วันนี้นำ เคล็ดลับการวิเคราะห์หุ้น ทางเทคนิคเล็กๆน้อย
มาเล่าให้ฟังกัน ซึ่งในวันนี้จะเป็นเรื่องของการดู “ความน่าจะเป็น”
ว่าหุ้นที่ผ่านแนวต้านไปนั้น มี “ความน่าจะเป็น” แค่ใหน ที่มัน
จะวิ่งต่อไป ไกลแค่ใหน และอย่างไร! โดยบทความชิ้นนี้
ผมนำมาแปลสรุปจากบทความของ Tim Ord นักวิเคราะห์หุ้นชื่อดัง
ของอเมริกา ซึ่งแนวคิด การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค โดยนำวอลุ่ม
มาพิจรณาประกอบ ณ จุด Breakout นี้เป็นแนวทางการวิเคราะห์
ที่มีรากฐานจาก Richard Wyckoff นักเล่นหุ้นระดับตำนาน
ของ Wallstreet ตั้งแต่ยุคปี 1900 โน่นเลย แต่หลักการที่ดี
ก็คือหลักการที่ดี และยังไม่ล้าสมัยไป เลยนำมาให้อ่านกัน
หลักการวิเคราะห์หุ้น ทางเทคนิคของ Wyckoff นั้น
ถูกพัฒนาขึ้น ตั้งแต่ช่วงปี 1930 และจะมี จุดแข็ง
ที่น่าสนใจ คือการศึกษา ในเรื่องของ Volume
ซึ่งคิดว่า เป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียว หากเรามีสมมุติฐาน
ที่ว่า “ราคานั้นวิ่งไปด้วยแรงดันของวอลุ่ม”
ซึ่งในขณะที่ Wyckoff ยังมีชีวิตอยู่นั้น การวิเคราะห์หุ้น
ทางเทคนิคด้วยกราฟ ยังไม่ค่อยแพร่หลายเท่าไหร่
เครื่องมือสำคัญคือ Tape หรือ บันทึกการซื้อขาย
ประจำวันเท่านั้น แต่ด้วยความที่ Tim Ord แกสนใจ
จึงนำมาประยุกต์ใช้ กับการอ่านกราฟ จนกลายเป็น
เทคนิคเหล่านี้ เริ่มกันเลยดีกว่า
ข้อสังเกตุ:
การวิเคราะห์หุ้น ด้วยวอลุ่มด้วยวิธีการแบบ Wyckoff นั้น
การวิเคราะห์หุ้น ด้วยวอลุ่มด้วยวิธีการแบบ Wyckoff นั้น
ตัววอลุ่ม อย่างเดียวนั้น ไม่ไช่สิ่งที่สำคัญนัก หากแต่เป็น
สัดส่วนความสำพันธ์ หรือ Percentage relationship
ของวอลุ่ม ที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง ขณะหุ้นได้เคลื่อนผ่าน
แนวรับ-แนวต้านสำคัญ และความสำพันธ์ ระหว่าง
สัดส่วนของวอลุ่มที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง นี่เองที่เป็นสิ่ง
ที่จะบอก “ความน่าจะเป็น” ที่ตลาด จะเคลื่อนที่
ไปยังทิศทางใดต่อไป
กฎการวิเคราะห์หุ้น ทางเทคนิคของ Tim Ord
ด้วยแนวทางของ Richard D. Wyckoff
1.เมื่อหุ้นได้วิ่งไปทดสอบ แนวรับ-แนวต้านเดิม
โดยที่วอลุ่มนั้น ลดลงตั้งแต่ประมาณ 8% ลงไป
นั้นสามารถตีความหมายได้ว่า นี่คือจุดวกกลับ
หรือ Reversal ของราคา โดยที่การทดสอบ
แนวรับแนวต้านนี้หมายถึง การที่หุ้นได้เคลื่อนที่
ผ่าน แนวรับ หรือแนวต้าน แล้ววกกลับลงมา
ในขอบเขตเดิม
2.เมื่อหุ้นวิ่งไปทดสอบ แนวรับ-แนวต้านเดิมโดยที่วอลุ่มนั้น
ลดลงไม่เกิน 3% นั้นมีความ “น่าจะเป็น” ที่หุ้นจะพักตัวแล้วไปต่อ
3.ให้เลือกใช้การเปรียบเทียบ สัดส่วนปริมาณของวอลุ่ม
ในการทดสอบแนวรับ-แนวต้านเดิมกับ แนวรับ-แนวต้านเดิม
ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่าหุ้น จะเคยทดสอบแนวต้าน
ที่เกิดเป็นครั้งแรกมาหลายครั้งแล้ว (นั่นคือแนวรับ-แนวต้าน
ที่สำคัญคือ แนวที่เกิดขึ้น เป็นครั้งแรก และหุ้นยังไม่สามารถ
วิ่งผ่านไปได้อย่างชัดเจน)
4.เมื่อหุ้นสามารถเคลื่อนผ่านแนวรับ-แนวต้านเดิมไปได้
ด้วยวอลุ่มที่ไกล้เคียง หรือมากกว่าครั้งเก่า แต่ราคาวกกลับมา
ที่ขอบเขตเดิมมี “ความน่าจะเป็น” ที่แนวรับ-แนวต้านเดิม
ปล. การที่เราจะบอกได้ว่า แนวรับ-แนวต้านเดิม
จะถูกทดสอบอีกครั้งหรือไม่นั้นความลับอยู่ที่วอลุ่ม
-ถ้าสัดส่วนของวอลุ่มเมื่อหุ้นได้ทดสอบแนวรับ-แนวต้านเดิมนั้น
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8% ราคาน่าจะถึงจุดวกกลับ
-ถ้าสัดส่วนของวอลุ่มเมื่อหุ้นได้ทดสอบแนวรับ-แนวต้านเดิมนั้น
น้อยกว่าเดิมไม่เกิน 3% ราคาน่าจะวิ่งต่อไป
5.เมื่อหุ้น สามารถวิ่งผ่านแนวรับ-แนวต้านเดิมไปได้
ด้วยสัดส่วนของวอลุ่ม ที่เบาบางลงกว่าเดิม เท่ากับ
หรือมากกว่า 8% อาจตีความได้ว่าน่าจะเกิด False Breakout
หรือการหลอก ซึ่งมีความเป็นไปได้ ที่ราคาหุ้นจะเคลื่อน
กลับลงมา ณ ขอบเขตเดิม
6.เมื่อราคาหุ้นกระโดดขึ้น หรือลง ที่เราเรียกว่าเปิด “Gap”
จุดต่ำสุด และจุดสูงสุดของช่องว่างระหว่าง Gap ถือเป็นแนวรับ
และแนวต้าน ได้เช่นเดียวกับแนวรับ-แนวต้าน ที่เกิดขึ้น
จากการที่หุ้นเคลื่อนที่ วกกลับไปจริงๆ และสามารถใช้หลักการ
วิเคราะห์สัดส่วนของวอลุ่มการซื้อขายได้เช่นกัน
นี่คือ หลักการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่ Tim Ord นั้น
นำมาพัฒนาต่อจาก Richard D. Wyckoff
หากอยากทราบรายละเอียด แบบเจาะลึกเพิ่มเติม
แนะนำให้ลองหาหนังสือหุ้น The Secret Science
of Price and Volume เขียนโดย Tim Ord เพิ่มเติม
ลองนำไป ประยุกต์ใช้ และสังเกตุ เพิ่มเติม
กับตลาดบ้านเรากันดู สำหรับวันนี้จบแล้ว
ขอขอบคุณ : http://www.mangmaoclub.com/
No comments:
Post a Comment