Friday, June 19, 2009
หุ้นปั่น-ปั่นหุ้น 5
บทสรุป
ตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นแหล่งระดมทุน
ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีส่วนสำคัญ
อย่างยิ่ง ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และความเจริญ ของประเทศชาติ
ประชาชนทุกคน ได้รับโอกาส
ให้นำเงินออม เข้ามาลงทุนกับบริษัท
ชั้นดี ในตลาดหลักทรัพย์
หากเขาเหล่านั้น ลงทุนด้วยความรู้
ความเข้าใจ ย่อมสามารถสร้างผลกำไร
และความมั่นคง ให้กับตนเองและครอบครัว
แต่ถ้าเข้ามาลงทุน ด้วยวิธีเก็งกำไร
โดยปราศจากความรู้ ย่อมมีโอกาส
ตกเป็นเหยื่อ ของนักปั่นหุ้น
ที่มีอยู่มากมายในตลาดหุ้นได้
ช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว
เปรียบได้ดั่งสายฝนซู่ใหญ่
ที่พัดสาดเข้ามาอีกครั้ง
แสงระยิบระยับ ของกระดานหุ้น
เร้าใจแมลงเม่า ไม่แพ้แสงไฟ
ในฤดูฝน เหล่าแมลงเม่าน้อยใหญ่
พากันโบยบิน เข้าตลาดหุ้น
และแล้วตำนานเรื่องเดิม
ของเหล่าแมลงเม่าก็เริ่มต้นอีกครั้ง
หมายเหตุปั่นหุ้น
1) สมัยก่อนหุ้นปั่นจะเป็นหุ้นตัวเล็ก
ที่พื้นฐานไม่ดี
ปัจจุบันนี้ หุ้นปั่นจะเป็นหุ้นตัวเล็ก
หรือหุ้นที่มีสภาพคล่องน้อยแต่พื้นฐานดี
เนื่องจากนักลงทุนรายย่อยฉลาดขึ้น
แต่สุดท้ายก็ถูกหลอกอยู่ดี
2) นักลงทุนรายย่อยจะไม่สนใจ
หุ้นพื้นฐานดี แต่ไม่มีสภาพคล่อง
แต่จะชอบหุ้นปั่น (ทั้งๆ ที่รู้ว่าปั่น)
เพราะราคาวิ่งทันใจดี ส่วนใครออกตัวไม่ทัน
ติดหุ้น เขาจะโทษตัวเองว่า โชคไม่ดี
ไหวตัวไม่ทันเอง
3) นักลงทุนรายย่อยจะไม่ซื้อหุ้น
ที่ขาดสภาพคล่อง ถึงแม้จะมีพื้นฐานดี
แต่จะรอจน มีคนไปไล่ซื้อหุ้น
ให้มีปริมาณซื้อขายคึกคัก และราคาขยับ
สัก 5%-10% แล้วจึงเข้าไปผสมโรง
เพราะทุกคนมีคติว่า "ขาดทุนไม่กลัว กลัวติดหุ้น"
(หุ้นขาดสภาพคล่อง)
4) นักลงทุนรายย่อยจะภาคภูมิใจ
หากสามารถซื้อขายหุ้นในวันเดียว
แล้วได้กำไรเล็กๆ น้อยๆ สัก 1-2%
มากกว่าซื้อหุ้นไว้ 1 ปีแล้วกำไร 20%-30%
เพราะคิดว่าการซื้อขายหุ้นในวันเดียว
แล้วได้กำไรต้องใช้ฝีมือมากกว่า
(ทั้งที่จากเฉลี่ยทั้งปีแล้วมักขาดทุน)
5) หุ้นหลายๆ ตัวในตลาดหลักทรัพย์
มีนักลงทุนรายใหญ่คอยดูแล
เวลามีข่าวดีต่อหุ้นตัวนั้นเข้ามา
ถ้าคนดูแลไม่ต้องการให้ราคาหุ้นปรับขึ้น
หุ้นตัวนั้นก็จะถูกกดราคาไว้
แต่ถ้าคนดูแลเข้ามาไล่ราคาหุ้นเมื่อไร
หุ้นก็จะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นทันที
และข่าวหนังสือพิมพ์จะออกมาว่า
นักลงทุนตอบรับข่าวดีของหุ้นตัวนั้น
จึงได้เข้ามาซื้อเก็บเอาไว้
ทั้งๆ ที่ หลายๆ ครั้งเป็นการทำราคา
ของรายใหญ่เพียงรายเดียว
ที่เป็นผู้กำหนดทิศทางของหุ้น
ตัวนั้นว่าจะขึ้นหรือลง
6) นักปั่นหุ้นจะกลัวสภาวะตลาด
มากกว่า ก.ล.ต. (คณะกรรมการ
กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
เนื่องจากก.ล.ต. ไม่เคยลงโทษนักปั่นหุ้น
รายใหญ่ได้ แต่เขาจะกลัวว่า
ถ้าคาดการณ์ภาวะตลาดผิด
ตนเองจะติดหุ้นเอง
7) เหตุผลที่นักปั่นหุ้นต้องใช้ชื่อคนอื่น
ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป เป็นตัวแทน
ในการถือหุ้น (NOMINEE) ช่วยซื้อขาย
หุ้นนั้น เพื่อไม่ต้องการให้ทางการ
สาวเรื่องมาถึงตนได้ ขณะเดียวกันก็ต้องการ
หลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์การถือหุ้น
เกินคนละ 5% ของทุนจดทะเบียน
ที่ต้องแจ้งเรื่องนี้กับก.ล.ต.
เพื่อเผยแพร่ต่อนักลงทุนทั่วไปด้วย
วิธีสังเกตเมื่อมีการปั่นหุ้น
1) มีข่าวดีมา แต่ราคาหุ้นไม่ไป
ทั้งๆ ที่มีปริมาณการซื้อขายมากขึ้น
เหมือนมีคนกดราคาอยู่ (เพื่อเก็บของ)
2) หลังจากนั้น มีการไล่ราคา
อย่างรวดเร็วรุนแรง ปริมาณ
การซื้อขายพุ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
3) จำนวนหุ้นที่ตั้งซื้อ (BID)
มีการเติมเข้าถอนออกอยู่ตลอดเวลา
4) การเคาะซื้อไล่ราคาจะมีการเคาะนำ
ครั้งละ 100 หุ้น 2-3 ครั้ง จากนั้น
จะเป็นการไล่เคาะซื้อยกแถว
5) หลังจากหุ้นขึ้นมานานแล้ว
พอมีข่าวดีมา จะเห็นการเคาะซื้อ
ครั้งละมากๆแต่การตั้งซื้อ (BID)
ไม่หนาแน่น
จังหวะที่ใช้ในการปั่นหุ้น
1) เมื่อหุ้นตัวนั้นราคาตกลงมา
จนราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก
ในภาวะตลาดขาลง
นักลงทุนรายใหญ่จะทยอยสะสมหุ้น
แบบไม่รีบร้อน เมื่อตลาดกลับเป็นขาขึ้น
จะมีการไล่ราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว
แล้วทยอยขาย ปีหนึ่งทำได้สัก 2-3 รอบ
ก็คุ้มค่าต่อการรอคอยแล้ว
2) เมื่อมีข่าวที่ส่งผลกระทบ
ต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้น
โดยทั่วไปนักลงทุนรายใหญ่
จะรู้เห็นข่าววงในก่อน (INSIDER)
และซื้อหุ้นเก็บไว้ เมื่อข่าวดีออกมา
จะมีการไล่ราคาแล้วขายหุ้นออกไป
หรือในทางตรงกันข้าม หากมีข่าว
ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นแย่ลงมาก
เช่น ใกล้หมดอายุการใช้สิทธิของ
WARRANT, ข่าวขาดทุนรายไตรมาส,
ข่าวบริษัทลูกขาดทุนจะเป็นการปั่นหุ้น
รอบสั้นๆ เพื่อออกของ หรือหากได้ปล่อย
ขายไปเกือบหมดแล้ว จะใช้วิธีทุบหุ้น
เพื่อเก็บของถูกแล้วรอปั่นในรอบถัดไป
3) ปลายตลาดขาขึ้น
เมื่อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี (BLUE CHIP)
ทุกกลุ่มถูกนักลงทุนไล่ซื้อจนราคาหุ้น
ขึ้นมาสูงหมดแล้ว โดยทั่วไปจะไล่เรียง
จากหุ้นกลุ่มใหญ่ๆ เช่น กลุ่มธนาคาร
ไฟแนนซ์ ที่ดินวัสดุก่อสร้าง สื่อสาร
และพลังงาน เมื่อนักลงทุนหมดตัวเล่น
รายใหญ่จะเข้ามาปั่นหุ้นตัวเล็กๆ
ที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีราคาต่ำ
รายย่อยจะเข้าผสมโรงเพราะเห็นว่า
หุ้นกลุ่มนี้ยังขึ้นไม่มาก
ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อหุ้นตัวเล็กๆ
ถูกนำขึ้นมาเล่นไล่ราคา
มักเป็นสัญญาณว่า
หมดรอบของภาวะขาขึ้นแล้ว
(เพราะถ้าหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี
ราคายังต่ำกว่าความเป็นจริง นักลงทุน
ก็ยังพุ่งเป้าซื้อขายหุ้นกลุ่มนี้อยู่
จนกระทั่งราคาหุ้นขึ้นสูงเกินกว่า
ปัจจัยพื้นฐานแล้วจึงละทิ้งไปเล่นหุ้นปั่น
เมื่อราคาหุ้นโดยรวมสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน
ตลาดหุ้นย่อมพร้อมที่จะปรับฐานได้ตลอดเวลา)
สุดท้ายนี้ข้าน้อยขอยืนยัน นั่งยัน นอนยันว่า
บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะชักชวนให้ใคร
เข้าไปมีส่วนร่วมกับการปั่นหุ้นใดๆทั้งสิ้น
และไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้โพรงให้กระรอก...
หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยชี้แนะด้วย....
ที่มาของบทความนี้
http://members.stockwave.in.th/read.php?topic=1270&punhoon&catid=428:member-zone
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Custom Search
No comments:
Post a Comment