Monday, January 25, 2010

"Volcker Rule"

Obama ประกาศว่าอะไร

มาตรการที่ Obama ประกาศออกมานั้น มีอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ


การห้าม ไม่ให้สถาบันการเงิน ที่รับเงินฝาก คือ แบงก์

ไปมีธุรกรรมประเภท Hedge fund, Private equity fund

และ Proprietary trading ซึ่งเป็นการเอาเงินของตนเอง

ไปลงทุนในเครื่องมือทางการเงินที่เสี่ยงเพื่อแสวงหากำไร

ซึ่งกฏข้อนี้ Obama เรียกว่า Volcker Rule ตามเจ้าของ

แนวคิดคือคุณ Paul Volcker ซึ่งเป็นคนผลักดันในเรื่องนี้

มาตั้งแต่ต้น เป็นเวลา 1 ปีแล้ว



การออกเพดาน เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดการควบรวม

ในระบบสถาบันการเงิน ในสหรัฐมากจนเกินไป โดยที่จะมี

กฏว่าสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่สามารถที่จะมีขนาด

ฐานเงินฝากเกินกว่า 10% ของฐานเงินฝากทั้งประเทศ

และตรงนี้ จะรวมไปถึง เงินทุนประเภทต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือ

จากเงินฝากด้วย แต่รายละเอียด จะออกมาอีกที



นับเป็นความพยายามของ Obama ที่จะออกมาจัดการ

กับแบงก์และสถาบันการเงินรอบที่ 2 ภายในระยะเวลา

ไม่กี่สัปดาห์ หลังจากที่ได้ออกมา ประกาศขึ้นภาษี

สำหรับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ไปแล้วก่อนปีใหม่



ทำไมต้องทำอย่างนี้

ทั้งหมดนี้มีเหตุผล

หนึ่ง – ต้องการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตอีกรอบหนึ่ง
จากปัญหาเดิมๆ ที่ทำให้เกิดวิกฤตครั้งนี้ ที่สถาบันการเงิน
ใหญ่มาก และมีแนวโน้มที่จะควบรวมกันและใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
จนมีปัญหาที่เรียกว่า too big to fail คือใหญ่มาก
จนไม่สามารถปล่อยให้ล้มได้ และรัฐก็ไม่มีทางเลือก
เวลาที่เกิดปัญหา ก็ต้องมีกฏเกณฑ์ที่จะป้องกันไม่ให้
สถาบันการเงินมีขนาดใหญ่จนเกินไป

สอง – แบงก์เองก็ลงทุนในตราสารทางการเงินที่ซับซ้อนมาก
จนกระทั่งทำให้เกิดความเสียหายขึ้น และที่สำคัญที่ Obama
กังวลใจก็คือ แบงก์ต่างๆ รับเงินฝากด้วยดอกเบี้ยไม่แพงนัก
เพราะว่ามีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเงินฝากให้ หัวใจอยู่ตรงนี้
(รัฐบาลรับประกันเงินฝากให้) แต่แบงก์เอาเงินฝากที่ได้
ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างสุ่มเสี่ยง ที่อาจจะทำให้ล้ม
และเกิดความเสียหายได้ ทั้งผ่าน Proprietary Trading
และผ่าน Hedge fund และ Private equity ซึ่งถ้ากำไร
ก็เป็นโบนัส แต่ว่าถ้าขาดทุนก็จะเป็นความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นกับรัฐบาล

ตรงนี้ Obama เลยเสนอว่า ให้เลือกเอาว่า จะทำอะไร
ระหว่าง (1) เป็นสถาบันการเงินที่รับฝากเงินของประชาชน
หรือ (2) เป็นสถาบันการเงินที่ลงทุนในตราสารที่เสี่ยง
ซึ่งถ้าจะทำอย่างหลัง ก็ต้องให้เลิกรับเงินฝาก คือให้ทำ
อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น อันนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต
ซ้ำรอยขึ้นอีกในอนาคต และเพื่อคืนแบงก์ที่เน้นเรื่อง
การรับฝากเงิน การปล่อยสินเชื่อ และการให้บริการลูกค้า

สาม นอกจากนี้ ยังมีประเด็นทางการเมือง ที่ประชาชน
ไม่พอใจผู้บริหารของสถาบันการเงิน ที่มีการจ่ายโบนัส
ในช่วงที่ผ่านมา และเริ่มกลับไปทำอะไรที่เสี่ยงๆ อีกครั้ง
และประชาชนคิดว่าปัญหาครั้งที่แล้วมาจาก Wall street
เป็นสำคัญ โดยเฉพาะสถาบันการเงินใหญ่ ๆ ที่รัฐบาล
ไม่ควรเข้าไปอุ้ม ซึ่งในช่วงนี้ Obama กำลังที่จะตอบสนอง
กับข้อเรียกร้องของประชาชน และเริ่มเข้มงวดกับ
สถาบันการเงินมากขึ้น ทั้งเรื่องของการเก็บเพิ่มค่าธรรมเนียม
และการที่จะออกกฏเกณฑ์ที่เข้มงวดกับสถาบันการเงินเหล่านี้

ทั้งนี้ ตอนที่ออกมาประกาศแนวคิดเรื่องการปฏิรูปสถาบันการเงิน
รอบนี้ Obama บอกว่า รับไม่ได้กับการที่สถาบันการเงินบอกว่า
ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้กับ SME ไม่สามารถลดดอกเบี้ยให้กับ
บัตรเครดิต ไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มได้ แต่กลับสามารถ
จ่าย โบนัสจำนวนมากให้กับผู้บริหารได้ ทำให้ Obama ยิ่งตั้งใจ
ที่จะทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้

นัยคืออะไร

ตอนนี้ ยังเร็วไป ที่จะสรุปว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะกฏเกณฑ์
เหล่านี้ ต้องผ่านรัฐสภา และทางภาคแบงก์เอง ก็คงต่อสู้ดิ้นรน
กับเรื่องนี้อย่างเต็มที่

แต่จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ผลกระทบถ้าเกิดขึ้นจริง ก็จะส่งผล
ให้แบงก์ใหญ่ๆ ที่เข้ามา ควบรวมกับ กิจการวานิชธนกิจในช่วง
ที่ผ่านมา เช่น กรณีของ Bank of America และ Merrill Lynch
JP Morgan Chase ต้องเลือกเอาว่าจะทำธุรกิจอะไร และต้อง
แยกออกจากกันระหว่าง 2 ส่วน

หรือแม้แต่บางสถาบันการงินเช่น Goldman Sachs และ
Morgan Stanley ที่ได้จัดตั้ง Bank Holding Company ขึ้นมา
ก็จะต้องตัดสินใจว่าจะรักษา ฐานะของการเป็น Bank ไว้หรือไม่
เพราะว่า ธุรกรรม และรายได้หลักของทั้ง 2 องค์กรนี้ คือ
Investment banking แต่ว่าข้อเท็จจริงก็คือ อย่างกรณีของ
Goldman Sachs ในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ มีการรับเงินฝาก
แต่อย่างใด เพียงแต่ใช้ฐานะของการเป็น Bank holding company
ในการเข้าถึงการช่วยเหลือสภาพคล่องจาก Fed ในยามวิกฤต

ความจริงหลายคนมองว่าสำหรับ สถาบันการเงินเหล่านี้
กฏข้อนี้ จะทำให้กลับไปเป็นเหมือนกับก่อนวิกฤต คือ
กลับไปเป็นบริษัทหลักทรัพย์อีกรอบหนึ่ง และถ้าจะว่าไปแล้ว
กฏข้อนี้ที่เรียกว่า Volcker rule ก็คล้ายๆ กับกฏหมายด้านการเงิน
ฉบับหนึ่งที่เคยออกมาหลังจากช่วง Great depression คือ
กฏหมายที่เรียกว่า Glass Stellgall ที่กำหนดให้แบ่งแยกชัดเจน
ระหว่างแบงก์กับ investment banks ออกเป็นสองกลุ่ม
ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว กฏเกณฑ์ใหม่ข้อนี้
ก็คล้ายๆ กับกฏหมายฉบับดังกล่าว

นักวิเคราะห์คิดว่าอย่างไร และทางออกคืออะไร

สิ่งที่นักวิเคราะห์คิด ก็คือ

หนึ่ง – เร็วเกินไปที่จะฟันธงว่ารายละเอียดที่จะออกมาคืออะไร

และจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะว่าที่ Obama พูดเป็นเพียง

กรอบคร่าวๆ เท่านั้น ยังต้องไปตกลงในรายละเอียด

และกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินคงไม่ยอมแพ้

สอง – อาจจะไม่ตรงจุด เพราะปัญหาไม่ได้มาจาก

Propreitery trading และไม่ได้มาจากกลุ่มแบงก์

สาม – ปัญหาเรื่องการแข่งขัน สิ่งที่น่าสนใจก็คือ

ในการประกาศครั้งนี้ คนที่ยืนอยู่ข้างหลัง Obama คือ

Paul Volcker แทนที่จะเป็น Geithner และ Summers

ซึ่งไม่เห็นด้วยกับกฏเกณฑ์ข้อนี้ เพราะคิดว่าไม่ตรงจุด

และ ไม่อยากจะออกกฏเกณฑ์ที่จะทำให้แบงก์ในสหรัฐ

เสียความสามารถในการแข่งขัน กับแบงก์ในประเทศอื่นๆ

ความจริง ถ้ากลับไปดู ก็จะพบว่ากฏหมาย Glass-stellgall

ถูกยกเลิกไปตอนที่ Summer และ Geithner อยู่ที่

กระทรวงการคลังของสหรัฐ และทั้งคู่ดูเหมือนกับว่า

เข้าข้าง Industry มาก

ท้ายสุด – การออกกฏข้อนี้ในช่วงนี้ อาจจะเป็นเพราะประเด็น

ทางการเมือง ที่ Obama เริ่มถาม บ่อยขึ้นว่า ทำไมเรื่อง

too big too fail รัฐบาลจึงไปเข้าข้างพวก Wall street

และไม่อยู่ข้างเดียวกับประชาชนที่ไม่พอใจ ทำให้รัฐบาล

เริ่มหันมาเข้มกับอุตสาหกรมมากขึ้น เพื่อความได้เปรียบ

ทางการเมือง ซึ่งการแพ้เลือกตั้งที่รัฐแมสซาซูเซท

เป็นจุดสำคัญ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

ก็ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด ว่าศึกนี้ใครจะชนะ

แต่ประธานาธิบดีบอกแล้วว่าพร้อมจะสู้เต็มที่เรื่องนี้

น่าสนใจน่าติดตามมากครับ

No comments:

Post a Comment

Custom Search

Followers