Thursday, September 17, 2009

รอยเตอร์ชี้ 4″ความเป็นไปได้”จากการประท้วงของ “เสื้อแดง”วันเสาร์นี้

เอเจนซี-รัฐบาลไทย ประกาศใช้พระราชบัญญัติ

การรักษาความมั่นคงอันเข้มงวดอีกครั้งหนึ่งเมื่อวานนี้ (15)

เพื่อเปิดโอกาสใ ห้ทหารสามารถเข้ามาควบคุม

การชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ และสำนักข่าวรอยเตอร์

ได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ที่อาจจะเป็นไปได้

สืบเนื่องจากการประท้วงครั้งนี้


กฏหมายความมั่นคง ฉบับดังกล่าว

เปิดทางให้ใช้ทหาร เพื่อจำกัดความเคลื่อนไหว

ของกลุ่มคนเสื้อแดง และสามารถดำเนินการ

กับกลุ่มผู้ชุมนุมได้อย่างรวดเร็ว หากมีเหตุรุนแรง

ระหว่างการประท้วงซึ่ง “กลุ่มคนเสื้อแดง”

จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี

ที่ พ.ต.ท. ทักษิณถูกยึดอำนาจ โดยที่แกนนำ

กลุ่มคนเสื้อแดง ประกาศจะดำเนินการชุมนุม

ขับไล่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

คนปัจจุบัน โดยสงบ และไม่ใช้ความรุนแรง

เพื่อยั่วยุให้เกิดเหตุวุ่นวายก็ตาม


สำนักข่าวรอยเตอร์ โดยนายมาร์ติน เพตตี้

ได้จัดทำรูปแบบ สถานการณ์ที่อาจจะเป็นไปได้

รูปแบบต่างๆ สืบเนื่องจากการชุมนุมในวันเสาร์(19)นี้

รวมทั้งสิ้น 4 รูปแบบ ดังนี้คือ


**เกิดการประท้วง แต่ผ่านพ้นไปโดยไม่มีเหตุรุนแรง**

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ระบุว่า การชุมนุมประท้วงโดยสงบ

น่าจะมีความเป็นไปได้มากที่สุด เนื่องจากในเวลานี้

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเข้ามาบริหารประเทศ

ได้9เดือน กำลังประสบกับปัญหา ความแตกแยกภายใน

อย่างหนัก ทั้งจากบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล และความแตกแยก

จากภายในพรรคประชาธิปัตย์ ของตัวนายกรัฐมนตรีเอง

ทำให้นักวิเคราะห์ มองว่า ลำพังปัญหาภายใน

ของรัฐบาลชุดนี้ ก็ได้ทำให้ อนาคตของรัฐบาลง่อนแง่น

อย่างถึงที่สุดแล้ว ขณะที่ทางกลุ่มคนเสื้อแดง

ซึ่งมีชื่อเรียกตัวเองอย่างเป็นทางการว่า

กลุ่ม “ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ ”

ก็ได้ตระหนัก ถึงความผิดพลาดของตน จากการยั่วยุ

ให้เกิดเหตุรุนแรง เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ซึ่งทำลายความน่าเชื่อถือ ของกลุ่มคนเสื้อแดงไป

ดังนั้นการชุมนุม ในวันเสาร์นี้ น่าจะผ่านไป

โดยความเรียบร้อย รูปแบบความเป็นไปได้เช่นนี้

จะเป็นรูปแบบที่แทบไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินเลย


**การประท้วงรุนแรง ทหารกระโดดเข้ามา**

พวกวิพากษ์วิจารณ์ “ทักษิณ” รวมทั้งกลุ่มพันธมิตร

ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือ “ กลุ่มคนเสื้อเหลือง ”

ระบุว่า อดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้จะต้องพยายามทำทุกวิถีทาง

เพื่อให้เกิดความรุนแรง จากการชุมนุมในวันเสาร์นี้

เพื่อโค่นล้มรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ลงให้ได้

เพราะเวลาของเขาเหลือน้อยเต็มทีแล้ว


ขณะเดียวกัน ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง

นายอภิสิทธิ์ กับพวกนายตำรวจระดับสูงหลายราย

จากกรณีการสั่งปลดพล.ต.อ. พัชรวาท วงศ์สุวรรณ

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก่อนการเกษียณอายุราชการ

เพียงไม่กี่วัน ก็อาจทำให้ต้องดึงทหาร ต้องเข้ามา

มีบทบาท ในการควบคุมสถานการณ์การชุมนุม

ทั้งนี้พรรคเพื่อไทย ที่ได้รับการสนับสนุน

จากพ.ต.ท. ทักษิณ และทำหน้าที่เป็นกลไก

ทางรัฐสภา ให้กับกลุ่มคนเสื้อแดง ก็ได้ออกมา

เตือนว่า การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง

ของรัฐบาล อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรง

เนื่องจากอาจมีผู้ประท้วง ที่หัวรุนแรงบางกลุ่มไม่พอใจ

หรืออาจมีกลุ่มคน ที่ถูกว่าจ้างให้เข้ามาเป็นมือที่ 3

เพื่อก่อความวุ่นวาย จนทางทหารอาจต้องสลายการชุมนุม

หรือแม้กระทั่งการทำรัฐประหาร ถ้าหากสถานการณ์

ออกมาในรูปแบบนี้จริงๆ ตลาดหลักทรัพย์ และเงินบาท

ของไทยน่าจะถูกการเทขายอย่างรุนแรง


อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า ไม่น่าจะมีเหตุรุนแรง

เกิดขึ้น เนื่องจากการปะทะกัน จะไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย

ที่เกี่ยวข้อง “ในปัจจุบัน ไม่มีกลุ่มพลังทางการเมืองสำคัญๆ

ของประเทศกลุ่มใดเลย ที่มีความสามารถหรือกระทั่งเจตนารมณ์

เพื่อสร้างความสับสน ให้แก่สถานการณ์ น่าเป็นห่วง

ที่เราเผชิญอยู่ในทุกวันนี้”

โรแบร์โต ฌอร์เรรา-ลิม นักวิเคราะห์แห่งยูเรเชียกรุ๊ป

ให้ความเห็น “ในทัศนะของเราแล้ว นี่จะเป็นแค่เกม

แห่งการรอคอย(ว่าใครจะอดทนกว่ากัน)”


**มีการปะทะเกิดขึ้น อภิสิทธิ์ประกาศยุบสภา**

จากปัญหา แรงกดดัน นานัปการ ที่มีต่อรัฐบาล

ของนายอภิสิทธิ์ ทั้งจากกลุ่มคนเสื้อแดง,

ความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล,

ความไม่พอใจ ของประชาชนต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ,

วิกฤตทางการเมือง , การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, และปัญหา

ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทำให้เกิดกระแสข่าวเรื่องการยุบสภาหนาหูขึ้น

ถึงแม้ 2 แกนนำพรรครัฐบาล คือ ประชาธิปัตย์

และภูมิใจไทย ซึ่งน่าจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

ในการเลือกตั้ง จึงคงพยายามหลีกเลี่ยงไม่เลือกวิธีนี้


นักวิเคราะห์มองว่า การยุบสภาจะไม่ส่งผลดีต่อตลาด

อีกทั้งอาจมีผล ทำให้ความขัดแย้งทางการเมือง

ของไทยรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบ

อย่างใหญ่หลวง ต่อเศรษฐกิจของไทยที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2

ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีมูลค่าโดยรวม

กว่า 260,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


**เกิดการปะทะกันรุนแรง ทหารทำรัฐประหาร**

แม้ข่าวลือ เรื่องที่ทหารจะยึดอำนาจกำลังก่อตัวขึ้น

แต่สำหรับประเทศไทย ซึ่งเคยเกิดการทำรัฐประหาร

มาแล้ว 18 ครั้งตลอดระยะเวลา 77 ปี นับตั้งแต่ที่

ประเทศไทย เปลี่ยนแปลงการปกครอง เข้าสู่ระบอบ

ประชาธิปไตย จึงถือว่าเรื่องนี้ “ไม่ใช่เรื่องใหม่” แต่อย่างใด


อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์

ไม่ได้มีความบาดหมางกับทางกองทัพ และทางกองทัพเอง

ก็ยังไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆ ว่า จะก่อรัฐประหารอีกรอบ

ทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่าจะไม่เกิดการยึดอำนาจ

เพราะทหาร คงจะไม่เสี่ยง ที่จะทำให้เสถียรภาพ

ของประเทศไทยต้องถูกทำลายในภาวะเช่นนี้


แต่ถ้าเกิดการรัฐประหาร ขึ้นอีกครั้ง ก็จะถือเป็นรูปแบบ

ความเป็นไปได้ที่เป็นมิตรกับตลาดน้อยที่สุด และอาจทำ

ให้เกิดปรากฏการณ์ ของการดิ่งอย่างสุดขั้วของตลาด

เช่นเดียวกับช่วงหลังเกิดการรัฐประหารครั้งก่อน

ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ

และจะถือเป็นความล้มเหลว ของรัฐบาลไทย

ที่เคยให้คำมั่น จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาธิปไตย

ในประเทศและจะขจัดการคอร์รัปชั่น

ขอขอบคุณ :
http://www.wiseknow.com/blog/2009/09/16/3419/

No comments:

Post a Comment

Custom Search

Followers