Monday, October 5, 2009

'สมองซีกซ้าย' อาวุธสำคัญที่สุดในการเทรดหุ้น

'สมองซีกซ้าย' อาวุธสำคัญที่สุดในการ Trading

ได้มีการ เก็บสถิติว่า นักลงทุน ที่เข้ามาซื้อขาย

ในตลาดหุ้น หรือ Futures ส่วนใหญ่ หรือประมาณ

80% มีประสบการณ์การขาดทุน มีเพียงแค่ประมาณ

20% ที่ประสบความสำเร็จ และการประสบความสำเร็จ

มักจะอยู่ได้ไม่นาน


ในต่างประเทศ นักวิจัย ได้ทำการสำรวจว่า ปัจจัยที่

สำคัญที่สุดในการ Trading หุ้น หรือทำการซื้อขายหุ้น

ให้ประสบความสำเร็จนั้น แท้จริงแล้ว ไม่ได้ขึ้นอยู่

กับเครื่องมือที่ดีเยี่ยมในการวิเคราะห์ ทั้งปัจจัยเทคนิค

และปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ

และการควบคุมอารมณ์ในการซื้อขาย


กล่าวโดยสรุปคือ นักลงทุนที่สามารถทำกำไร

จากตลาดหุ้น นอกจากจะมีระบบ ทั้งในแง่ของ

ปัจจัยทางเทคนิค ปัจจัยทางพื้นฐาน ในการคิด

เลือกหุ้นแล้ว นักลงทุนท่านนั้นยังต้องมีจิตใจ

และระบบความคิดที่เป็นระบบ


ระบบความคิดที่เป็นระบบในการ Trading นี้

ที่ต่างประเทศมีคอร์สอบรมคอร์สหนึ่งเลย

ชื่อว่า "Left Brain Trading" หรือ

ใช้สมองซีกซ้ายในการตัดสินใจซื้อขาย


สมองของคนเราจะประกอบด้วยสมอง 2 ซีก

คือ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา สมองซีกขวา

จะเป็นส่วนที่สร้างจินตนาการ หรือเกี่ยวกับอารมณ์

การมองภาพรวม และอาศัย สัญชาตญาณ

หรือประสบการณ์ในการตัดสินความรู้สึก


แต่สมองซีกซ้าย เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคิดเชิงระบบ

และอาศัยสมองซีกขวา แต่กระบวนการซื้อขาย

และการตัดสินใจในการซื้อหรือขายของสมองซีกซ้าย

การวิเคราะห์ การคิดตามลำดับก่อนหลัง (Sequential History)

เป็นมูลเหตุในการตัดสินใจ


ในการ Trading หรือซื้อขายหุ้นนั้น ทักษะทางด้าน

จินตนาการ หรือ Gut Feeling เป็นตัวคัดเลือกหุ้น

และคาดการณ์การเคลื่อนไหวของหุ้น (Pattern)

ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมองซีกขวา ในขณะที่สมองซีกซ้าย

จะช่วยเราในการเลือกจุดเข้า (Entry) และจุดออก (Exit)

ซึ่งคอร์สอบรมของ Left Brain Trading ได้กล่าวถึง

กลยุทธ์ ผมขออนุญาตสรุปคร่าวๆ ได้คือ


1) การมองภาพใหญ่ อาจจะเป็นกราฟ หรือ Pattern

ของราคาหุ้น ในรอบเดือนหรือปี และรวมถึงภาพ

ของตลาดโดยรวม เพราะหุ้นรายตัวที่เรากำลังทำการ

Trading หรือซื้อขายนั้น จะเป็นไป ในลักษณะ

Pattern ซ้อน Pattern อยู่


2) ค้นหาสัญญาณ Indicator หรือ Pattern ที่กำลังส่งผล

ในขณะนั้น สัญญาณบางอย่างที่นักวิเคราะห์ทางเทคนิค

ใช้กันอยู่อย่างสม่ำเสมอ คือ Fibonacci Ratio

ซึ่งจะต้องดูประกอบกับ Volume ด้วย ยิ่ง Volume มากเท่าใด

การแกว่งตัวของ Fibonacci ยิ่งมากเท่านั้น

บทความ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ Bizweek

No comments:

Post a Comment

Custom Search

Followers