั้น บริษัทก็มักจะนำ
หุ้นของบริษัทbเข้าไปจดทะเบียนbในตลาดหุ้น
เพื่อให้หุ้นของบริษัทbกลายเป็นสินค้าตัวหนึ่ง
ที่สามารถ ซื้อขายเปลี่ยนมือ ในตลาดหุ้นได้
หลังจากนี้แล้ว การซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหุ้น
จะเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนมือ ไปมาระหว่างนักลงทุนเท่านั้น
ไม่ได้มีเม็ดเงิน เข้าสู่บริษัทเพื่อนำไปใช้ในกิจการอีกต่อไป
นั่นคือ สิ่งที่ใช้แยกความแตกต่าง ระหว่างตลาดหลัก
กับตลาดรองก็คือ เมื่อมีการขายหุ้นแล้ว เงินไปไหน
ถ้าเป็นตลาดหลัก เงินจะเข้าสู่บริษัท
แต่ถ้าเป็นตลาดรอง เงินจะเข้ากระเป๋าผู้ที่ขายหุ้น
ประเด็นนี้ ทำให้มีบางคน กล่าวหาตลาดหุ้น
ว่า...ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม
เพราะเงิน ไม่ได้เข้าบริษัท เพื่อก่อให้เกิดการลงทุน
ในระบบเศรษฐกิจจริงๆ เงินเพียงแต่ไหลจากกระเป๋า
ของนักลงทุนคนหนึ่ง ไปยังกระเป๋าของนักลงทุน
อีกคนหนึ่งไปเรื่อยๆ เท่านั้น และนักลงทุนในตลาดหุ้น
ก็หากิน ด้วยการซื้อหุ้นมาในราคาหนึ่ง แล้วขายออกไป
ในราคาที่สูงกว่า แล้วเก็บกำไรเข้ากระเป๋า บางคนถึงกับ
บอกว่า น่าจะยกเลิก ตลาดหุ้นไปเลย
เหลือไว้แต่ตลาด IPO ก็พอ
นั่นเป็น ความคิด ของคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ลองคิดดูว่า ถ้าหากไม่มีตลาดรอง
ตลาดหลักจะอยู่ได้หรือไม่ คงแทบไม่เหลือ
นักลงทุนคนไหน ที่จะกล้าซื้อหุ้นจองจากบริษัท
อีกต่อไป เพราะนักลงทุนเหล่านั้นย่อมรู้ว่า
เมื่อซื้อมาแล้ว จะไม่สามารถขายหุ้นนั้น ต่อให้ใครได้
หรือถ้าขายได้ ก็ต้องขายขาดทุนมากๆ เพื่อให้มี
ใครสักคนยอมซื้อ ดังนั้นเหตุผลที่แท้จริง ที่ต้องมี
ตลาดหุ้น ก็เพื่อให้ตลาดหลัก สามารถดำรงอยู่ได้นั่นเอง
บางคน คิดว่าการที่รถยนต์มีตลาดมือสองนั้น ทำให้
ตลาดมือหนึ่งแย่ลง เพราะตลาดมือสอง จะแย่งลูกค้าส่วนหนึ่ง
ของตลาดมือหนึ่งไป แต่ที่จริงแล้ว ลองคิดดูว่า ถ้าผู้บริโภค
ซื้อรถยนต์มาแล้ว ห้ามขายต่อโดยเด็ดขาด จะมีผู้บริโภค
ที่กล้าซื้อรถยนต์มือหนึ่งมากขึ้นหรือน้อยลง
ทุกวันนี้ มีคนส่วนหนึ่งที่กล้าซื้อรถใหม่บ่อยๆ ก็เพราะเขารู้ว่า
เขาสามารถขายต่อ ในตลาดมือสองเมื่อไรก็ได้
ขาดทุนนิดหน่อย แสนสองแสนถือว่ากำไรใช้
เลยทำให้ตลาดรถใหม่ขายดี ฉันใดก็ฉันนั้น
ตลาดรอง ช่วยส่งเสริมตลาดหลัก ด้วยการทำให้สินค้า
ของตลาดหลัก กลายเป็นสินค้าที่มีสภาพคล่องสูง
คนที่ซื้อหุ้นจองไปแล้ว หากวันดีคืนดีเกิดมีความจำเป็น
ต้องใช้เงินด่วนขึ้นมาก็ไม่ต้องกลัวว่าจะขายต่อให้ใครไม่ได้
มีบางคนอยากเห็นตลาดหุ้น มีแต่นักลงทุนระยะยาวอย่างเดียว
ไม่มีนักเก็งกำไรระยะสั้น เพราะพวกเขามีทัศนคติในแง่ลบกับ
คำว่า "เก็งกำไร" แต่ที่จริงแล้ว ลองคิดดูให้ดี ถ้าในตลาดหุ้น
มีแต่นักลงทุนทั้งหมด ไม่มีใครเป็นนักเก็งกำไรเลย
สภาพคล่องในตลาดหุ้น คงหายไปมากกว่า 95%
ถ้าการขายหุ้นออก ในตลาดหุ้น กับการไปเร่ขายหุ้น
ด้วยตนเองนอกตลาดหุ้น มีความยากลำบากเท่ากัน
เพราะหาคนซื้อได้ยาก ก็ไม่รู้ว่าจะมีตลาดหุ้นเอาไว้เพื่ออะไร
ดังนั้น ตลาดหุ้นที่มีคุณค่าต้องเป็นตลาด ที่มีคนจำนวนหนึ่ง
ในตลาดยินดีที่จะซื้อหรือขายหุ้นบ่อยๆ โดยแลกกับโอกาส
ทำกำไรเล็กๆ น้อยๆ ทุกวันเพื่อสร้างสภาพคล่อง
ให้กับคนที่เป็นนักลงทุน กล่าวคือทำให้คนที่เป็นนักลงทุน
ระยะยาวสามารถขายหุ้นออกได้เสมอ (โดยไม่ต้องขายขาดทุนมากๆ)
เมื่อใดก็ตาม ที่พวกเขามีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน
แบบเร่งด่วน พูดง่ายๆ ก็คือการซื้อๆ ขายๆ ของนักเก็งกำไร
ช่วยลด liquidity risk ให้กับคนที่เป็นนักลงทุนนั่นเอง
โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วย กับแนวคิดที่ว่า
เป้าหมายของการพัฒนานักลงทุนรายย่อย
คือการทำให้นักลงทุนรายย่อย หันมาลงทุน
ระยะยาวกันให้หมด สิ่งที่ผมอยากเห็นมากกว่า
คือทำอย่างไร นักลงทุนรายย่อยจึงจะเป็นนักลงทุน
ที่มีภูมิต้านทาน กล่าวคือ ตัดสินใจจากข้อมูล
ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้เป็นหลัก
ไม่ถูกชักจูงไปได้ง่าย ไม่เชื่อข่าวลือข่าวปล่อยต่างๆ
ไม่แห่ตามกันโดยขาดวิจารณาณของตนเอง
ส่วนจะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น นักเทคนิค
หรือนักลงทุนระยะยาวนั้น ผมกลับคิดว่า
ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ นักลงทุนทุกแบบ
ล้วนแต่มีคุณค่าต่อตลาดทุนทั้งสิ้น หากตั้งใจ
จะเป็นนักเทคนิคก็ควรศึกษาเทคนิคให้จริงจัง
คนที่เล่นสั้นหลายคนที่ผมรู้จัก เป็นคนที่ไม่ยอม
เชื่ออะไรง่ายๆ ผมก็ไม่เคยรู้สึกเป็นห่วงพวกเขาเลย
เพราะผมมั่นใจว่า คนนิสัยแบบนี้ จะสามารถ
เอาตัวรอดในตลาดหุ้นได้อย่างแน่นอน
Subscribe to:
Posts (Atom)
Custom Search