Wednesday, March 17, 2010

กลยุทธ์ของเฮดจ์ฟันด์

โดย สุมาอี้

ทุกวันนี้ถ้าไม่นับ กองทุนบริหารความมั่งคั่งแห่งรัฐฯ และกองทุนบำเหน็จบำนาญ
ต่างๆ แล้ว "ขาใหญ่" ของตลาดทุนโลกอันดับถัดมาคงหนีไม่พ้น พวกเฮดจ์ฟันด์ ต่างๆ

เฮดจ์ฟันด์ ตามความหมายดั่งเดิม คือ กองทุน ที่ลงทุนด้วยการเสาะหา ช่องว่าง
ในการทำกำไรที่ปราศจากความเสี่ยง (Riskless) ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คงหนีไม่พ้น
วิธีของกองทุน Long-term Capital Managment ที่อื้อฉาวในอดีต

ในทางทฤษฏี พันธบัตรรัฐบาลสองตัวที่มีอายุเท่ากัน จ่ายดอกเบี้ยเท่ากัน จะต้องมี
ราคาเท่ากันด้วย แต่ในความเป็นจริง อาจมีราคาต่างกัน เพราะสภาพคล่องของตลาด
ในช่วงสั้น ที่ไม่สมบูรณ์แบบ LTCM ใช้วิธียืมพันธบัตรรัฐบาล จากกองทุนอื่น ที่มี
ราคาตลาดสูงกว่ามาขาย แล้วเอาเงินที่ได้มาซื้อพันธบัตรตัวที่ถูกกว่ามาถือไว้แทน
การถือไว้ทั้ง short และ long position ในราคาที่ต่างกันเล็กน้อยเช่นนี้ จะทำให้เกิดกำไร
เป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เมื่อใดก็ตาม ที่ส่วนต่างของราคาในตลาด
บีบเข้าหากัน ก็จะเกิด net gain ขนาดเล็กๆ ขึ้น เป็นโอกาสให้ LTCM ล้างสถานะ
ทั้งหมดเพื่อทำกำไรได้

การลงทุนด้วยวิธีนี้มีความเสี่ยงต่ำมาก เนื่องจากโอกาสที่ราคาพันธบัตรทั้งสอง
จะหนีออกจากกันมากๆ (เกิด net loss) มีน้อยมาก ต่อให้เกิดขึ้นจริง ก็ไม่น่ากลัว
เพราะสามารถถือต่อไปแล้วรอให้พันธบัตรทั้งสองตัวหมดอายุก็ได้ ราคาจะกลับมา
เท่ากันเอง และพันธบัตรก็เป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงยิ่ง การลงทุนด้วยวิธีนี้
จึงมีลักษณะคล้ายกับ "โอกาสที่ไม่มีความเสี่ยง"

แม้ว่า net gain ที่มีโอกาสเกิดขึ้น จะมีขนาดเล็กมากๆ เพราะผลต่างของ
ราคาพันธบัตรสองตัวที่เหมือนกันคงต่างกันไม่ได้มากนัก แต่ LTCM ก็ทำกำไร
ด้วยวิธีการนี้ได้อย่างมหาศาล เพราะไม่ได้ใช้เงินของตัวเอง LTCM เพียงแต่
ขอยืมพันธบัตรของคนอื่นมาขาย แล้วเอาเงินก้อนนั้นแหละมาซื้อพันธบัตรอีกตัวหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง LTCM จะต้องถือเงินส่วนตัวไว้จำนวนหนึ่งด้วย
เพื่อให้เจ้าของพันธบัตรเชื่อเครดิต เงินจำนวนนี้ จึงเป็นส่วนทุนที่แท้จริงของ LTCM
ซึ่งก็น้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดพันธบัตรที่ยืมมาหลายสิบเท่าตัว ฉะนั้น แม้ net gain
จะแคบมาก แต่ LTCM ก็ได้กำไรหลายสิบเท่าตัวเมื่อเทียบกับทุนที่ใช้ ตลาดพันธบัตร
เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มหึมา และมีสภาพคล่องสูง LTCM จึงสามารถเพิ่ม position
ได้โดยไม่จำกัด

แต่สุดท้ายแล้ว LTCM ก็ยังเจ๊งได้ยังไงนั้น ทุกท่านสามารถหาหนังสืออ่านได้ทั่วไป
แต่ประเด็นที่ผมอยากจะเขียนถึงในบทความนี้คือ กลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงของ
พวกเฮดจ์ฟันด์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่น่าเรียนรู้

กลยุทธ์ลดความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งของพวกเฮดจ์ฟันด์ ที่จะขอยกมาเขียนถึง
เป็นตัวอย่างเรียกว่า market neutral strategy กลยุทธ์นี้มีแนวคิดว่า บ่อยครั้งที่เรา
ค้นพบหุ้นตัวหนึ่ง ที่มีสตอรี่ที่ดีมาก ทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสที่จะขยับขึ้นได้ในอนาคต
แต่พอเราลงทุนไป ปรากฏว่า ภาวะตลาดเกิดเลวร้ายลง ทำให้แม้หุ้นที่เราลงทุน
จะมีสตอรี่ที่ดี แต่ก็ฝืนภาวะตลาดไม่ไหว ทำให้ต้องขาดทุนอยู่ดี ภาวะตลาด
จึงเป็นความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ที่สำคัญสำหรับการลงทุนแบบ bottom up

เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะตลาด (Market Risk) ลง แทนที่จะซื้อหุ้นตัวนั้นเฉยๆ
ก็ให้ short index ไปพร้อมกันด้วย ถ้าหากเกิดโชคร้ายตลาดลงแรง แต่ถ้าเราคิดได้
ถูกต้องเกี่ยวกับสตอรี่ของหุ้นตัวนั้น แม้หุ้นจะลงด้วยตามภาวะตลาด แต่เนื่องจาก
มันลงน้อยกว่าตลาด เพราะมีสตอรี่ที่ดี ของตัวเองช่วยเอาไว้ เมื่อ net กับ
short index position แล้ว เราจึงยังคงได้กำไรอยู่ แม้ตลาดจะลง วิธีจึงช่วย
ให้เราลงทุนแบบ bottom up ได้โดยไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร เพราะตราบใด
ที่หุ้นของเรา outperform ตลาด เราจะยังได้กำไรเสมอ

อย่างไรก็ตาม market neutral strategy ไม่ถือว่าเป็น riskless opportunity
อย่างแท้จริง เพราะหลักทรัพย์ที่ long กับที่ short นั้นไม่ได้เหมือนกันทุกประการ
เหมือนอย่าง ในกรณีของ LTCM วิธีนี้ จึงช่วยลดความเสี่ยงลงได้ส่วนหนึ่ง
แต่ไม่ใช่ทั้งหมด บางกองทุนจึงเพียงแต่ short index ไว้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
เช่น เท่ากับ 30% ของหุ้นที่ซื้อ แทนที่จะ short เต็มทั้งจำนวน
เพราะการลดความเสี่ยงของตลาดลงส่วนหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับเต็มอัตรา

อีกกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจของพวกเฮดจ์ฟันด์มีชื่อว่า 130/30 กลยุทธ์นี้มาจาก
แนวคิดที่ว่า บางครั้งตลาดอยู่ในภาวะฟองสบู่ หุ้นส่วนใหญ๋ในตลาดแพงหมด
ถ้าเรามีนโยบายลงทุน 100% ของพอร์ตตลอดเวลา ก็เท่ากับเป็นการบังคับ
ให้เราต้องถือหุ้นบางตัว ทั้งที่เราคิดว่ามันแพงมากแล้ว ดังนั้น แทนที่เราจะซื้อ
หุ้นอย่างเดียว 100% ของพอร์ต เราเปลี่ยนมาเป็นการซื้อหุ้นในตลาดที่เราคิดว่า
ถูก 130% ของพอร์ต (ยืมมาร์จิ้นมา) และ short หุ้นในตลาดที่เราคิดว่าแพงอีก
30% แบบนี้ net position ของเราก็ยังคงเท่ากับ 100% อยู่ เช่นเดิม แต่แทนที่เรา
จะต้องฝืนใจถือหุ้นแพงเข้าพอร์ตทั้งหมด เราหาผลตอบแทนด้วยการ short หุ้น
ที่แพงไปได้ด้วยอีกส่วนหนึ่ง ในระยะยาว น่าจะทำผลตอบแทนได้สูงกว่า
การซื้ออย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ตลาดหุ้นแพงเรื้อรัง

ที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ของกลยุทธ์ของพวกเฮดจ์ฟันด์ที่มีอยู่
อย่างมากมายในปัจจุบัน แต่ละกลยุทธ์ก็แสนพิสดารสุดที่จะคิดกันขึ้นมาได้
สมัยนี้เฮดจ์ฟันด์หลายกองก็ไม่ได้มีกลยุทธ์มุ่งลดความเสี่ยงตามนิยามที่ดั่งเดิม
อีกต่อไปแล้วด้วย (วิธีอะไรก็ได้ที่คิดว่าจะดึงดูดเม็ดเงินของนักลงทุนได้เป็นใช้ได้)

การเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ของพวกเฮดจ์ฟันด์นั้น ช่วยทำให้เห็นว่าโลกนี้ยังมีวิธีการ
ลงทุนแบบอื่นๆ อยู่อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ผมคงไม่แนะนำให้นักลงทุนหน้าใหม่
เลียนแบบวิธีการของเฮดจ์ฟันด์ แม้ว่าบางหลายวิธีจะดูมีเหตุผลดีทีเดียว แต่การทำ
ธุรกรรม short นั้นต้องการวินัยอย่างสูง บางครั้งวิธีการดี แต่จิตใจยังไม่หนักแน่นพอ
ก็พลาดได้ง่ายๆ

ผมเชื่อว่า ทุกวันนี้การที่ตลาดทุนโลกเต็มไปด้วยเฮดจ์ฟันด์ ทำให้ราคาหุ้นขึ้นอยู่
กับนโยบายการเงินของรัฐฯ มากกว่าปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้นเข้าไปทุกที เพราะกลยุทธ์
ส่วนใหญ่ของเฮดจ์ฟันทำกำไรจาก noise จึงสามารถทำกำไรได้เสมอโดยไม่ต้องสนใจ
ว่าหุ้นที่ซื้อจะแพงหรือไม่เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน ดังนั้นเวลาที่เฟดใช้นโยบายการเงิน
แบบผ่อนคลาย เฮดจ์ฟันด์ก็จะหาทุนได้มากขึ้น ก็จะนำมาสร้าง position ในตลาดหุ้น
มากขึ้นทันที โดยไม่เกี่ยวกับ outlook ของหุ้น และเมื่อเฟดใช้นโยบายการเงินตึงตัว
ก็จะให้ผลตรงกันข้าม เงินที่ไหลเข้าออกจากตลาดหุ้นจึงเป็นไปตามภาวะตลาดเงินมากกว่า
จะเป็นไปตามตามความคิดของนักลงทุนเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้นในขณะนั้น

Dickson G. Watts

โดย สุมาอี้

ผมได้อ่านหนังสือโบราณเล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนโดย Dickson G.Watts
นักเก็งกำไรในตลาด New York Cotton Exchange เมื่อ 85 ปีที่แล้ว
ท่านผู้นี้ร่ำรวยขึ้นมาจากมือเปล่าด้วยการเป็นนักเก็งกำไรราคาฝ้าย
และในวัยสูงอายุได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานของ NYCE ในระหว่าง
ปี 1878 - 1880 อีกด้วย

หนังสือเล่มนี้หายสาบสูญไปนาน แต่มันกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง
เมื่อ Edwin Lefevre ผู้เขียนหนังสือชื่อ Reminiscences of a Stock Operator
ซึ่งเป็นชีวประวัติของ Jesse Livermore นักเก็งกำไร ผู้โด่งดังในช่วงปี
1900-1930 กล่าวถึงกฏของ Watts ไว้ในหนังสือ

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีขนาดเล็กมาก มันมีกฏทองของการเก็งกำไร
เพียงไม่กี่ข้อ ซึ่งเป็นการสรุปจากประสบการณ์การเก็งกำไรทั้งชีวิตของผู้เขียน
ผมเห็นว่า มันมีประสบการณ์ ที่ทรงคุณค่า ซึ่งจะช่วยให้ ประหยัดเวลา
ในการเรียนรู้เกี่ยวกับตลาดหุ้นของเราได้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าเทอมเองด้วย
อย่างไรก็ตาม มันเป็นหลัก สำหรับการเก็งกำไรเป็นหลัก ต้องระวังเวลานำไปใช้
กับการลงทุน เพราะแม้ว่าจะใช้ได้บ้างในบางส่วน แต่ไม่ว่าทั้งหมด

กฏของ Watts มีทั้งหมด 10 ข้อ 4 ข้อแรก เป็นกฏที่เป็นจริงเสมอ
(Laws Absolute) อีก 6 ข้อหลังเป็นกฏที่โดยปกติให้ยึดถือเอาไว้
แต่ในบางสถานการณ์ ก็สามารถยืดหยุ่นได้ (Rules Conditional)
ผมขออนุญาตเริ่มจาก Rule Conditional ทั้ง 6 ข้อก่อน

Rule Conditional #1 : การซื้อเฉลี่ย "ขาขึ้น" ดีกว่าการซื้อเฉลี่ย "ขาลง"

ธรรมเนียมทั่วไป นิยมเชื่อว่าการเฉลี่ยขาลง ดีกว่า เพราะทำให้
ต้นทุนเฉลี่ยลดลงเรื่อยๆ แม้ว่าสี่ในห้าครั้งที่เฉลี่ยขาลง ราคาหุ้น
จะพลิกกลับขึ้นมา ทำให้มีกำไรได้ แต่จะมี อีกหนึ่งในห้าครั้งที่
ราคาหุ้น ลงแบบถาวร ไม่กลับขึ้นมาอีกเลยตลอดไป ซึ่งจะนำ
ไปสู่การขาดทุนมหาศาลได้

Rule Conditional #2 ตลาดโวลุ่มหาย แนวต้านไม่แข็งแรง คือตลาด
ที่ควรจะขายเพราะตลาดเช่นนี้มักจะพัฒนาไปสู่ตลาดขาลง แต่เมื่อไรก็ตาม
ที่ตลาดเช่นนี้ ได้ผ่านไปสู่ภาวะ ที่มีโวลุ่มหนาแน่น และเป็นขาลงแล้ว
ต่อด้วยแรงขายแบบตื่นตระหนกเรียบร้อยแล้วก็ถึงเวลาที่ควรจะซื้อมากๆ

ในทางตรงกันข้าม ตลาดที่โวลุ่มหาย แต่แนวต้านมั่นคง มักจะพัฒนา
ไปสู่ตลาดที่มีโวลุ่มหนาแน่นและมีฐานที่แข็งแรง หลังจากนั้นถ้าตลาด
กลายเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยอารมณ์ตื่นเต้น ก็ควรจะขายออกมาอย่างมั่นใจ

Rule Conditional #3ในการสร้างมุมมองเกี่ยวกับตลาด ปัจจัยด้าน
ความน่าจะเป็นจะละเลยไม่ได้ จงคิดถึงความน่าจะเป็นเสมอ
นโปเลียนวางแผนการรบจะเผื่อกรณีสุดวิสัยเอาไว้เสมอ อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้น
มาทำลายหรือหักล้างการคิดคำนวณที่ดีที่สุดได้ การคิดคำนวณจึงต้องรวม
สิ่งที่คาดไม่ได้เอาไว้เสมอ คนที่คิดคำนวณความน่าจะเป็นไว้ด้วยคือยอดคน

จงสร้างมุมมองจากข้อมูลต่างๆ เช่น สภาวะของประเทศ ผลผลิตทางการเกษตร
ตัวเลขการผลิต ฯลฯ สถิติเก่าๆ นั้นเป็นสิ่งที่มีค่า แต่จะต้องไม่มีอิทธิพลเหนือ
ข้อมูลในการสร้างมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ข้างหน้า คนที่ยึดติดกับสถิติเก่าๆ
มากเกินไปจะหลงทาง เคนนิ่งกล่าวว่า "there is nothing so fallacious as facts,
except figures."

ดังนั้น จึงควรเริ่มซื้อแต่น้อย เมื่อราคาหุ้นไต่ระดับขึ้นก็ค่อยๆ ซื้อเพิ่ม
อย่างเฝ้าระวัง เมื่อไรที่ราคาหุ้นปรับฐานลงจนชนต้นทุนเฉลี่ยเมื่อไร
ก็ควรขายหนีทันที เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุน ถ้าทำเช่นนี้ตลอดจะมีบางครั้ง
ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไป อย่างมาก ทำให้ได้กำไรมหาศาล ในครั้งนั้น
กลยุทธ์นี้มีความเสี่ยงต่ำ และเมื่อใดก็ตามที่สำเร็จจะได้กำไรสูง
ควรใช้กลยุทธ์ซื้อเฉลี่ยขาขึ้นเมื่อคาดว่าตลาดกำลังมีการเปลี่ยนแปลง
ครั้งสำคัญและในจังหวะที่คุณมีเงินทุนพอเพียงที่จะทำเช่นนั้น

Rule Conditional #4ในสถานการณ์ทั่วไป คำแนะนำของเราคือการซื้อ
ในครั้งเดียวให้ได้จำนวนที่เหมาะสมกับทุนที่มีอยู่ไปเลย การ Cut loss
หรือการ Take Profit ก็ให้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ หลักก็คือ Stop lossess
and let profits run. ถ้าหากกำไรขนาดเล็กเรา Take ได้ ขาดทุนขนาดเล็ก
เราก็ต้องกล้า Take ด้วย การขาดความกล้า ที่จะขาดทุน ขนาดเล็ก และ
การรีบร้อนเกินไปที่จะ Take Profit คือหายนะ มันทำให้เสียงานมามากแล้ว

Rule Conditional #5การซื้อขาลงต้องอาศัยกระเป๋าเงินที่ลึกและจิตใจที่มั่นคง
บ่อยครั้งที่ความหายนะมาเยือนผู้ที่มีทั้งสองสิ่ง ยิ่งจิตใจมั่นคง โอกาสที่จะถือหุ้น
ไว้นานเกินไปยิ่งมาก อย่างไรก็ดี มีคนจำพวกหนึ่ง ที่ประสบความสำเร็จ
ในการซื้อขาลงแล้วถือไว้เฉยๆ พวกนี้ซื้อทีละน้อย เข้าอย่างรอบคอบ และถือ
เอาไว้นานๆ พวกเขาเป็นคนที่ไม่รู้สึกถูกรบกวนใจเพราะความผันผวนของราคา
พวกเขา เป็นนักตัดสินใจ ซึ่งซื้อในยามที่ตลาดแย่มากๆ แล้วถือไว้จนธุรกิจ
พลิกฟื้นตัวได้ แบบนี้เป็นการลงทุนไม่ใช่การเก็งกำไร

Rule Conditional #6ความเห็นของตลาดนั้นจะละเลยไปเลยไม่ได้
เมื่อเกิดกระแสการเก็งกำไร เราควรเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด หลักก็คือ ตัดสินใจ
อย่างรอบคอบตลาดกระแสตลาด ถ้าจะสวนตลาดก็ให้ทำอย่างกล้าหาญ
การแห่ตามตลาดแม้ว่าทุกอย่างจะดูดีนั้นเป็นเรื่องที่อันตราย เมื่อทิศทาง
พลิกกลับเราจะลำบาก นักเก็งกำไรตระหนักดีถึงอันตรายของ "การมีเพื่อนมากเกินไป"
ในขณะเดียวกันก็ต้องรอบคอบอย่างยิ่งในการสวนตลาด ตลาดมีชีพจร
ที่นักเก็งกำไรควรวางมือของตนไว้บนข้อมือของตลาดแบบเดียวกับแพทย์
ชีพจรนี้คือสิ่งที่จะบ่งบอกเราว่าควรทำเช่นไรและเมื่อใด

คราวนี้ ขอกล่าวถึง Law Absolute ที่เหลืออีก 4 ข้อ ของ Dicksons G.Watts บ้าง

Law Absolute 1: Never Overtrade
การเปิดสถานะโดยมิประเมินทุนที่มีอยู่นำมาซึ่งหายนะ ความผันผวนที่รุนแรง
จะปั่นหัวของนักลงทุนทำให้การตัดสินใจผิดพลาดไปหมด

Law Absolute #2 : Never "Double Up"
ห้ามกลับสถานะทีเดียวทั้งหมดในทันที ตัวอย่างเช่น กำลัง long อยู่
ห้ามขายทิ้งหมดแล้วเปลี่ยนมา short ทันทีในปริมาณที่เท่ากัน ในบางครั้ง
การทำเช่นนี้อาจประสบความสำเร็จแต่นับว่าอันตราย หากตลาดพลิก
กลับมาขึ้นต่อ ใจกลับไปเก็งทิศทางเดิม นักเก็งกำไรจะทิ้ง short แล้วหันมา
long ใหม่อีกครั้ง ถ้าหากว่าหนนี้ผิดพลาด ความปั่นป่วนในใจจะเกิดขึ้น
ดังนั้นเมื่อต้องการกลับทิศทางควรทำทีละน้อยอย่างระมัดระวัง ทั้งหมด
ก็เพื่อรักษาความสามารถในการตัดสินใจของเราให้ปลอดโปร่งอยู่เสมอ
สร้างสมดุลของจิตใจ

Law Absolute #3 : Run Quickly or Not at All
ลงมือจัดการทันทีที่เห็นอันตรายเริ่มเคลือบคลานเข้ามาเป็นครั้งแรก
แต่หากพลาดที่จะลงมือแต่เนิ่นๆ จนกระทั้งคนอื่นในตลาดเห็นอันตรายนั้น
กันหมดแล้วก็จงอยู่เฉยๆ เหมือนเดิม หรือมิฉะนั้นก็ปิดสถานะเพียงแค่บางส่วน

Law Absolute #4: เมื่อลังเล ลดสถานะ
หากรู้สึกใจคอไม่ดีกับสถานะที่เปิดอยู่ หรือสถานะใหญ่เกินกว่าที่จะรู้สึกปลอดภัย
ชายคนหนึ่งบอกชายอีกคนหนึ่งว่า เขานอนไม่หลับเลย เพราะสถานะของเขา
ชายอีกคนตอบง่ายๆ ว่า "Sell down to a sleeping point."

กฏของ Watts นั้นมีอะไรที่ลึกซึ้งซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดเยอะ
หลายอย่าง เกิดจากประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก
ทำให้มือใหม่ อาจยังเข้าใจไม่ได้ ในทันที ลองค่อยๆ อ่าน
ทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ จะได้หลักการอะไรดีๆ หลายอย่าง
มาปรับใช้ให้เราอยู่ในตลาดได้อย่างคนฉลาดมากขึ้น

Monday, January 25, 2010

"Volcker Rule"

Obama ประกาศว่าอะไร

มาตรการที่ Obama ประกาศออกมานั้น มีอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ


การห้าม ไม่ให้สถาบันการเงิน ที่รับเงินฝาก คือ แบงก์

ไปมีธุรกรรมประเภท Hedge fund, Private equity fund

และ Proprietary trading ซึ่งเป็นการเอาเงินของตนเอง

ไปลงทุนในเครื่องมือทางการเงินที่เสี่ยงเพื่อแสวงหากำไร

ซึ่งกฏข้อนี้ Obama เรียกว่า Volcker Rule ตามเจ้าของ

แนวคิดคือคุณ Paul Volcker ซึ่งเป็นคนผลักดันในเรื่องนี้

มาตั้งแต่ต้น เป็นเวลา 1 ปีแล้ว



การออกเพดาน เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดการควบรวม

ในระบบสถาบันการเงิน ในสหรัฐมากจนเกินไป โดยที่จะมี

กฏว่าสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่สามารถที่จะมีขนาด

ฐานเงินฝากเกินกว่า 10% ของฐานเงินฝากทั้งประเทศ

และตรงนี้ จะรวมไปถึง เงินทุนประเภทต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือ

จากเงินฝากด้วย แต่รายละเอียด จะออกมาอีกที



นับเป็นความพยายามของ Obama ที่จะออกมาจัดการ

กับแบงก์และสถาบันการเงินรอบที่ 2 ภายในระยะเวลา

ไม่กี่สัปดาห์ หลังจากที่ได้ออกมา ประกาศขึ้นภาษี

สำหรับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ไปแล้วก่อนปีใหม่



ทำไมต้องทำอย่างนี้

ทั้งหมดนี้มีเหตุผล

หนึ่ง – ต้องการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตอีกรอบหนึ่ง
จากปัญหาเดิมๆ ที่ทำให้เกิดวิกฤตครั้งนี้ ที่สถาบันการเงิน
ใหญ่มาก และมีแนวโน้มที่จะควบรวมกันและใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
จนมีปัญหาที่เรียกว่า too big to fail คือใหญ่มาก
จนไม่สามารถปล่อยให้ล้มได้ และรัฐก็ไม่มีทางเลือก
เวลาที่เกิดปัญหา ก็ต้องมีกฏเกณฑ์ที่จะป้องกันไม่ให้
สถาบันการเงินมีขนาดใหญ่จนเกินไป

สอง – แบงก์เองก็ลงทุนในตราสารทางการเงินที่ซับซ้อนมาก
จนกระทั่งทำให้เกิดความเสียหายขึ้น และที่สำคัญที่ Obama
กังวลใจก็คือ แบงก์ต่างๆ รับเงินฝากด้วยดอกเบี้ยไม่แพงนัก
เพราะว่ามีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเงินฝากให้ หัวใจอยู่ตรงนี้
(รัฐบาลรับประกันเงินฝากให้) แต่แบงก์เอาเงินฝากที่ได้
ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างสุ่มเสี่ยง ที่อาจจะทำให้ล้ม
และเกิดความเสียหายได้ ทั้งผ่าน Proprietary Trading
และผ่าน Hedge fund และ Private equity ซึ่งถ้ากำไร
ก็เป็นโบนัส แต่ว่าถ้าขาดทุนก็จะเป็นความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นกับรัฐบาล

ตรงนี้ Obama เลยเสนอว่า ให้เลือกเอาว่า จะทำอะไร
ระหว่าง (1) เป็นสถาบันการเงินที่รับฝากเงินของประชาชน
หรือ (2) เป็นสถาบันการเงินที่ลงทุนในตราสารที่เสี่ยง
ซึ่งถ้าจะทำอย่างหลัง ก็ต้องให้เลิกรับเงินฝาก คือให้ทำ
อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น อันนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต
ซ้ำรอยขึ้นอีกในอนาคต และเพื่อคืนแบงก์ที่เน้นเรื่อง
การรับฝากเงิน การปล่อยสินเชื่อ และการให้บริการลูกค้า

สาม นอกจากนี้ ยังมีประเด็นทางการเมือง ที่ประชาชน
ไม่พอใจผู้บริหารของสถาบันการเงิน ที่มีการจ่ายโบนัส
ในช่วงที่ผ่านมา และเริ่มกลับไปทำอะไรที่เสี่ยงๆ อีกครั้ง
และประชาชนคิดว่าปัญหาครั้งที่แล้วมาจาก Wall street
เป็นสำคัญ โดยเฉพาะสถาบันการเงินใหญ่ ๆ ที่รัฐบาล
ไม่ควรเข้าไปอุ้ม ซึ่งในช่วงนี้ Obama กำลังที่จะตอบสนอง
กับข้อเรียกร้องของประชาชน และเริ่มเข้มงวดกับ
สถาบันการเงินมากขึ้น ทั้งเรื่องของการเก็บเพิ่มค่าธรรมเนียม
และการที่จะออกกฏเกณฑ์ที่เข้มงวดกับสถาบันการเงินเหล่านี้

ทั้งนี้ ตอนที่ออกมาประกาศแนวคิดเรื่องการปฏิรูปสถาบันการเงิน
รอบนี้ Obama บอกว่า รับไม่ได้กับการที่สถาบันการเงินบอกว่า
ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้กับ SME ไม่สามารถลดดอกเบี้ยให้กับ
บัตรเครดิต ไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มได้ แต่กลับสามารถ
จ่าย โบนัสจำนวนมากให้กับผู้บริหารได้ ทำให้ Obama ยิ่งตั้งใจ
ที่จะทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้

นัยคืออะไร

ตอนนี้ ยังเร็วไป ที่จะสรุปว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะกฏเกณฑ์
เหล่านี้ ต้องผ่านรัฐสภา และทางภาคแบงก์เอง ก็คงต่อสู้ดิ้นรน
กับเรื่องนี้อย่างเต็มที่

แต่จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ผลกระทบถ้าเกิดขึ้นจริง ก็จะส่งผล
ให้แบงก์ใหญ่ๆ ที่เข้ามา ควบรวมกับ กิจการวานิชธนกิจในช่วง
ที่ผ่านมา เช่น กรณีของ Bank of America และ Merrill Lynch
JP Morgan Chase ต้องเลือกเอาว่าจะทำธุรกิจอะไร และต้อง
แยกออกจากกันระหว่าง 2 ส่วน

หรือแม้แต่บางสถาบันการงินเช่น Goldman Sachs และ
Morgan Stanley ที่ได้จัดตั้ง Bank Holding Company ขึ้นมา
ก็จะต้องตัดสินใจว่าจะรักษา ฐานะของการเป็น Bank ไว้หรือไม่
เพราะว่า ธุรกรรม และรายได้หลักของทั้ง 2 องค์กรนี้ คือ
Investment banking แต่ว่าข้อเท็จจริงก็คือ อย่างกรณีของ
Goldman Sachs ในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ มีการรับเงินฝาก
แต่อย่างใด เพียงแต่ใช้ฐานะของการเป็น Bank holding company
ในการเข้าถึงการช่วยเหลือสภาพคล่องจาก Fed ในยามวิกฤต

ความจริงหลายคนมองว่าสำหรับ สถาบันการเงินเหล่านี้
กฏข้อนี้ จะทำให้กลับไปเป็นเหมือนกับก่อนวิกฤต คือ
กลับไปเป็นบริษัทหลักทรัพย์อีกรอบหนึ่ง และถ้าจะว่าไปแล้ว
กฏข้อนี้ที่เรียกว่า Volcker rule ก็คล้ายๆ กับกฏหมายด้านการเงิน
ฉบับหนึ่งที่เคยออกมาหลังจากช่วง Great depression คือ
กฏหมายที่เรียกว่า Glass Stellgall ที่กำหนดให้แบ่งแยกชัดเจน
ระหว่างแบงก์กับ investment banks ออกเป็นสองกลุ่ม
ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว กฏเกณฑ์ใหม่ข้อนี้
ก็คล้ายๆ กับกฏหมายฉบับดังกล่าว

นักวิเคราะห์คิดว่าอย่างไร และทางออกคืออะไร

สิ่งที่นักวิเคราะห์คิด ก็คือ

หนึ่ง – เร็วเกินไปที่จะฟันธงว่ารายละเอียดที่จะออกมาคืออะไร

และจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะว่าที่ Obama พูดเป็นเพียง

กรอบคร่าวๆ เท่านั้น ยังต้องไปตกลงในรายละเอียด

และกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินคงไม่ยอมแพ้

สอง – อาจจะไม่ตรงจุด เพราะปัญหาไม่ได้มาจาก

Propreitery trading และไม่ได้มาจากกลุ่มแบงก์

สาม – ปัญหาเรื่องการแข่งขัน สิ่งที่น่าสนใจก็คือ

ในการประกาศครั้งนี้ คนที่ยืนอยู่ข้างหลัง Obama คือ

Paul Volcker แทนที่จะเป็น Geithner และ Summers

ซึ่งไม่เห็นด้วยกับกฏเกณฑ์ข้อนี้ เพราะคิดว่าไม่ตรงจุด

และ ไม่อยากจะออกกฏเกณฑ์ที่จะทำให้แบงก์ในสหรัฐ

เสียความสามารถในการแข่งขัน กับแบงก์ในประเทศอื่นๆ

ความจริง ถ้ากลับไปดู ก็จะพบว่ากฏหมาย Glass-stellgall

ถูกยกเลิกไปตอนที่ Summer และ Geithner อยู่ที่

กระทรวงการคลังของสหรัฐ และทั้งคู่ดูเหมือนกับว่า

เข้าข้าง Industry มาก

ท้ายสุด – การออกกฏข้อนี้ในช่วงนี้ อาจจะเป็นเพราะประเด็น

ทางการเมือง ที่ Obama เริ่มถาม บ่อยขึ้นว่า ทำไมเรื่อง

too big too fail รัฐบาลจึงไปเข้าข้างพวก Wall street

และไม่อยู่ข้างเดียวกับประชาชนที่ไม่พอใจ ทำให้รัฐบาล

เริ่มหันมาเข้มกับอุตสาหกรมมากขึ้น เพื่อความได้เปรียบ

ทางการเมือง ซึ่งการแพ้เลือกตั้งที่รัฐแมสซาซูเซท

เป็นจุดสำคัญ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

ก็ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด ว่าศึกนี้ใครจะชนะ

แต่ประธานาธิบดีบอกแล้วว่าพร้อมจะสู้เต็มที่เรื่องนี้

น่าสนใจน่าติดตามมากครับ

Monday, January 18, 2010

พรอตรายย่อยรายหนึ่งเริ่มจากหลักแสนเป็น 5000 ล้านภายในแปดปี

คำแปลใน youtube นี้คือ He says;

"My recent shopping is only two Wiis.

I am not interested in spending money.

The cash that I have now is only 30,000 yen.

I don't see cash as much as possible.

Because cash obstructs my cool judgment.

I don't eat breakfast. A cup noodle is the

best for my lunch, because it is easy and

fast to eat. Market's rest time is too short

to take lunch, and full stomach makes me sleepy."


ทรัพย์สินของเขาเติบโตดังนี้

ปี 2000 1.6 ล้านเยน
สิ้นปี 2000 2.8 ล้านเยน
สิ้นปี 2001 61 ล้านเยน
สิ้นปี 2002 96 ล้านเยน
สินปี 2003 270 ล้านเยน
สิ้นปี 2004 1,150 ล้านเยน
สิ้นปี 2005 8,000 ล้านเยน
สิ้นปี 2006 15,700 ล้านเยน
สิ้นปี 2007 18,500 ล้านเยน
มกรา 2008 19,000 ล้านเยน

---Young Japanese Super Trader---

นักลงทุนรายย่อยคนนี้พึ่งจะอายุ 29 ปี แต่ทว่า

พอร์ตของเขามีมูลค่าสูงถึง 19,000,000,000 เยน

หรือประมาณ 5,700,000,000 บาท


หนุ่มคนนี้คือ Kotegawa Takashi

โดย มีชือเรียกอีก 2 ชื่อ คือ BNF
และ J-com otoko (นายเจคอม)


BNF เป็นชื่อที่เขาใช้เรียกตัวเอง
เวลาเขียนตอบกระทู้ในเว็บไซด์ 2 channel
(คล้ายกับ พันทิพย์ บ้านเรา)

ส่วน J-com otoko นั้น เป็นชื่อที่นักข่าวเรียกเขา
จากการที่เขาสามารถทำกำไร จากการเทรดหุ้น
j-com ประมาณ 600 ล้านบาท ภายในเวลาสิบกว่านาที
และทำให้เขามีชื่อเสียง รู้จักไปทั่วเพียงข้ามคืน


ชื่อของ BNF เป็นข่าวครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2005

เมื่อผู้รับชอบการซื้อขายหุ้นของ Mizuho Securities

ออกคำสั่งขายหุ้นของบริษัท เจ คอมผิดพลาด จาก

“ ราคา 6 แสน 1 หมื่น เยน / จำนวน 1 หุ้น” เป็น “

ราคา 1 เยน / จำนวน 6 แสน 1 หมื่น หุ้น ”


และเขาสามารถทำกำไร ได้ทันทีกว่า 600 ล้านบาท
ภายในเวลา สิบกว่านาที

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น หนุ่มน้อย BNF
( ขณะนั้น อายุ 27 ) ปรากฏโฉมเป็นครั้งแรก
ในรายการทีวี 'The Dawn of Gaia'
เมื่อวันที่ 28 กุมภา 2006

หนุ่มคนนี้เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนา 1978 ที่จังหวัด ชิบะ
เริ่มต้นเทรด จากการนำเงินที่สะสมได้ จากการ
ทำงานพิเศษ เมื่อสมัยเรียนมหาวิทยาลัยปี 3
ประมาณ 1 ล้าน 6 แสนเยน หรือ ประมาณ 5 แสนบาท
ไปเริ่มซื้อขายหุ้นเมื่อปี 2000 และ เมื่อถึงปี 2008
มูลค่าพอร์ตของเขา มีมูลค่าถึง 1 หมื่น 9 พัน ล้านเยน
หรือ ประมาณ 5,700 ล้านบาท

สไตล์การลงทุนของเขานั้น เขาใช้การเทรด
แบบ สวิงเทรด โดยเขาจะไม่สนใจค่า pe ฯลฯ เลย

เกี่ยวกับสไตล์การเทรดของเขานั้น เขาคุยเล่าให้ฟังว่า
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความเคยชินที่เกิดจากประสาทสัมผัส
และการมองภาพรวมโดยทั่วไปให้ทะลุประโปร่ง
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าสไตล์การลงทุนของเขาจะเป็น
แบบเดย์เทรด / ซื้อขายระยะสั้น เมื่อมีคนถามเขาว่า
ต่อไปแนวโน้มของหุ้นจะเป็นอย่างไร เขาตอบว่าไม่รู้
เพราะว่า ไม่เคยมองหุ้นในระยะยาวเลย

แต่ว่า เมื่อ พย.2007 เขาเล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มรู้สึก
ถึงข้อจำกัดของการซื้อขายระยะสั้นและ มีแผนการ
ที่จะใช้เงินประมาณ 8 พันล้านเยน หรือ ประมาณ
2400 ล้านบาท ไปลงทุนระยะยาวในหุ้นต่างประเทศ

สำหรับไลฟ์สไตล์ของนาย BNF นั้น
นอกเหนือจากการซื้อบ้านหรูรถหรูให้กับพ่อแม่เขา
และ ซื้อคอนโดหรูกลางกรุงโตเกียว เพื่อสำหรับ
เทรดหุ้นให้ตนเองแล้ว เขาไม่ได้ใช้จ่ายหรูหราอะไรเลย
และ มักจะเก็บตัวอยู่ในห้องคนเดียว อ่านการ์ตูน
เล่นเนต โดยไม่สุงสิงกับใคร

เขาเล่าให้ฟังว่า เพื่อที่จะสามารถรวบรวมสมาธิ
ในการเทรดหุ้นได้เต็มที่ ดังนั้นมื้อกลางวันของเขา
จะกินเพียงแต่มาม่าเท่านั้น เพราะว่าจะไม่อิ่มเกินไป
หลายคนเรียกเขาว่าเป็น โอตะกุ

แต่สำหรับนายBNF แล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำปรามาสใดๆก็ตาม
เขาไม่เคยแสดงอาการโกรธออกมา เพียงแต่แค่พูดสั้นๆว่า
“อีกแล้วเหรอ” เท่านั้น โอตะกุเป็นมนุษย์พันธ์ใหม่ของญี่ปุ่น
เป็นคนที่บ้าอะไรสักอย่างมากๆ เช่น บ้าเกมส์ บ้าการ์ตูน บ้าเนต

โอตะกุจะมีลักษณะที่สังเกตได้ง่าย คือ พวกเขาจะไม่สนใจแฟชั่น
จะแต่งตัวง่าย ใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์ พูดคุยกับคนปกติ ไม่รู้เรื่อง
แต่ในกลุ่มโอตะกุด้วยกันแล้ว สามารถคุยในเรื่องราวที่พวกเขาสนใจได้
อย่างออกรสชาติ เงินที่ได้มาส่วนใหญ่ จะหมดไปกับสิ่งที่พวกเขาสนใจ
และส่วนใหญ่มัก ไม่สนใจเพศตรงข้าม ทำให้ไม่มีแฟน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.stock2morrow.com/forums/showthread.php?t=9675

Monday, January 4, 2010

มองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2010

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาครัฐบาลและภาคเอกชนต่างคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทย

ในปี 2010 จะขยายตัวประมาณ 3-4% แปลว่าการหดตัว

ที่เกิดขึ้นในปีนี้ (3%) จะตีกลับมาในปีหน้าหรืออีกนัยหนึ่ง คือ

เศรษฐกิจในปี 2010 จะกลับไปใกล้เคียงกับปี 2008 ในภาพใหญ่

(วัดจากระดับของจีดีพี) แต่จะต่างกันไปในแต่ละภาคธุรกิจ

และอุตสาหกรรม เช่นปี 2010 หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

(จาก 38% เป็นกว่า 50% ของจีดีพี) ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ขายสินค้า

และบริการให้กับรัฐบาล ก็น่าจะฟื้นตัวได้ดีกว่าส่วนอื่นๆ เป็นต้น


โดยรวมแล้วการที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 3-4% นั้น

ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากเพราะในอดีตเศรษฐกิจไทยสามารถ

ขยายตัวได้ 6-7% ต่อปีอย่างต่อเนื่องในปีที่เศรษฐกิจโลก

ฟื้นตัวเช่นที่คาดการณ์กันเอาไว้ในปีหน้านั้น เศรษฐกิจไทย

น่าจะสามารถขยายตัวได้ 5-6% แต่ทำไมการคาดการณ์

ส่วนใหญ่จึงต่ำกว่าระดับดังกล่าวอย่างมาก คำตอบคือ

ความไม่แน่นอนว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหามาบตาพุดให้สำเร็จ

ลุล่วงโดยเร็วจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุน

ของไทยในอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งย่อมจะส่งผลต่อการดึงดูด

การลงทุนในอนาคตในอุตสาหกรรมปลายน้ำต่างๆ

และจะส่งผลเป็นตัวต่อธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ทั้งการก่อสร้าง

การจ้างงาน การใช้จ่ายของประชาชน ฯลฯ


ในอีกด้านหนึ่ง คือ ปัญหาความแตกแยกทางการเมือง

ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันทั้งในสภา (การอภิปรายไม่ไว้วางใจ)

และนอกสภา (การเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลของคนเสื้อแดง)

ตลอดจนการจะต้องปรับ ครม. ที่ล้วนจะทำให้ขาดความชัดเจน

ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนต้องการเพิ่มความระมัดระวัง และชะลอการลงทุน


อย่างไรก็ดี ดูเสมือนว่าปัญหาต่างๆ ของไทยนั้น

น่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์

และหากมีปัญหายืดเยื้อก็น่าจะมีความชัดเจนตั้งแต่กลางปี

เป็นต้นไป ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าครึ่งหลังของปีหน้า

จะมีความชัดเจนมากกว่าครึ่งแรกของปี ทั้งนี้ ผมมิได้ต้องการ

จะขัดแย้งกับคำทำนายของโหรหรือหมอดูแต่อย่างใด กล่าวคือ

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยมีความเป็นไปได้มากว่าครึ่งแรก

จะมีความเสี่ยงและมีความไม่แน่นอนสูงจากปัจจัยลบภายในประเทศ

แต่ครึ่งหลังเหตุการณ์สามารถคลี่คลาย ทำให้บรรยากาศดีขึ้นตามลำดับ


ตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่า

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยิ่งมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในปี 2010

แม้ว่าจะยังต้องพึ่งพาแรงกระตุ้นจากภาครัฐ พร้อมกับนโยบาย

การเงินที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง โดย เศรษฐกิจประเทศ

พัฒนาแล้วจะกระเตื้องขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (คือ เศรษฐกิจสหรัฐ

ขยายตัว 3% ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นขยายตัว 1-2%)

และเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาหลัก อาทิเช่น จีนและอินเดีย

จะขยายตัว 7-10% แต่ข้อสังเกตของผมคือ การขยายตัวดังกล่าว

หากเป็นจริงก็จะทำให้เกิดเงื่อนไขในครึ่งหลังของปี ว่า

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จำเป็นจะต้องเริ่มผ่อนคลาย

ลงมากน้อยเพียงใด หมายความว่า สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว

ที่ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยลงใกล้ศูนย์ ก็จะต้องเริ่มปรับนโยบาย

เป็นขึ้นดอกเบี้ย และลดมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ

(quantitative easing) อาทิเช่น เมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ว่า

ธนาคารกลางยุโรปจะต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25%

ในเดือนมิถุนายน ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐก็กำหนดว่า

จะยกเลิกมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบเกือบทั้งหมด

(เว้นแต่การซื้อตราสารหนี้ค้ำประกันด้วยอสังหาริมทรัพย์ค้ำ

มูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์) ภายในครึ่งแรกของปี 2010

นอกจากนั้น ยังเห็นได้ว่าผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยพันธบัตร

ระยะยาวของสหรัฐ กำลังปรับขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการสะท้อน

การคาดการณ์ของนักลงทุน ว่า เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

ทำให้เชื่อได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต


สำหรับประเทศกำลังพัฒนาหลัก อาทิเช่น จีน และอินเดีย

ก็จะเห็น เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องใน

ครึ่งแรกของปี 2010 เพราะการฟื้นตัวของการส่งออก

(จากการฟื้นตัวของอุปสงค์จากประเทศพัฒนาแล้ว) ประกอบ

กับแรงกระตุ้นภายในประเทศที่ยังมีแรงเหวี่ยง (momentum)

ต่อเนื่องจากปีนี้ แต่การขยายตัวที่ร้อนแรงดังกล่าวจะกลาย

เป็นความกังวลใจว่าปัญหาฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์กำลัง

ก่อตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเทศจีนยังตรึงค่าเงิน

หยวนกับดอลลาร์ที่อัตราปัจจุบัน หมายความว่าในครึ่งหลัง

ของปีหน้านักลงทุนอาจหันมาเป็นห่วงว่ารัฐบาลจีน

(และรัฐบาลประเทศเอเชียอื่นๆ) จะต้องออกนโยบายเพื่อ

ชะลอเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด และมาตรการดังกล่าว

จะกระทบต่อตลาดหุ้นมากน้อยเพียงใด


ในทำนองเดียวกันในครึ่งแรกของปีหน้าการฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว จะเป็นที่พึงพอใจ

ของนักลงทุน แต่ในครึ่งหลังของปีก็อาจมีความเห็น

แบ่งกันเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าภาครัฐจะต้อง

กระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป เพราะการฟื้นตัวของภาคเอกชน

ยังไม่มั่นคงเพียงพอ และไม่อยากให้กลัวปัญหาเงินเฟ้อ

แต่อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อ และ

การใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ ทั้งนี้ สิ่งที่จะเป็นเครื่องตัดสิน

คือข้อมูลในขณะนั้น อาทิเช่น การเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อ

และปัญหาฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ในภูมิภาคเอเชีย จึงสรุปได้ว่าแนวโน้มของการลงทุน

ในภาพรวมของโลกจะสดใสมากในครึ่งแรกของปี

แต่ความไม่แน่นอนและข้อกังวลต่างๆ น่าจะมีเพิ่มขึ้น

ในครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ จะยังมีความเสี่ยงข้างเคียงอื่นๆ

อาทิเช่น ปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศ

ขนาดเล็ก อาทิเช่น ดูไบและกรีซ และปัญหาการกีดกัน

ทางการค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเผชิญกับปัญหา

การว่างงานที่รุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา

ที่จะมีการเลือกตั้งในปลายปีหน้าและอังกฤษ ซึ่งนายกรัฐมนตรี

น่าจะต้องประกาศยุบสภาเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010 เช่นกัน

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2553

คอลัมน์ นอกรอบ โดย นิตินัย ศิริสมรรถการ dr.nitinai@gmail.com

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4171









ปีวัว (2552) กำลังจะผ่านไป ปีเสือ (2553) กำลังจะเข้ามา

เป็นยังไงกันบ้างครับ ท่านผู้อ่าน ปีที่กำลังจะผ่านไปนี้ช่างมี

ความผันผวน หรือเรื่องไม่คาดฝันทางเศรษฐกิจกันเยอะ

เหลือเกินใช่ไหมครับ ตั้งแต่ปลายปีก่อนคาบเกี่ยวจนถึงต้นปีนี้

โลกเรา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยเราต้องเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจ

ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลกครั้งหนึ่งเลยทีเดียว

เมื่อประกอบกับปัญหาทางการเมืองที่รุมเร้าภายในประเทศเรา

เป็นการเฉพาะแล้วทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยเราทรุดดิ่งเหว

กันไปตาม ๆ กัน ...พอมาถึงราวเดือน เม.ย. 52 อยู่ ๆ ก็ดูเหมือน

เศรษฐกิจโลกรวมถึงเศรษฐกิจบ้านเรากลับดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา

เล่นเอาหักปากกาเซียนไปหลายคนว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่

ดูเหมือนว่าจะยืดเยื้อยาวนาน น่าจะจบลงในระยะเวลาอันสั้น

จนหลาย ๆ ฝ่ายออกมาบอกว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

จะเป็นรูปตัว V กล่าวคือ โลกเราจะมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

อย่างรวดเร็ว...พอมาปลายปีเรื่องราวกลับพลิกผันอีก...

กรณี Dubai World ที่มีการเลื่อนการชำระหนี้ก็ดี หรือกรณี

ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศกรีซที่ทำให้บริษัทจัดอันดับ

ความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ต้องลดอันดับความน่าเชื่อถือ

กรีซลงก็ดี กลับชี้ให้เห็นกันว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ว่า

คงไม่ใช่เป็นรูปตัว V เสียแล้วกระมังครับ.. ตอนนี้แบงก์ชาติ

บางประเทศก็เริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบายกันแล้ว (ซึ่งแสดงว่า

เศรษฐกิจประเทศเขาเริ่มร้อนแรงจนต้องมีนโยบายการเงิน

มาลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และ/หรือ เงินเฟ้อ)

ในขณะที่บางประเทศ (เช่นกรณี ดูไบ หรือกรีซ) ยังมีสัญญาณ

การทรุดตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง... อ้าว สรุปแล้วมันยังไง

กันแน่ครับ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจบ้านเรามันจะฟื้นหรือ

ไม่ฟื้นกันแน่ครับ ? นั่นสิครับ นี่คงเป็นคำถามใหญ่สำหรับเศรษฐกิจ

ปีหน้าครับ เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงมากหลังจากวิกฤตครั้งนี้

แถมปัจจัยภายในประเทศเราก็มีแต่ความไม่แน่นอน ปีหน้าคงผันผวน

เอาเสียมาก ๆ จริง ๆ ครับ


เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงยังไงหรือครับ...ลองมาดูกันครับ...

ประเทศอเมริกาต้นตอของปัญหาวิกฤตการเงินโลกครั้งนี้

ทุกคนก็ต้องยอมรับว่า เขาเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ของโลก โดยมีขนาดเศรษฐกิจราว 1 ใน 5 ของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด

ความมั่งคั่งของประเทศนี่ ไม่ต้องพูดถึงครับ ก่อนจะเจอวิกฤต

เขามีความมั่งคั่งรวมถึง 64 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ

2.1-2.2 พันล้านล้านบาท ขนาดเศรษฐกิจไทยเราประมาณ 10 ล้านล้านบาท

นั่นหมายถึงว่าเท่ากับ GDP ไทยเรา 200 กว่าปีครับ ...

พอเขาเจอวิกฤตความมั่งคั่งของเขาหายไป 14 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.

หรือเท่ากับ GDP ของเขาประมาณ 1 ปีพอดี...

เจอวิกฤตครั้งนี้ คนอเมริกันจนลงเยอะเลยนะครับ...ปกติเมื่อก่อน

ถ้าเรารวย ๆ อยู่ เคยใช้เงินฟุ่มเฟือย พออยู่ ๆ เราจนขึ้นมา

เราจะเป็นยังไงกันบ้างครับ ? ที่เคยฟุ้งเฟ้อก็ต้องเลิกฟุ้งเฟ้อกันใช่ไหมครับ ..

คนอเมริกันก็เป็นคนครับ ก็ไม่ต่างจากเรา เมื่อก่อนเค้ามีรายได้ 100 บาท

เขาออมกันประมาณบาทเดียว ตอนนี้ต่างแล้วครับ หลังจากวิกฤต

เขาออมกัน 4-5 บาทแล้วครับ (สูงสุดในรอบราว 30 ปี) ก็เป็นธรรมดาครับ

ความมั่งคั่งหายไปมาก ก็ต้องเริ่มอดออมสร้างฐานะกันใหม่ครับ



ออมกันเยอะ ก็หมายความว่าบริโภคกันน้อย...การบริโภคที่น้อยลงนี้

จะทำให้เราคาดหวังว่าเราจะส่งออกไปอเมริกาได้มากเหมือนเดิม

คงไม่ได้แล้วหละครับ...พวกรวยเก่าไม่ใช่เฉพาะประเทศอเมริกา

แต่หมายถึงในอีกหลาย ๆ ประเทศ ทั้งอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ที่เคยเป็น

ตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจโลกที่สำคัญหมดสตางค์กันแล้ว

และคงจนกันไปอีกนานครับ...แล้วอย่างนี้ ตอนนี้เศรษฐกิจโลก

มันฟื้นขึ้นได้ยังไงครับ ? คำตอบกำปั้นทุบดินก็คือ โลกเราต้องมี

ผู้นำทางเศรษฐกิจใหม่น่ะสิครับ...ประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market

: EM) ครับ ที่นำเศรษฐกิจโลกอยู่ตอนนี้

(ดูกราฟ)


บทความวิจัยของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธ.ไทยพาณิชย์

(SCB EIC) เขาทำไว้น่าสนใจครับ SCB EIC ได้วิเคราะห์ไว้ว่า

ตั้งแต่หลังวิกฤตการเงินโลกเป็นต้นไป Landscape ทางเศรษฐกิจโลก

จะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว กลุ่มประเทศที่จะเป็นผู้นำในการฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตเศรษฐกิจ จะเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

(Emerging Markets) มากกว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนา (Developed Markets)

ครับ การเปลี่ยนแปลงใน Lanscape นี้จะทำให้มีการเปลี่ยน

ในกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกทั้งสินค้าและบริการของไทย

จาก Electronic Products และ Garment ที่เคยนำตลาด

จากการนำเข้าของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว มาเป็นอุตสาหกรรม

Electronic Products, Rubber และ Auto Parts ที่จะส่งออก

ไปยังประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น ในทางกลับกัน พึงต้องจับตา

มองการปรับตัวของอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมที่เคยพึ่งพิง

ตลาดประเทศกลุ่มที่พัฒนาแล้วและไม่สามารถเจาะกลุ่มตลาด

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้ เช่น โรงแรมระดับ 4-5 ดาว

ที่ในปีหน้า (2553) อาจจำเป็นต้องมีการแข่งขันด้านราคาสูง

เพื่อกระตุ้นอัตราการเข้าพักที่สูงขึ้น โดยเราคาดว่าในปีหน้า (2553)

ราคาห้องพักของโรงแรมระดับ 4-5 ดาวจะปรับตัวลงมาในระดับ

ที่สูงกว่าโรงแรมระดับ 3 ดาวไม่มากอย่างในปัจจุบันครับ...

ในทางกลับกัน ก็มีอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมที่เมื่อก่อน

ประเทศพัฒนาไม่ได้ต้องการมากนัก แต่ปัจจุบันเป็นที่ต้องการ

ของประเทศกำลังพัฒนาอย่างมาก เช่น น้ำมันดิบ ยางพารา

ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ อุตสาหกรรมพวกนี้จะเป็นอุตสาหกรรม

ดาวเด่นทั้งด้านยอดขายและราคา...ลองจับตาดูกันไว้นะครับ


ลองมาดูเศรษฐกิจในประเทศบ้างนะครับ สำหรับเศรษฐกิจ

ภายในประเทศแล้ว SCB EIC คาดว่าปี 2553 เศรษฐกิจไทย

จะขยายตัวได้ในระดับ 3.5% - 4.0% โดยมีโอกาสที่จะขยายตัว

อยู่ในระดับประมาณ 3.7% ซึ่งสิ่งที่น่าสังเกต คือในการขยายตัว

3.7% นี้จะมาจากแรงขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม และภาคที่เกี่ยว

เนื่องกับอุตสาหกรรมถึง 1.8% และ 0.8% ตามลำดับ...

ตรงนี้น่าสนใจครับ เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงถึง 40%

และภาคที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมมีสัดส่วนถึง 25% ในเศรษฐกิจไทย

จึงไม่น่าแปลกที่การขยายตัวของเศรษฐกิจปีหน้าที่ระดับประมาณ 3.7%

จึงจะถูกขับเคลื่อนจาก 2 ภาคนี้รวมกันถึง 2.6% ดังนั้นเราคงต้องจับตา

ดูปัญหามาบตาพุดซึ่งจะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด

ต่อไปนะครับ ถ้าปัญหานี้ยืดเยื้อหรือขยายวงกว้าง โอกาสที่เศรษฐกิจไทย

จะทรุดตัวไม่เป็นไปอย่างที่หลาย ๆ ฝ่ายคาดก็มีมากครับ


ลองมาดูด้านราคากันบ้างครับ เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation)

เฉลี่ยในปี 2553 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.0% ส่วนเงินเฟ้อทั่วไป

(Headline Inflation) เฉลี่ย 2.5% โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไป

จะปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนในเดือนธันวาคม 2552 น่าจะไต่ระดับ

ขึ้นไปถึงราว ๆ ใกล้เคียง 4% และน่าจะอยู่ในระดับประมาณนี้

ไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลัก

2 ประการได้แก่

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 อยู่ในระดับต่ำ

และ 2.การปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ซึ่งคาดว่าหลังปีใหม่น่าจะเริ่มปรับตัว

เพิ่มขึ้นอีกรอบหนึ่งครับ


สำหรับอัตราดอกเบี้ย ก็คาดว่า ธปท.ยังคงน่าจะคงนโยบาย

อยู่ในระดับนี้ไปจนถึงครึ่งหลังของปี 2553 ทั้งที่ล่าสุด

ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์เงินเฟ้อค่อนข้างสูง

ในช่วงไตรมาสนี้ และไตรมาสหน้า จากเหตุผลที่กล่าวข้างต้นครับ

แต่จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ผ่านมา

ยังไม่มีสัญญาณการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต

อันใกล้แต่อย่างใด ซึ่งโดยปกติแล้วหากแบงก์ชาติรู้ว่าเงินเฟ้อ

กำลังจะมา เขาก็จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นเพื่อสกัดกั้น

เงินเฟ้อไว้ก่อนครับ แต่นี่แบงก์ชาติคงเห็นว่าเงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้น

ในช่วงไตรมาสนี้ ไตรมาสหน้าจะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวกระมังครับ

จึงไม่มีความกังวลมากถึงกับต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว


สุดท้ายครับ คงหนีไม่พ้นแนวโน้มค่าเงินบาท...แม้ช่วงเดือน ธ.ค. 2552 นี้

ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. จะเริ่มกลับมาแข็งตัวขึ้นบ้างจากความกังวลต่าง ๆ นานา

ทั้งกรณีปัญหา ดูไบเวิลด์ ปัญหาประเทศกรีซ รวมไปถึงการที่เริ่มมีเงินไหลกลับ

เข้าประเทศสหรัฐ เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ที่เริ่มขายจากกระบวนการประนอมหนี้

แต่ก็ยังคาดว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ. หลังจากปีใหม่ไปจนตลอดทั้งปียังอยู่ใน

ทิศทางอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. นี้เอง

จะส่งผลให้แนวโน้มค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องไปในปี 2553

ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่ต่ำจนเกือบเป็นศูนย์

ประกอบกับการอัดฉีดเม็ดเงินอย่างมหาศาลจากธนาคารกลางสหรัฐ

รวมทั้งการขาดดุลงบประมาณการคลังในระดับสูงในปีที่ผ่านมา และจะต่อเนื่อง

ไปยังปีที่กำลังจะมาถึงครับ


สรุปกันเลยดีกว่าครับ...สรุปแล้วปีหน้าแม้ GDP ไทย

จะพลิกฟื้นกลับจากการติดลบกว่า -3.0% มาเป็นบวก

เกือบ 4.0% ได้ แต่ต้องยอมรับครับ ว่าเศรษฐกิจไทย

พึ่งพิงแรงขับเคลื่อนจากไม่กี่แหล่ง ?. แหล่งในประเทศ

ก็พึ่งพิงการอัดฉีดเงินจากรัฐบาล และหากดูฝั่งการผลิต

ก็พึ่งพิงภาคอุตสาหกรรมและภาคที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม

...ประเทศเราทะเลาะกันจนบ้านเมืองไม่ไปไหนครับ...

ปีหน้าความอึมครึมในประเทศทั้งปัญหาด้านข้อกฎหมาย

ทั้งปัญหากีฬาสี ก็ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงกดดันเศรษฐกิจเราอยู่

อย่างต่อเนื่อง...เมื่อหันไปดูภาคต่างประเทศ...เศรษฐกิจโลก

ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เศรษฐกิจโลกเริ่มเห็นสัญญาณ

ชัดเจนของการเปลี่ยนขั้วผู้นำทางเศรษฐกิจ จากประเทศ

มหาอำนาจเก่า มาเป็นประเทศกำลังพัฒนา...ประเทศเรา

เป็นประเทศที่มีการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจสูงกว่า 100%

ของ GDP จึงเลี่ยงไม่ได้ที่เศรษฐกิจเราจะผันผวนไปตาม

เศรษฐกิจโลกครับ...ปีหน้าความผันผวนยังมีต่อไปครับ...

พี่น้องชาวไทยจะลงทุนอะไรผมว่าคงต้องพิจารณาเลี่ยง ๆ

การลงทุนที่กล้าได้กล้าเสีย (high risk high return) หน่อยนะครับ

ปลอดภัยไว้ก่อนครับ สวัสดีปีใหม่ ขอให้ทุกคนรวย ๆ สุขภาพกาย
สุขภาพจิตแข็งแรงครับ

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ปี 2553 รุ่ง หรือ ร่วง

โดย บรรยง วิเศษมงลชัย
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด


หากมีคนถามว่าปี 2553 ที่จะถึงนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย

จะดีกว่าปี 2552 หรือไม่ ถ้าให้ตอบตามความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป

ก็อาจบอกได้ว่าไม่ค่อยดีเท่าที่ควร แต่ก็ไม่มีใครฟันธงได้ว่าที่ไม่ดีนั้น

เพราะอะไร เพื่อให้การตอบคำถามนี้มีเหตุผลยิ่งขึ้น เราลองมาดูปัจจัย

สำคัญที่มีผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์กันดีกว่า


หมายเหตุ : เศรษฐกิจโลก หมายถึง เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
ที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น,
จีน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮ่องกง, ทวีปออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม,
เกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์, อินเดีย และไต้หวัน
ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก พอสรุปได้ ดังนี้

1. คาดการณ์ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2553
จะดีกว่าปี 2552 ค่อนข้างชัดเจน
2. การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนปี 2553 ดีขึ้นกว่าปี 2552
ค่อนข้างมากเช่นกัน อีกทั้งการส่งออกก็มีแนวโน้มที่ดีกว่าปี 2552
3. อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ของธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 1.50% เท่านั้น และ
ยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งเพียงพอ
ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะนี้
4. เศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มฟื้นตัว
แม้จะมีปัจจัยลบในเรื่องของราคาน้ำมัน ที่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น
ถึง 80 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2553 แต่ก็เป็นไปตามการคาดการณ์
ของประเทศต่าง ๆ อยู่แล้ว
ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2553 จึงมีทิศทางที่ดีกว่าปี 2552
ด้วยเหตุผลว่ามีปัจจัยบวกหลาย ๆ ปัจจัย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ
กับช่วงเริ่มต้นของปีที่ผ่านมาแล้ว นับว่าปี 2553 ดีกว่ากันมาก
อีกทั้งโดยพื้นฐานของสังคมชาวเอเชียยังถือว่า การมี “ที่อยู่อาศัย”
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ รวมทั้งยังบ่งบอกถึง
ความสำเร็จและความภาคภูมิใจในชีวิต ทุกคนจึงต้องการมีบ้าน
เป็นของตนเอง และไม่น่าแปลกใจเลยว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์
ของเอเชียจะ “บูม” มากกว่าตลาดอื่น ๆ
จากเหตุผลทั้งหมดคงพอจะฟันธงได้ว่า ปี 2553
ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยดีกว่าปี 2552 อย่างชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตามยังประมาทไม่ได้!!
เพราะสิ่งที่ไม่คาดคิดอาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ
อีกทั้ง ตามข้อมูลที่ได้รับ พบว่าการซื้อ-ขายคอนโดมิเนียม
ในปัจจุบันก็เริ่มที่จะมีการเก็งกำไรกันบ้างแล้ว แม้จะไม่มากมายนัก
ซึ่งก็หวังว่า วงการอสังหาริมทรัพย์ของเราจะช่วยกันดูแล
อย่าปล่อยให้มีการเก็งกำไรจนส่งผลเสียหายในภาพรวม
เพราะตลาดอสังหาฯ ปีหน้าที่หวังว่าจะ “รุ่ง”
อาจจะกลายเป็น “ร่วง” ได้เช่นกัน

วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก 2010

เอกสารนำเสนองาน iZen ครั้งที่ 3
วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก 2010
December 17, 2009

งานเสวนา iZen ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2552

มีการบรรยายสองหัวข้อ ได้แก่ วิเคราะห์ภาพรวม

เศรษฐกิจโลกปี 2010 (Update Global Economy Outlook 2010)

และ ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในทศวรรษหน้า


เอกสารนำเสนอหัวข้อ Update Global Economy Outlook 2010

โดยคุณสุรศักดิ์ ธรรมโม นักเศรษฐศาสตร์ประจำ SIU

http://s3.amazonaws.com/ppt-download/siu-updateglobaleconomyoutlook2010-091217002649-phpapp02.pdf?Signature=Bt2FR%2BdKNdmuUhSwc%2FdJXlQTSh4%3D&Expires=1262595006&AWSAccessKeyId=AKIAJLJT267DEGKZDHEQ

เผย 'ปัจจัยเสี่ยง'ที่ต้องจับตาใน'เอเชีย'ปี2010 (4)

**ความระส่ำระสายทางสังคมยังคุกรุ่น**

นักวิเคราะห์จำนวนมากเคยคาดการณ์ว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลก

คราวนี้จะทำให้เกิดความไม่สงบอย่างขนานใหญ่ในหลายๆ ประเทศ

ทั่วโลก โดยอาจรุนแรงถึงขั้นมีการโค่นรัฐบาลลงด้วย แต่พวกเขา

ทำนายผิดไปถนัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่ว่าคณะผู้นำของจีน

จะสั่นคลอนเนื่องจากเกิดเหตุความไม่สงบอย่างรุนแรง เพราะความจริง

ปรากฏให้เห็นแล้วว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น


กระนั้นก็ตาม ตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ภาวะการว่างงาน

ย่อมเป็นตัวชี้วัดที่จะเดินตามล้าหลังตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอื่นๆ

ดังนั้น กระทั่งเมื่อเศรษฐกิจโลกทำท่าก้าวพ้นวิกฤตร้ายแรงได้แล้ว

ประเทศจำนวนมาก ก็ยังจะมีตัวเลขคนว่างงานในระดับสูง

และปัญหาความระส่ำระสายทางสังคมยังคงเพิ่มทวีขึ้น


ในอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่อาจเป็นชนวนก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นมา

ได้เช่นกัน ก็คือภาวะเงินเฟ้อในราคาอาหารและราคาเชื้อเพลิง

ในช่วงที่เกิดวิกฤตทั่วโลกนั้น ภาวะลำบากย่ำแย่จากวิกฤต

คือตัวเบรกไม่ให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งทะยานโลดลิ่ว

แต่ในเมื่อเศรษฐกิจโลกกลับฟื้นตัวแล้วเช่นนี้ ราคาอาคาร

และเชื้อเพลิงจึงมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเช่นกัน


*สิ่งที่ต้องจับตามอง

--สถานการณ์ที่จะถึงขั้นเป็นความวิบัติหายนะ สำหรับตลาดการเงิน

ทั้งหลาย ก็คือ เกิดความไม่สงบ ของมวลชนทั่วทั้งประเทศจีน

ถึงขั้นมีอันตรายที่รัฐบาลจะถูกโค่นล้ม ทว่าพวกนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่

มองว่า ความเป็นไปได้ในปี 2010 ที่จะเกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้นนั้น

มีน้อยสุดๆ กระนั้นก็ตาม เพียงแค่เกิดความไม่สงบพุ่งแรงขึ้นมาในจีน

ก็น่าจะทำให้พวกนักลงทุนสั่นสะท้านแล้ว

--อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไทย, และเวียดนาม เป็นตลาดเศรษฐกิจ

เฟื่องฟูใหม่รายสำคัญอื่นๆ นอกเหนือจากจีน หากเกิดความไม่สงบ

ในตลาดเหล่านี้ ก็อาจขัดขวางการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และยิ่งถ้า

ความไร้เสถียรภาพลุกลามออกไป ก็ย่อมจะส่งผลลบ

ต่อตลาดการเงินในปี 2010


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 มกราคม 2553 11:17 น.

เผย 'ปัจจัยเสี่ยง'ที่ต้องจับตาใน'เอเชีย'ปี2010 (3)

**ปัญหายืดเยื้อในอัฟกานิสถาน-ปากีสถานเริ่มทำให้นักลงทุนวิตก**

ความไร้เสถียรภาพ อย่างยืดเยื้อ และความรุนแรง

ที่แผ่ขยาย ในอัฟกานิสถาน และปากีสถาน

แม้จะดำเนินมานานนับปี แต่ยังไม่เคยเป็นประเด็นสำคัญ

ที่พวกนักลงทุนต้องคอยเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิดมาก่อน

ทว่าสถานการณ์อาจเปลี่ยนไปในปี 2010 เนื่องจาก


ประการแรก สหรัฐฯจะมีการเลือกตั้งกลางสมัย (ที่มีการ

เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภา, วุฒิสมาชิก

ราวหนึ่งในสาม, ผู้ว่าการมลรัฐราวหนึ่งในสาม)

ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมาก

ต่อการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีโอบามา

ในระยะต่อไป ดังนั้น ด้วยการที่ยังมีความเป็นไปได้

ที่สหรัฐฯ อาจจะประสบ ความพ่ายแพ้ในสงคราม

อัฟกานิสถานในทางเป็นจริงในปี 2010 นี้ ยุทธศาสตร์

ของโอบามาในสงครามนี้ จึงอาจกลายเป็นประเด็น

แกนกลางของการรณรงค์หาเสียงกลางสมัยไปก็ได้

โดยที่ถ้าผลของสงครามน่าหดหู่เอามากๆ พรรคเดโมแครต

ของเขาอาจไม่เพียงสูญเสียเสียงข้างมากในวุฒิสภาเท่านั้น

หากถึงขั้นสูญเสียเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรไปด้วยทีเดียว


ประการที่สอง การเลือกตั้งสภาล่างของอินเดียในปี 2009

ซึ่งพรรคคองเกรสได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด นับเป็นข่าวดี

เรื่องหนึ่งสำหรับพวกนักลงทุน กระนั้นก็ตาม ความรู้สึก

มองโลกแง่ดีเช่นนี้อาจจะสั่นคลอนได้มากๆ ถ้าพวกหัวรุนแรง

ที่ตั้งฐานอยู่ในปากีสถาน ก่อเหตุยั่วยุให้อินเดียกับปากีสถาน

เกิดการประจันหน้ากันขึ้นมาอีก หลังจากที่ได้เปิดการโจมตี

อย่างนองเลือดในนครมุมไบมาแล้วเมื่อปี 2008


ทั้งนี้ พวกนักวิเคราะห์คาดว่ากลุ่มอัลกออิดะห์และพันธมิตร

กำลังพยายามอีกครั้งที่จะจุดชนวนความขัดแย้งระหว่างอินเดีย

กับปากีสถานซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านกันและต่างก็มีอาวุธ

นิวเคลียร์ทั้งคู่ นอกจากนั้นรัฐบาลปากีสถานซึ่งมีฐานะอ่อนแอมาก

และกำลังเผชิญกับภัยคุกคามหลายด้าน ก็อาจมีเหตุผลของตนเองด้วย

ที่จะชักพาประชาชนให้พุ่งความโกรธกริ้วไปที่อินเดีย


*สิ่งที่ต้องจับตามอง

--แผนการเพิ่มกำลังทหาร ในอัฟกานิสถานของโอบามา

จะทำให้สถานการณสงครามเปลี่ยนไปหรือไม่ หรือว่านโยบาย

ต่ออัฟกานิสถานของเขา จะถูกมองว่าเป็นความล้มเหลว

ราคาแพง ซึ่งหากสถานการณ์เป็นไปในแบบหลัง คะแนนนิยม

ของเขาจะตกต่ำอย่างหนักในช่วงการเลือกตั้งกลางสมัย


--สถานะความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถาน และความเสี่ยง

ที่จะเกิดความขัดแย้ง หากพวกหัวรุนแรงที่ตั้งฐานอยู่ในปากีสถาน

ก่อเหตุโจมตีครั้งใหญ่ในอินเดียอีกระลอก


โอบามาส่งทหารอเมริกันเพิ่มเข้าไปในอัฟกานิสถาน จะทำให้

สถานการณ์เปลี่ยนไปหรือไม่ เรื่องนี้อาจกลายเป็นประเด็นใหญ่

ในการเลือกตั้งกลางสมัยในสหรัฐฯเดือนพฤศจิกายนนี้

เผย 'ปัจจัยเสี่ยง'ที่ต้องจับตาใน'เอเชีย'ปี2010 (2)

ในเรื่องจังหวะเวลา ที่จะเลิกลดการใช้มาตรการ

กระตุ้นเศรษฐกิจ ยังมีประเด็นทางการเมืองอีก 2 ประเด็น

ซึ่งทำให้เรื่องนี้ทวีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอีก


ประการแรก ถ้าหากรัฐบาลต่างๆ ไม่มีการร่วมมือ

ประสานงานกัน เกี่ยวกับแผนการเลิกลดมาตรการ

ของพวกเขาแล้ว ก็มีความเสี่ยงอย่างสำคัญทีเดียว

ที่จะเกิดภาวะหกกระเซ็นเข้าใส่กันอย่างไม่คาดหมาย

ทว่าวิกฤตคราวนี้ ได้แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า เราขาด

แคลนองค์กรโลกบาล ซึ่งสามารถที่จะรับหน้าที่ ทำให้

เกิดการร่วมมือ ประสานงานระหว่างประเทศขึ้นมา

และขณะที่พวกสมาชิกกลุ่ม จี 20 ให้สัญญิงสัญญาว่า

จะเข้ามา รับบทบาทในจุดนี้ให้มากขึ้น มันก็มี

ความเป็นไปได้มากกว่า ที่พวกเขาจะเลิกลดมาตรการ

กระตุ้นของพวกเขา โดยยึดถือผลประโยชน์แห่งชาติ

ของพวกเขาเองเป็นสำคัญ


ประการที่สอง ความไม่ลงรอยกัน ยังอาจปะทุขึ้น

ภายในแต่ละประเทศอีกด้วย นั่นคือ ระหว่างรัฐบาล

ที่มุ่งเน้น เรื่องการรักษาอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

เอาไว้ กับธนาคารกลางซึ่งโดยธรรมชาติย่อมหวาดผวา

ภาวะเงินเฟ้อและฟองสบู่ทรัพย์สิน ความขัดแย้งดังกล่าวนี้

อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด และทำให้ยากที่จะ

คาดการณ์ได้ว่าจะมีการดำเนินนโยบายไปทางไหน


*สิ่งที่ต้องจับตามอง

--สายตาทุกคู่ต่างกำลังเฝ้ามองไปที่ประเทศจีน

ซึ่งเป็นเครื่องจักรตัวหลักของการเจริญเติบโตของโลก

ตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินซัดกระหน่ำ จีนจะสามารถ

เดินหน้า หลบหลีกฟันฝ่าผ่านจุดอันตราย เชิงนโยบาย

ทั้งหลายได้หรือไม่ ถ้าหากจีนเกิดสะดุดหกล้มลง

ก็จะสร้างความสะเทือนสะท้านไปทั่วโลกทีเดียว

--ประเทศและดินแดนอื่นๆ จำนวนมากในเอเชีย

ก็กำลังเผชิญความเสี่ยงของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์

โดยจุดที่ควรเขม้นมองเป็นพิเศษได้แก่ ฮ่องกง และ สิงคโปร์

--อินเดีย และ อินโดนีเซีย เป็น 2 ประเทศสำคัญ

ที่อาจ มีการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน อย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น

ซึ่งจะทำให้พวกนักลงทุนขวัญผวา

--การประชุมระดับสุดยอดของกลุ่ม จี20 ครั้งต่อๆ ไป

จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนที่แคนาดา และเดือนพฤศจิกายน

ที่เกาหลีใต้ แนวคิดหลักของการประชุมทั้ง 2 ครั้งเหล่านี้คือ

การร่วมมือ ประสานงานกัน เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ เลิกลด

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

--ความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารกลาง

กลายเป็นประเด็นปัญหาขึ้นมาแล้วในญี่ปุ่น ขณะที่ เกาหลีใต้

และอินเดีย รวมทั้งรายอื่นๆ อีก ก็อาจจะประสบ

ความขัดแย้งกันเชิงนโยบายในปี 2010


**การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอันเจ็บปวด**

ในปี 2009 การเลือกตั้ง และการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ

หลายๆ ครั้งในเอเชีย ที่เคยถูกมองว่าอาจเกิดปัญหาวุ่นวาย

บานปลาย กลับสามารถผ่านพ้นไปได้อย่างค่อนข้างราบรื่น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชัยชนะของพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ

แจแปน (ดีพีเจ) ในการเลือกตั้งของญี่ปุ่น ซึ่งพลิกเอาพรรค

ลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ที่เคยปกครองประเทศ

อย่างแทบจะต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ให้กลับกลาย

เป็นฝ่ายค้าน เรื่องนี้มีส่วนทำให้ตลาดการเงินเกิดการปั่นป่วน

ผันผวนอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากมายอะไร อย่างไรก็ดี สำหรับในปี

2010 อะไรๆ น่าจะลำบากยากเย็นกว่ากันมาก


ที่ออสเตรเลีย คาดหมายกันอย่างกว้างขวางว่า นายกรัฐมนตรี

เควิน รัดด์ จะชนะอีกสมัยหนึ่ง โดยที่คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ

อันชัดเจนอยู่ที่เรื่องจะมีการยุบสภาจัดการเลือกตั้งกันเมื่อใดเท่านั้น

ทว่าการเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ และที่ศรีลังกา ซึ่งกำหนดจัดขึ้น

ในปี 2010 เช่นกัน กลับยังยากที่จะทำนายผล


ในส่วนของการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ผู้คนจำนวนมากจับตามอง

ไปที่เกาหลีเหนือ เนื่องจากประธานคิมจองอิล มีสุขภาพ

ที่ไม่สู้แข็งแรงนัก และยังไม่มีความแน่นอนว่าใครจะขึ้นมา

แทนที่เขา หากคิมจองอิลสิ้นชีวิตในปี 2010 ย่อมจะสร้าง

ความสั่นสะเทือนให้รู้สึกได้ในเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น,

และกระทั่งดินแดนที่อยู่ไกลออกไปอีก


นักวิเคราะห์จำนวนมากมองว่า การถึงแก่มรณกรรมของคิม

อาจจะติดตามมาด้วย การล่มสลายของระบอบปกครองนี้

ในเปียงยาง, หรือนำไปสู่สงครามกลางเมือง อันยืดเยื้อ

ในเกาหลีเหนือ, หรือมีความเคลื่อนไหวในเชิงก้าวร้าวรุกราน

ต่อเกาหลีใต้, กระทั่งอาจนำไปสู่การรวมสองเกาหลี

เป็นชาติเดียวกันอย่างฉับพลันก็ได้ทั้งนั้น ในกรณีทั้งหมดเหล่านี้

ปฏิกิริยาของตลาดการเงินน่าจะเป็นไปในทางลบอย่างแรง


*สิ่งที่ต้องจับตามอง

--สุขภาพของคิมจองอิลแห่งเกาหลีเหนือ จะถูกเฝ้ามอง

อย่างใกล้ชิด และอาจทำให้ตลาดปั่นป่วนได้

--การหาเสียงโดยให้คำมั่นสัญญาแบบประชานิยมในศรีลังกา

และฟิลิปปินส์ อาจส่งผล ให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ

ในช่วงต่อๆ ไปของปี 2010


เผย 'ปัจจัยเสี่ยง'ที่ต้องจับตาใน'เอเชีย'ปี2010 (1)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 มกราคม 2553 11:17 น.


รอยเตอร์/ASTVผู้จัดการรายวัน – แม้เอเชียจะเป็นภูมิภาค

ที่สามารถฝ่าคลื่นลมพายุเศรษฐกิจในปี 2009 ไปได้อย่างดี

เป็นพิเศษ แต่เอเชีย จะทำผลงานด้านเศรษฐกิจในปีหน้า

ได้สวยสดงดงามแค่ไหน ที่สำคัญมากๆ ก็ต้องแล้วแต่ว่า

ภูมิภาคแห่งนี้ มีความสามารถเพียงใด ในการกุมทิศทางเดินหน้า

ไปท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองทั้งหลาย ซึ่งบางปัจจัย

ก็น่าคร้ามเกรงอย่างยิ่งทีเดียว ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่สำคัญๆ ได้แก่


**ความสัมพันธ์อันยุ่งยากระหว่างสหรัฐฯ กับจีน**

ในปี 2010 จีนจะเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มขึ้นมาก ในเรื่องให้ทำการ

ปรับเพิ่มค่าเงินหยวน ทว่าจีนนั้นย่อมไม่ต้องการให้อัตราเติบโต

ทางเศรษฐกิจ ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย จากการยอมปล่อยให้ค่าเงิน

สูงขึ้นเร็วเกินไป และย่อมไม่มีความรู้สึกซาบซึ้งใจเลย จากการถูก

วอชิงตันหรือใครก็ตามทีเซ้าซี้เรียกร้องให้ทำนั่นทำนี่


ขณะเดียวกัน ในสหรัฐฯ เอง กลับมีความรู้สึกกันอย่างแรงกล้าว่า

นโยบาย รักษาค่าเงินหยวน ให้อ่อนตัวเป็นมาตร การกีดกัน

ทางการค้าอย่างหนึ่ง และเป็นสิ่งที่กำลังคุกคาม การฟื้นตัว

ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯด้วย ดังนั้นสหรัฐฯ จึงอาจตอบโต้จีน

ด้วยการใช้มาตรการจำกัด บีบคั้นทางการค้า ในลักษณะเดียว

กับการตั้งกำแพงภาษีนำเข้ายางรถยนต์จากจีน เมื่อเดือนกันยายน

ที่ผ่านมา อันจะเป็นชนวน ทำให้เกิดสงครามการค้าตอบโต้กัน

ระหว่างสองประเทศ


นอกจากนั้น อันตรายอีกอย่างหนึ่ง ที่อาจเกิดขึ้นได้ก็คือ

การที่ปักกิ่ง หนุนหลังพวกระบอบปกครอง ที่วอชิงตันรู้สึกว่ารับไม่ได้

นี่ก็อาจลุกลาม กลายเป็นการเผชิญหน้ากันทางการเมืองได้เช่นกัน


อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังมองว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีน

ต่างตระหนักดีถึงความเสี่ยงดังกล่าว และน่าจะยอมถอยออกมา

จากขอบเหวได้ทันก่อนเกิดเหตุพิพาทใดๆ ถึงขั้นคุกคามเป็นอันตราย

ต่อเศรษฐกิจโลก กระนั้น นักวิเคราะห์ก็ชี้ว่า ประเทศทั้งสองจะต้อง

แสวงหาวิธีที่จะสื่อสารกันได้ อย่างสบายอกสบายใจ ในฐานะ

เป็นหุ้นส่วนกัน เพราะความเสี่ยง ที่จะเกิดความไม่เข้าใจกัน

หรือเกิดภาวะความสัมพันธ์แบบเย็นชาต่อกันนั้นมีอยู่จริงๆ


*สิ่งที่ต้องจับตามอง*

-- การต่อสู้กันเรื่องค่าเงินหยวน กล่าวคือ จีนจะยอมปรับเพิ่ม

ค่าเงินหยวนหรือไม่ และหากไม่ สหรัฐฯ จะแสดงอาการโกรธเกรี้ยว

ออกมาหรือไม่ อย่างไร


--การกีดกันทางการค้า และการตั้งกำแพงภาษี หากประธานาธิบดี

บารัค โอบามาประกาศตั้งกำแพงภาษีเพิ่มขึ้น เนื่องจากถูกแรงกดดัน

จากรัฐสภา และพวกอุตสาหกรรมในประเทศ ก็คาดว่าจะเป็นชนวน

ให้ความขัดแย้งบานปลายออกไป

--ทั้งสองจะมีข้อขัดแย้งใดๆ หรือไม่จากการที่จีนเข้าไปเกี่ยวข้อง

กับเกาหลีเหนือ พม่า อิหร่าน และประเทศอื่นๆ ซึ่งสหรัฐฯ

มองว่าเป็น “รัฐอันธพาล”


**อาการ “เมาค้าง” จากมาตรการกระตุ้นศก.ซึ่งรวมทั้ง
“ฟองสบู่ราคาทรัพย์สิน” และ “การควบคุมเงินทุน”**


เอเชียกำลังเป็นภูมิภาค ที่นำหน้าทั่วโลก ในการก้าวพ้น

ออกมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย นั่นหมายความด้วยว่า

รัฐบาลของชาติและดินแดนต่างๆ ในเอเชีย ต้องอยู่

ในกลุ่มแรกๆ ที่จะต้องทำการตัดสินใจ ในปัญหาเชิงนโยบาย

อันสำคัญมากๆ ประการหนึ่ง กล่าวคือ จะใช้วิธีการ

อย่างไร มาคาดคำนวณจังหวะอันเหมาะสม ที่จะยกเลิก

หรือลดทอน บรรดามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ช่วยเหลือ

ให้พวกเขา ยังลอยตัวอยู่ได้ ในระหว่างที่ วิกฤตกำลัง

อาละวาดเอากับเศรษฐกิจทั่วโลก


ถ้ารัฐบาลต่างๆ ยกเลิกหรือลดทอนการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เร็วเกินไป พวกเขา ก็อาจจะหล่นตุ๊บ กลับลงสู่ภาวะ

เศรษฐกิจชะงักงัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นประเทศจีน

ที่ถลำลง สู่กับดักนี้ด้วยแล้ว ผลกระทบซึ่งมีต่อเศรษฐกิจ

ทั่วโลกก็อาจจะเลวร้ายมาก


แต่ถ้าคงนโยบายเหล่านี้เอาไว้ อย่างผ่อนปรนมากเกินไป

และนานเกินไปแล้ว พวกเขาก็มีความเสี่ยง ไม่เพียงแต่

ในเรื่องที่อัตราเงินเฟ้อ จะพลิกฟื้นขึ้นมา อีกเท่านั้น

หากยังมีความเป็นไปได้ ที่จะเกิดภาวะฟองสบู่ราคาทรัพย์สิน

ที่เป็นความหายนะอันน่าหวาดหวั่น เนื่องจากการปล่อย

ให้มีสภาพคล่อง มีการปล่อยสินเชื่อ อย่างมากมาย

มหาศาลเป็นเวลานานๆ ย่อมจุดชนวนให้เกิดการยื้อแย่ง

ซื้อหา และการเก็งกำไรราคาอสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์

ทั้งนี้ ข้อกังวลสำคัญที่สุดข้อหนึ่งสำหรับปี 2010 ก็คือ

อันตราย ที่เศรษฐกิจจีน กำลังจะถูกฉุดให้ตกรางจากการที่

ฟองสบู่ทรัพย์สินเกิดแตกระเบิดเปรี้ยงปร้าง


ความเสี่ยงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งพวกนักลงทุน ดูจะคอยเฝ้าจับตา

มากกว่าใครเพื่อน ก็คือ การที่ประเทศต่างๆ อาจพยายาม

ป้องกันภาวะฟองสบู่ และพยายามเข้าควบคุมการไหลเข้า

ของ “เงินร้อน” โดยใช้พวกมาตรการควบคุมเงินทุน และ

การพยายามสกัดกั้นไม่ให้เงินลงทุนของต่างชาติไหลออกไป

ตลท.รีดค่าฟีขันบันได กองทุนอสังหาฯ-ETF มีผล 1 ม.ค.นี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 ธันวาคม 2552

ตลาดหลักทรัพย์ฯ แก้เกณฑ์คิดค่าธรรมเนียม ซื้อขาย

หน่วยลงทุน “อีทีเอฟ- พร๊อพเพอร์ตี้ฟันด์”เป็นอัตราเดียว

กับค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดหุ้น จากเดิมที่คิด 0.10%

พร้อมยกเลิกหลักเกณฑ์ ทำสัญญา การเป็นนายหน้า

ซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในลักษณะคู่ค้า

(Exclusive Partner) มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.นี้


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ได้มี

การส่งหนังสือเวียนแก่กรรมการบริษัทหลักทรัพย์

สมาชิกและบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิกทุกบริษัท

เรื่อง การแก้ไขข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับ

การคิดค่าธรรมเนียมในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์

โดยคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ โดยความเห็นชอบ

ของคณะกรรมการก.ล.ต.เห็นควรแก้ไขข้อกำหนด

ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในส่วนที่เกี่ยว กับการเรียก

ค่าธรรมเนียม ในการเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อ

หรือขายหลักทรัพย์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่

1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป


ทั้งนี้การคิดอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์

(คอมมิชชั่น) แบบขั้นบันได คือ

1.มูลค่าการซื้อขายต่อวันไม่เกิน 5 ล้านบาท

คิดค่าคอมมิชชั่น ไม่น้อยกว่า 0.25%แต่ไม่เกิน 1%

2.มูลค่าการซื้อขายหลักทรัยพ์ต่อวันเกิน5 ล้านบาท

แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อวัน คิดค่าคอมมิชชั่นไม่น้อยกว่า

0.22%แต่ไม่เกิน1%

3.มูลค่าการซื้อขายต่อวันเกิน10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน20 ล้านบาท

คิดค่าคอมมิชชั่นไม่น้อยกว่า 0.18%

และ 4.มูลค่าการซื้อขายที่เกิน 20 ล้านบาท สามารถ

ต่อรองกันได้ แต่ไม่เกิน 1%


ส่วนการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต แบ่งเป็น

หากซื้อขายผ่านบัญชีแคชบาลานซ์ และบัญชีเครดิตบาลานซ์

มูลค่าการซื้อขายต่อวันไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่น

ไม่น้อยกว่า 0.15 % แต่ไม่เกิน 1%

2.มูลค่าการซื้อขายหลักทรัยพ์ต่อวันเกิน5 ล้านบาท แต่ไม่เกิน

10 ล้านบาทต่อวัน คิดค่าคอมมิชชั่นไม่น้อยกว่า 0.13%แต่ไม่เกิน1%

3.มูลค่าการซื้อขายต่อวันเกิน10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน20 ล้านบาท

คิดค่าคอมมิชชั่นไม่น้อยกว่า 0.1%

และ 4.มูลค่าการซื้อขายที่เกิน 20 ล้านบาท สามารถ

ต่อรองกันได้ แต่ไม่เกิน 1%


สำหรับหากซื้อบัญชีอื่นคิดค่ามิชชั่น คือ

1.มูลค่าการซื้อขายต่อวันไม่เกิน 5 ล้านบาท

คิดค่าคอมมิชชั่น ไม่น้อยกว่า 0.20%แต่ไม่เกิน 1%

2.มูลค่าการซื้อขายหลักทรัยพ์ต่อวันเกิน5 ล้านบาท

แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อวัน คิดค่าคอมมิชชั่น

ไม่น้อยกว่า 0.18%แต่ไม่เกิน1%

3.มูลค่าการซื้อขายต่อวันเกิน10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน

20 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่นไม่น้อยกว่า 0.15%

และ 4.มูลค่าการซื้อขายที่เกิน 20 ล้านบาท สามารถ

ต่อรองกันได้ แต่ไม่เกิน 1%


นอกจากนี้ปรับอัตราค่าเนียม การซื้อขายหน่วยลงทุน

เช่น กองทุนรวมอีทีเอฟ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ จาก

0.10% เป็นลักษณะขั้นบันไดเช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้น

ยกเว้นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อลงทุนในตราสารหนี้

ให้เรียกเก็บตามอัตราที่ได้ทำข้อตกลงอัตราค่าธรรมเนียม

กับลูกค้าตามหลักเกณฑ์เดิม ส่วนกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน

ให้คิดค่าคอมมิชชั่นในอัตราที่ตกลงกันกับลูกค้าแต่ไม่เกิน1%

พร้อมทั้งยกเลิกหลักเกณฑ์ทำสัญญาการเป็นนายหน้า

ซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในลักษณะคู่ค้า (Exclusive Partner)


อย่างไรก็ตามการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการแก้ไขประกาศดังกล่าว

โดยที่ตลาดหลักทรัพย์ เห็นว่าเพื่อให้การเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น

ในการเป็นนายหน้า หรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน

เป็นไปโดยเรียบร้อย และบริษัทสมาชิก สามารถเสริมสร้าง

ความเข้มแข็ง ในการประกอบธุรกิจ การให้บริการด้านหลักทรัพย์

ให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้บริษัทสมาชิกได้แสดงถึงความมุ่งมั่น

ที่จะเน้นคุณภาพ การให้บริการแก่ลูกค้า รวมทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพ

ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (มาร์เกตติ้ง)และเสริมสร้างความสัมพันธ์

ระยะยาวระหว่างบริษัทสมาชิก ลูกค้า และมาร์เกตติ้ง ซึ่งจะเป็น

ประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ โดยรวม และรองรับ

การปรับตัวของบริษัทสมาชิกอันจะนำไปสู่การแข่งขันอย่างเสรี

1 มกราคม 2553 เริ่มใช้ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์แบบขั้นบันได

ตามนี้
http://www.set.or.th/th/highlight_flash/files/set-news-155-2552.pdf
Custom Search

Followers