ในเรื่องจังหวะเวลา ที่จะเลิกลดการใช้มาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจ ยังมีประเด็นทางการเมืองอีก 2 ประเด็น
ซึ่งทำให้เรื่องนี้ทวีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอีก
ประการแรก ถ้าหากรัฐบาลต่างๆ ไม่มีการร่วมมือ
ประสานงานกัน เกี่ยวกับแผนการเลิกลดมาตรการ
ของพวกเขาแล้ว ก็มีความเสี่ยงอย่างสำคัญทีเดียว
ที่จะเกิดภาวะหกกระเซ็นเข้าใส่กันอย่างไม่คาดหมาย
ทว่าวิกฤตคราวนี้ ได้แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า เราขาด
แคลนองค์กรโลกบาล ซึ่งสามารถที่จะรับหน้าที่ ทำให้
เกิดการร่วมมือ ประสานงานระหว่างประเทศขึ้นมา
และขณะที่พวกสมาชิกกลุ่ม จี 20 ให้สัญญิงสัญญาว่า
จะเข้ามา รับบทบาทในจุดนี้ให้มากขึ้น มันก็มี
ความเป็นไปได้มากกว่า ที่พวกเขาจะเลิกลดมาตรการ
กระตุ้นของพวกเขา โดยยึดถือผลประโยชน์แห่งชาติ
ของพวกเขาเองเป็นสำคัญ
ประการที่สอง ความไม่ลงรอยกัน ยังอาจปะทุขึ้น
ภายในแต่ละประเทศอีกด้วย นั่นคือ ระหว่างรัฐบาล
ที่มุ่งเน้น เรื่องการรักษาอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เอาไว้ กับธนาคารกลางซึ่งโดยธรรมชาติย่อมหวาดผวา
ภาวะเงินเฟ้อและฟองสบู่ทรัพย์สิน ความขัดแย้งดังกล่าวนี้
อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด และทำให้ยากที่จะ
คาดการณ์ได้ว่าจะมีการดำเนินนโยบายไปทางไหน
*สิ่งที่ต้องจับตามอง
--สายตาทุกคู่ต่างกำลังเฝ้ามองไปที่ประเทศจีน
ซึ่งเป็นเครื่องจักรตัวหลักของการเจริญเติบโตของโลก
ตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินซัดกระหน่ำ จีนจะสามารถ
เดินหน้า หลบหลีกฟันฝ่าผ่านจุดอันตราย เชิงนโยบาย
ทั้งหลายได้หรือไม่ ถ้าหากจีนเกิดสะดุดหกล้มลง
ก็จะสร้างความสะเทือนสะท้านไปทั่วโลกทีเดียว
--ประเทศและดินแดนอื่นๆ จำนวนมากในเอเชีย
ก็กำลังเผชิญความเสี่ยงของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์
โดยจุดที่ควรเขม้นมองเป็นพิเศษได้แก่ ฮ่องกง และ สิงคโปร์
--อินเดีย และ อินโดนีเซีย เป็น 2 ประเทศสำคัญ
ที่อาจ มีการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน อย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น
ซึ่งจะทำให้พวกนักลงทุนขวัญผวา
--การประชุมระดับสุดยอดของกลุ่ม จี20 ครั้งต่อๆ ไป
จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนที่แคนาดา และเดือนพฤศจิกายน
ที่เกาหลีใต้ แนวคิดหลักของการประชุมทั้ง 2 ครั้งเหล่านี้คือ
การร่วมมือ ประสานงานกัน เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ เลิกลด
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
--ความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารกลาง
กลายเป็นประเด็นปัญหาขึ้นมาแล้วในญี่ปุ่น ขณะที่ เกาหลีใต้
และอินเดีย รวมทั้งรายอื่นๆ อีก ก็อาจจะประสบ
ความขัดแย้งกันเชิงนโยบายในปี 2010
**การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอันเจ็บปวด**
ในปี 2009 การเลือกตั้ง และการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ
หลายๆ ครั้งในเอเชีย ที่เคยถูกมองว่าอาจเกิดปัญหาวุ่นวาย
บานปลาย กลับสามารถผ่านพ้นไปได้อย่างค่อนข้างราบรื่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชัยชนะของพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ
แจแปน (ดีพีเจ) ในการเลือกตั้งของญี่ปุ่น ซึ่งพลิกเอาพรรค
ลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ที่เคยปกครองประเทศ
อย่างแทบจะต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ให้กลับกลาย
เป็นฝ่ายค้าน เรื่องนี้มีส่วนทำให้ตลาดการเงินเกิดการปั่นป่วน
ผันผวนอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากมายอะไร อย่างไรก็ดี สำหรับในปี
2010 อะไรๆ น่าจะลำบากยากเย็นกว่ากันมาก
ที่ออสเตรเลีย คาดหมายกันอย่างกว้างขวางว่า นายกรัฐมนตรี
เควิน รัดด์ จะชนะอีกสมัยหนึ่ง โดยที่คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
อันชัดเจนอยู่ที่เรื่องจะมีการยุบสภาจัดการเลือกตั้งกันเมื่อใดเท่านั้น
ทว่าการเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ และที่ศรีลังกา ซึ่งกำหนดจัดขึ้น
ในปี 2010 เช่นกัน กลับยังยากที่จะทำนายผล
ในส่วนของการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ผู้คนจำนวนมากจับตามอง
ไปที่เกาหลีเหนือ เนื่องจากประธานคิมจองอิล มีสุขภาพ
ที่ไม่สู้แข็งแรงนัก และยังไม่มีความแน่นอนว่าใครจะขึ้นมา
แทนที่เขา หากคิมจองอิลสิ้นชีวิตในปี 2010 ย่อมจะสร้าง
ความสั่นสะเทือนให้รู้สึกได้ในเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น,
และกระทั่งดินแดนที่อยู่ไกลออกไปอีก
นักวิเคราะห์จำนวนมากมองว่า การถึงแก่มรณกรรมของคิม
อาจจะติดตามมาด้วย การล่มสลายของระบอบปกครองนี้
ในเปียงยาง, หรือนำไปสู่สงครามกลางเมือง อันยืดเยื้อ
ในเกาหลีเหนือ, หรือมีความเคลื่อนไหวในเชิงก้าวร้าวรุกราน
ต่อเกาหลีใต้, กระทั่งอาจนำไปสู่การรวมสองเกาหลี
เป็นชาติเดียวกันอย่างฉับพลันก็ได้ทั้งนั้น ในกรณีทั้งหมดเหล่านี้
ปฏิกิริยาของตลาดการเงินน่าจะเป็นไปในทางลบอย่างแรง
*สิ่งที่ต้องจับตามอง
--สุขภาพของคิมจองอิลแห่งเกาหลีเหนือ จะถูกเฝ้ามอง
อย่างใกล้ชิด และอาจทำให้ตลาดปั่นป่วนได้
--การหาเสียงโดยให้คำมั่นสัญญาแบบประชานิยมในศรีลังกา
และฟิลิปปินส์ อาจส่งผล ให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
ในช่วงต่อๆ ไปของปี 2010
No comments:
Post a Comment