Monday, August 10, 2009

หลักทรัพย์ที่ควรรู้จัก (ตอนจบ)

17. กองทุนส่วนบุคคล ( PRIVATE FUND )

คือ กองทุนที่สถาบันการเงินผู้ได้รับอนุญาต จัดการ

การลงทุนให้กับบุคคล หรือ คณะบุคคลไม่เกิน 10 ราย

โดยมีจำนวนเงินต่อกองทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

ซึ่งเจ้าของเงินทุน สามารถมีส่วน ในการกำหนด

นโยบายการลงทุนของตนเองได้

18. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( PROVIDENT FUND / PVD )

คือ กองทุนที่ลูกจ้าง และนายจ้าง ร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจ

เงินกองทุน มาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม และเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ

ให้ทุกเดือน เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเกษียณอายุหรือ

ออกจากงาน ลูกจ้างจะถูกกำหนดให้จ่ายเงินสะสมตั้งแต่ร้อยละ 2-15

ของเงินเดือน และนายจ้างจะต้องสมทบเงิน ไม่น้อยกว่าเงินสะสม

ของลูกจ้างแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือนลูกจ้าง เงินสะสม

ที่ลูกจ้างจ่าย สามารถนำมาหักลดหย่อน ในการคำนวณเงินได้

เพื่อเสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท

ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 290,000 บาทได้รับการยกเว้น

ไม่ต้องนำไปคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี

19. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
( GOVERNMENT PENSION FUND /GPF / กบข. )

คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหาร

เงินเกษียณอายุ ให้ข้าราชการแทนระบบบำเหน็จบำนาญเดิม

ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และฐานะทางการคลังของประเทศ

ข้าราชการจะถูกกำหนดให้จ่ายเงินสะสมร้อยละ 3 ของเงินเดือน

ส่วนรัฐจะจ่ายเงินสมทบให้ร้อยละ 3 เช่นกัน

เมื่อสมาชิกเกษียณอายุ หากอายุราชการไม่ถึง 10 ปี

จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น

หากทำงาน 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปี จะได้รับเงินสะสม

เงินสมทบ และดอกผลจากกบข. พร้อมมีเงินบำเหน็จให้อีกก้อนหนึ่ง

ซึ่งเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยอายุราชการ หากทำงาน 25 ปีขึ้นไป

สมาชิกกองทุนจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบและดอกผลจากกบข.

พร้อมบำเหน็จหรือบำนาญ หากเป็นบำเหน็จ จะเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย

คูณอายุราชการ ถ้าเป็นบำนาญจะเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

คูณอายุราชการหารด้วยห้าสิบ รับป็นรายได้ต่อเดือน ไปตลอดชีวิต

20. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
( RETIREMENT MUTUAL FUND / RMF )

เป็นกองทุนรวม ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ บริหารเงินเกษียณอายุให้ประชาชน

ทั่วไป โดยเฉพาะคนที่ทำงานอิสระ ไม่ได้ทำงานบริษัทหรือรับราชการ

เพื่อให้สามารถ เตรียมเงินเกษียณอายุได้อย่างเป็นระบบ เหมือนสมาชิก

ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามบริษัทต่างๆ

กองทุนนี้ ผู้ลงทุนต้องออกเงินออมแต่เพียงฝ่ายเดียวและมีข้อกำหนด

ให้ ต้องลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของ

เงินได้ในปีภาษีนั้นหรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ ต้องไม่ขาด

การลงทุนในแต่ละกองทุนรวมเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน โดยกองทุนรวมนี้

จะไม่มีการจ่ายเงินปันผล หรือ เงินตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้ลงทุน

จะจ่ายเงินทั้งหมดก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนแจ้งไถ่ถอน

ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ ผลตอบแทน

การลงทุนไม่ต้องเสียภาษี และ เงินลงทุนที่เติมเข้าไปในแต่ละปี

ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ ตามที่จ่ายจริง

โดยเมื่อรวมเงินลงทุนนี้เข้ากับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

หรือ กบข.แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในแต่ละปีภาษี

เงินที่ลงทุนไปทั้งหมด พร้อมผลตอบแทนจะไถ่ถอนได้

ก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้ว

ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ ไถ่ถอนได้ในกรณีผู้ลงทุนทุพลภาพหรือตาย

โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะเริ่มในปีเงินได้ 2544 เป็นต้นไป

กรณีผู้ลงทุนทำผิดเงื่อนไข ไถ่ถอนก่อนข้อกำหนด สิทธิประโยชน์

ทางภาษีที่ได้รับจากการลงทุน ในส่วนของ 5 ปีสุดท้าย จะต้องถูก

เรียกคืนและผลตอบแทนการลงทุนของ 5 ปีท้ายสุดจะต้องถือ

เป็นรายได้นำมารวมคำนวณภาษีด้วย

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนี้ สามารถลงทุนในหลักทรัพย์

ทุกประเภท เช่น หุ้นสามัญ , หุ้นกู้ , พันธบัตร , เงินฝาก หรือ

วอร์แรนท์ แต่ผู้ลงทุน สามารถกำหนดได้ว่า จะเลือกลงทุน

ในกองทุนประเภทใด และผู้ลงทุนสามารถโอนย้ายกองทุนจาก

RMF หนึ่งไปยังอีก RMF หนึ่งได้ เพื่อเลือกนโยบายการลงทุน

ที่เหมาะสมกับอายุและภาวะตลาดในตอนนั้น

21. กรมธรรม์ประกันชีวิต ( LIFE INSURANCE POLICY )

เป็นการลงทุน ที่ให้ผลตอบแทนเรื่องการออมทรัพย์ และการคุ้มครอง

ในเวลาเดียวกัน ผลตอบแทนของกรมธรรม์ประกันชีวิต มักกำหนด

ไว้คงที่ที่ 5-6 % ต่อปี จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบความเสี่ยง

หรือผู้ที่เก็บเงินไม่ค่อยได้ เนื่องจากการเก็บออม โดยการทำ

ประกันชีวิต เป็นวิธีเก็บเงิน ที่เป็นระบบระเบียบมากที่สุดวิธีหนึ่ง

ผู้ลงทุนต้องเจียดเงินมาเก็บทุกปีเป็นเวลายาวนานถึง 20 ปี

หรือจนครบอายุสัญญา

สำหรับผู้ลงทุน ที่ต้องการเก็บเงินเพื่อใช้ยามเกษียณอายุ

มีรูปแบบที่น่าสนใจ 2 แบบคือ แบบสะสมทรัพย์ ซึ่งเป็นการ

เก็บออมเงินแล้วไปรับเงินก้อน ไว้ใช้เป็นเงินบำเหน็จเมื่อ

ตอนครบสัญญา หรือแบบมีเงินได้ประจำ เป็นแบบเก็บเงิน

ระยะเวลาหนึ่ง ( ประมาณ 20 ปี ) หลังจากนั้นไม่ต้องจ่าย

เบี้ยประกันอีกแล้ว แต่จะได้รับเงินบำนาญไว้ใช้ทุกปี ไปตลอดชีวิต

ซึ่งแบบหลังนี้ยังสามารถป้องกันญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก

มาหยิบยืมเงินก้อนสุดท้ายที่จะเก็บไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิตได้

เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักเก็บออมเงิน

เพื่อจะได้ดูแลรับผิดชอบตนเองเมื่อตอนแก่ จึงสนับสนุนให้ลดหย่อนภาษี

ได้ถึงปีละ 100,000 บาท ดอกผลที่เกิดจากการทำประกันชีวิตทุกบาท

ทุกสตางค์ไม่ต้องเสียภาษี และยังมีกฎหมายคุ้มครองพิเศษ ให้เงินสินไหม

ประกันชีวิตเป็นเงินปลอดหนี้สิน เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดได้เกินกว่าเบี้ยประกัน

ที่ได้จ่ายไปซึ่งจะแตกต่างจากสินทรัพย์อื่นๆที่จะถูกยึดจากเจ้าหนี้ได้

เมื่อผู้ลงทุนเสียชีวิตไป

22. อินเวสต์เมนต์ลิงค์ / ยูนิตลิงค์
( INVESTMENT LINKED / UNIT LINK )

คือ แบบประกันชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของประกันแบบชั่วระยะเวลา

และ กองทุนรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน เบี้ยประกันที่จ่ายทุกปี ได้รวม

เบี้ยประกันปกติและเงินลงทุนเข้าไว้ด้วยกันแล้ว แต่ผู้เอาประกัน

สามารถเพิ่มเงินลงทุนได้ตลอดเวลา และในเวลาเดียวกัน

ก็สามารถขายหน่วยลงทุนที่ซื้อเพิ่มนี้ได้ทุกเวลาเช่นกัน

บริษัทประกัน จะนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์

เหมือนกองทุนรวมทั่วไป และให้สิทธิลูกค้าเลือกได้ว่าจะลงทุน

ในกองทุนประเภทใด ในสัดส่วนเท่าไร หรือ จะโอนย้าย

ประเภทของกองทุนก็ได้เช่นกัน

เนื่องจาก อินเวสต์เมนต์ ลิงค์ นับเป็นประกันชีวิตชนิดหนึ่ง

จึงต้องมีขั้นตอนพิจารณา อายุ , สุขภาพ ,ฐานะทางการเงิน

เหมือนประกันชีวิตทั่วไป แต่ก็ได้สิทธิรับความคุ้มครองเงินลงทุน

จากเจ้าหนี้ และได้สิทธิประโยชน์เรื่องภาษีเหมือนประกันชีวิตทุกประการ

เราได้รู้จักหลักทรัพย์ หรือช่องทางการลงทุนข้างต้นแบบคร่าวๆแล้ว

ตอนนี้อยู่ที่ว่า เราสนใจแนวทางการลงทุนแบบไหน เรามีความชำนาญ

มากน้อยเพียงใด หรือ จะมอบหมายให้นักลงทุนมืออาชีพ

จากสถาบันการเงินช่วยลงทุนให้เรา

แต่ที่แน่ๆ เราต้องจัดพอร์ตการลงทุนให้หลากหลาย

เพื่อกระจายความเสี่ยง เพราะการลงทุนใดๆล้วนมีความเสี่ยง

ขนาดเงินคงคลังของประเทศที่มีอยู่เป็นแสนล้านยังหายวับ

ไปในชั่วพริบตา บริษัทเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศยังล้มละลาย

ในชั่วข้ามคืน แล้วเราคิดว่า ในโลกนี้ ยังมีอะไรที่แน่นอนอีกล่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.thaifinancialadvisor.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538653110&Ntype=1

No comments:

Post a Comment

Custom Search

Followers