Monday, July 27, 2009

10หนังสือการลงทุนสุดคลาสสิก(ตอนจบ)

สัปดาห์ที่แล้วได้แนะนำ 10 หนังสือการลงทุน

สุดคลาสสิกไปแล้ว 5 เล่ม สัปดาห์นี้มาต่อกัน

อีก 5 เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มบอกได้เลยว่า

ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหรือไม่ก็ตาม

หากได้อ่านหนังสือเหล่านี้แล้ว เชื่อขนมกิน

ได้เลยว่าการออมเงิน การลงทุนทำได้ ทุกคน

เพียงแต่จะเริ่มต้นเมื่อไรเท่านั้น


Stocks For The Long Run (1994) โดย Jeremy Siegel

หนังสือเล่มนี้ มีสถิติ เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น

อย่างน่าสนใจ และสามารถ พิสูจน์ให้เห็นว่า

ถ้าหากต้องการผลตอบแทนอย่างน่าประทับใจในตลาดหุ้น

ต้องลงทุนในระยะยาว ไม่ใช่ซื้อเช้า ขายบ่าย

และผู้เขียน เปิดเผยเคล็ดลับทั้งเครื่องมือ เทคนิค

กลยุทธ์ทุกอย่างกับการเอาชนะตลาดหุ้น



“The Essays Of Warren Buffett: Lessons For Corporate America”

(2001) โดย Warren Buffett และ Lawrence Cunningham

เป็นหนังสือ ที่รวบเอาจดหมายที่ Warren Buffett

เขียนถึงผู้ถือหุ้นเป็นประจำ ซึ่งมีใจความ ทั้งปรัชญา

และแนวคิด ด้านการทำธุรกิจของเขา มาเรียบเรียง

แล้วตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้ โดยพูดถึงหลักธรรมาภิบาล

ของการทำธุรกิจ ซึ่ง Warren Buffett มองว่า

ผู้บริหาร คือ ผู้พิทักษ์เงินทุนของผู้ถือหุ้น

และผู้บริหารที่ดีที่สุด ต้องทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของบริษัท

ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร ที่สำคัญเขาเลี่ยงการคาดการณ์อนาคต

เพราะเชื่อว่ามักนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข

นอกจากนี้ยังพูดถึงการเงิน และการลงทุนของบริษัทอีกด้วย

รับรองใครได้อ่านจะเข้าใจได้ทันทีเลย ว่าควรจะซื้อหุ้นบริษัท แบบไหน


“How To Make Money In Stocks” (2003) โดย William J. O'Neil

หากอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว ใครที่เป็นนักลงทุนอยู่แล้ว

คงจะทำการสำรวจ สไตล์การลงทุนของตัวเองดู

ว่ามีความผิดพลาดอะไร และควรจะแก้ไขอย่างไร

เพื่อให้เงินลงทุนไม่สูญสิ้นออกไป ส่วนใครที่กำลัง

เริ่มต้นเข้าสู่โลกของการลงทุน ข้อปฏิบัติในหนังสือเล่มนี้

จะเป็นเกราะป้องกันได้เป็น อย่างดี เพราะผู้เขียนกำลัง

จะบอกถึงความผิดพลาด) เป็นโหลๆ ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ

และเมื่อรู้แล้วว่าไม่ดีก็ไม่ควรทำ อีกต่อไป


“Rich Dad Poor Dad” (1997) โดย Robert T. Kiyosaki

คงไม่มีใครปฏิเสธว่า หนังสือเล่มนี้สุดยอดขนาดไหน

บอกได้ คำเดียวว่าเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี

เพราะให้ความสำคัญ กับการวางแผนทางการเงิน

โดยผู้เขียน ได้ออกแบบโปรแกรมการวางแผนทางการเงิน

เป็นขั้นเป็นตอน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ในการให้ คำอธิบาย

กับลูกๆ เกี่ยวกับพื้นฐานมาตรการบริหารเงิน ในฐานะการเป็นลูกจ้าง

เจ้าของกิจการ นายทุน และนักลงทุน ภายใต้การมองเห็นปัญหา

และความสามารถในการแก้ไขของเด็กๆ จากความช่วยเหลือของผู้ใหญ่

ที่จะส่งผลตามมาด้วยความสามารถในการทำกำไรในอนาคต


“Irrational Exuberance” (2000) โดย Robert J. Shiller

เมื่อหนังสือเล่มนี้ออกวางตลาด ผู้เขียนได้รับการยอมรับ

ว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เขาเชื่อว่าเศรษฐศาสตร์

มิใช่เรื่องของข้อมูลและตัวเลขเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของจิตวิทยา

และอารมณ์ความรู้สึกด้วย ฉันใด ฉันนั้น ดัชนีของตลาดหุ้น

ไม่ใช่ผลพวงของข้อมูลและตัวเลข แต่เป็นผลพวงของ

อารมณ์ความรู้สึกของนักลงทุน ซึ่งผูกพันอยู่กับการเก็งกำไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของการพุ่งสูงขึ้นของดัชนี

ของตลาดหุ้นนิวยอร์ก ผู้เขียนไม่เชื่อทฤษฎีประสิทธิภาพของตลาด

ทฤษฎีนี้บอกว่า ราคาของหลักทรัพย์ทั้งหมด จะสะท้อนซึ่งข้อมูล

ทั้งหมดที่เปิดเผย เป็นสาธารณะอย่างแม่นยำเสมอ

นั่นคือ หากเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นสาธารณะอย่างเสรีแล้ว

ราคาหลักทรัพย์นี้ จะสะท้อนความจริงออกมาเสมอ

ราคาหลักทรัพย์ จะมีราคาที่เป็นไปตามความเป็นจริง

ของข้อมูลในเรื่องผลตอบแทน ศักยภาพ และความมั่นคง

เขาบอกว่าทฤษฎีนี้ เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเขาพิสูจน์ในเชิงสถิติ

ว่าความผันผวนของราคาหุ้นนั้น สูงกว่าความผันผวน

ของเงินปันผลเป็นอย่างมาก แสดงว่าราคาหุ้นไม่ได้เคลื่อนไหว

ตามที่ทฤษฎีระบุ เขาเห็นว่าราคาหุ้นผันผวนไปตามจิตวิทยา

ความรู้สึก และอารมณ์ของนักลงทุนมากกว่า

โดยเป็นอารมณ์ร่วมกันของคนหมู่ใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าอะไรก็เป็นได้ทั้งนั้น

โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับเงินปันผลแต่อย่างใด

จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Saturday, July 25, 2009

วืธีของคนส่วนน้อย

ต่อจาก http://imbroker.blogspot.com/2009/07/blog-post_24.html

คนส่วนน้อย ต้องมีวิธีที่ผิดแผก แปลก พิสดาร แตกต่าง กว่าคนอื่นๆ หรือป่าว?


ทั้งใช่ และไม่ใช่


คนส่วนมาก เป็น ยังไง


1) ไม่รู้อะไรเลย แต่ก็ลงทุน

อ่านหนังสือพิมพ์ เจอหุ้นเด็ด ซื้อ

ข่าวลือ ในห้องค้า บอกว่าหุ้นตัวนี้ จะไปถึง เท่านั้น เท่านี้ ซื้อ

ข่าวลือ ในเว็บบอร์ดต่างๆ บอกว่าหุ้นตัวนี้ จะไปถึง เท่านั้น เท่านี้ ซื้อ

นักวิเคราะห์ บอกว่า หุ้นตัวนี้ดี น่าจะขึ้นไปได้อีก ซื้อ

หุ้นขึ้น จาก 380 จุด (ตอนนั้น พร้อมใจกัน ไม่ซื้อ) พอขึ้นมาถึง 600 จุด ซื้อ

ซื้อหุ้นไว้ ตอนซัก 400 จุด ขึ้นมา 600 จุด พอได้ยินกูรู้ 555 กูรู น่ะ

บอกว่า หุ้นจะขึ้นไปถึง 750 จุด เลย ไม่ขาย

กลัวขาย ไปแล้ว หุ้นตัวนั้น จะขึ้นต่อ ไม่ขาย

ฯลฯ

2) รู้นิดหน่อย แบบ งูๆ ปลาๆ

อาจมีการฟังนักวิเคราะห์ ดู ทีวี หรือ หาข้อมูล

ศึกษาด้วยตัวเองบ้าง แต่อาจยังไม่ลึกพอ

3) รู้มากเกินไป เลยกล้าๆกลัวๆ ไม่กล้า จะตัดสินใจทำอะไร

เข้าทำนอง ที่ว่า ‘ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด’

พวกนี้ ทฤษกี จะเยอะ ไม่ว่าวิธีอะไร รู้ไปหมด

แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะไม่รู้ว้าจะใช้วิธีไหน

เป็นเกณฑ์ ไนการตัดสินใจดี เนื่องจากบางที

ทฤษีแต่ละอย่าง มันก็ขัดแย้ง กันเอง


ในความเห็นของฉัน นักลงทุน ใน 3 กลุ่มนี้ กลุ่มที่จะมีโอกาส

อยู่รอดในตลาด และสามารถ ประสบตวามสำเร็จ

กลายเป็นคนส่วนน้อยได้ (ถ้า...) ได้แก่

1.กลุ่มที่ 3) มีความรู้มาก ทฤษฎืเยอะ ถ้า...เพิ่ม

‘การสังเคราะห์’ หรือ ‘การยำ’ ความรู้ (มีโอกาส จะมาพูดถึงเรื่อง ‘ยำ’ กัน)

2.กลุ่มที่ 2) ถ้า...ทำอย่างกลุ่มที่ 3)

3.กลุ่มที่1 ) ถ้า...ทำอย่างกลุ่มที่ 2)


สรุป คนทั่วไป ทุกๆ คน สามารถยกระดับตัวเอง

ขึ้นมาเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการลงทุน

เป็นคนส่วนน้อยได้ ถ้าไม่หยุดนิ่ง รู้จัก ศึกษา

หาความรู้ พัฒนาระดับฝีมือการลงทุนของตัวเอง

อยู่เสมอๆ และอย่าลืม! เรื่องการยำความรู้

ทั้งหมดเหล่านี้ ก็คือเคล็ดลับของคนส่วนน้อยนั่นเอง

Friday, July 24, 2009

คนส่วนน้อย

ความเดิม http://imbroker.blogspot.com/2009/07/blog-post_15.html

ก่อนที่ฉัน จะเข้าวงการ เอ้ย ! ไม่ใช่

เข้ามาทำงาน ใกล้ชิดกับตลาดหุ้น

เคยได้ยิน วลี ที่ว่า " คนเล่นหุ้น ใน

10 คน จะมีคนที่ประสบความสำเร็จ

เอาชนะตลาดได้ แค่ คนเดียว "


โปรดฟัง อีกครั้งหนึ่ง......

แค่ 1 คน เท่านั้น จาก 10 คน

เอ แล้วเราเป็นพวกไหนหว่า อยู่ใน

พวก 9 คน หรือ 1 คน???


ถ้าความรู้ เรื่องความน่าจะเป็น (prob)

ในสมัยมัธยม ยังพอใช้การได้บ้าง

คุณคงมีคำตอบ อยู่ในใจแล้ว

แต่ถ้าคืน ความรู้ ให้ครู ไปหมดแล้ว

แนะนำ ให้ไปฟื้นความรู้ นั้นใหม่

เพราะความรู้ เรื่องความน่าจะเป็น

หรือ probability นี้ สำคัญมากสุดๆ

เพราะมันเป็นกุญแจ ช่วยไขไปสู่

การตัดสินใจของคุณ


ไม่ว่าคุณจะเคยเรียนรู้อะไรมา

ทั้งเรื่อง การวิเคราะห์ทางเทคนิค

ทางพื้นฐาน หรือวิธีอื่นๆ อีกร้อยแปด

พันประการ ไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องหุ้น

แม้แต่ในชีวิตประจำวัน ในท้ายที่สุดแล้ว

การตัดสินใจ จะเป็นปราการด่านสุดท้าย

จริงมั้ย??? หลังจากนั้นก็ต้องรอรับผล

จากการตัดสินใจ action ของเราต่อไป

(แล้วจะมาอธิบายความสำคัญของ prob

ในคราวตอ่ๆ ไป ละกัน)


กลับมาสู่ เรื่อง ของ 10 ชนะแค่ 1

บอกอะไร เราบ้าง???
.
.
.
ถ้าอยาก 'ชนะ' ต้องเป็น 'คนส่วนน้อย' ให้ได้

เพราะคนส่วนมาก (9 คน) 'แพ้'


ลองคิด ต่อไป อีกนิด

ก็ถ้าเราใช้ วิธีเดียวกับคนทั่วไปใช้

ผลที่ออกมา ก็จะเหมือนกัน ถูกมั้ย?

ผลออกมา เหมือนคนทั่วไป ซึ่งเป็น

คนส่วนใหญ่ ก็แสดงว่า แพ้ หรือเปล่า

ไม่ได้ แพ้ 100% หรอก อาจจะมีคน

ที่ทำผลตอบแทน ได้ไล่เลี่ย กับตลาดอยู่บ้าง


ถามว่า ถ้าเราเสียเวลาในการศึกษา

หาวิธีลงทุน และยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น

ในการลงทุน โดยตรงในตลาดหุ้น

แล้วได้ผลตอบแทนเท่าๆ กับตลาด เช่น

ตลาดขึ้น 5% เราทำได้ใกล้เคียง โดยได้

4% กว่าๆ หรือ อาจได้ถึง 6%

เราเอาเงินไปลงในกองทุน ที่สามารถ

ทำผลตอบแทนได้ ใกล้เคียงตลาด

หรือว่าจะลงทุน ใน ETF ก็ได้ อย่าง TDEX

ไม่ดีกว่าหรือ แทนที่เราจะต้องมาเสียเวลา

คอยดูแลพอร์ต ซึ่งไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เราเสียไป

(สมมติฐานว่า ทุกคนคิดว่า เวลาเป็นของมีค่า

ไม่รวมพวก ที่มีชีวิตอยู่ เพื่อทำหน้าทีหายใจ

คายคาร์บอนไดออกไซด์ออก ไปวันๆ)

ตอนนี้ขี้เกียจพิมพ์แล้ว คราวหน้าจะมาต่อ

จะเป็น คนส่วนน้อย ให้ดี ได้ยังไง

ความผิดพลาดสามัญ 19 ประการ ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ

ความผิดพลาดสามัญ 19 ประการ

ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ

(Nineteen CommonMistakes Most Investors Make)

จาก How to Make Money in Stocks

ของ William J. O Neil

1. รั้นที่จะถือขาดทุนไว้ เมื่อเป็นจำนวนเล็กน้อย

และสมเหตุสมผล(Stubbornly holding onto

losses when they are small and reasonable.)

ข้อนี้ เป็นความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นมาก

เป็นอันดับหนึ่ง (นาย O Neil มีกฏให้ทำ Cut loss

ทันทีเมื่อขาดทุนไป 7-8%)



2. ซื้อตอนหุ้นตก นั่นคือการตอกย้ำความลำเค็ญ

(Buying on the way down in price,

thus ensuring miserable results.)

หุ้นที่กำลังตกลงมา ถูกกว่า เมื่อสัปดาห์ก่อน

ดูท่าว่าถูกดี แต่ จะจ้องรับกริชที่กำลังหล่นไปไย


3. ซื้อเฉลี่ยตอนลงมากกว่าตอนขึ้น

(Averaging down in price rather than up when buying.)

นี่คือการเอาเงินดี ไปปนเงินเลว

เป็นกลยุทธ แบบมือสมัครเล่น ที่จะนำไปสู่การขาดทุนหนักๆ


4. ซื้อหุ้นราคาต่ำจำนวนมาก แทนที่จะซื้อหุ้นราคาสูง

จำนวนน้อย (Buying large amounts of low-priced

stocksrather than smaller amounts of higher

priced stocks.) หุ้นคุณภาพดีราคาไม่มีต่ำ

(ลองเทียบ PTT/340++ กับ TMB/1.20++)

ควรซื้อหุ้นที่ดีที่สุด (ไม่ใช่ถูกที่สุด)


5. อยากรวยเร็ว ไม่อยากออกแรง (Wanting to make

a quick and easy buck.) โลภมากใจร้อนจี๋

มีโอกาสใจด่วน โดดเข้ากองไฟแล้วเสียดาย

ไม่อยาก Cut loss เมื่อพลาด


6. ซื้อตามเขาว่า (Buying on tips, rumors,

split announcements,and other news hear

from supposed market experts on TV.)

หรืออีกนัยหนึ่ง เอาเงินที่ตนสะสมมา

อย่างยากเย็น ไปเชื่อตามคนอื่น แทนที่จะใช้เวลา

ฝึกศึกษาให้รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร


7. เลือกหุ้นชั้นรอง เพราะได้ปันผลหรือ P/E ต่ำ

(Selecting second-rate stocks because of

dividends or low price-earnings ratios.)

มีปัจจัย ข้อมูลอื่นๆ อีกมากที่สำคัญกว่า

เงินปันผล หรือ P/E (เช่นอัตราการเติบโต)


8. ไม่ยอมถอย แม้จะเลือกผิด และไม่รู้จริง

ในการหาบริษัท ที่พบความสำเร็จ (Never getting

out of the starting gate properly due to poor

selection criteria and not knowing exactly

what to look for in a successful company.)

หลายคน หลงอยู่กับหุ้นปลายแถว ที่มีข้อมูลคลุมเครือ


9. ซื้อหุ้นที่คุณคุ้นชื่อ (Buying old names you're

familiar with.) แค่ที่คุณเคยทำงานการบินไทย

ไม่จำเป็น ต้องเป็นเหตุ ให้เป็นหุ้นดี ที่คุณควรซื้อ

มีหุ้นดีๆเกิดใหม่ขึ้นมาได้เสมอ


10.ไม่มีปัญญาจดจำ ทำตามข้อมูลคำแนะนำที่ดี

(Not being able to recognize (and follow)

good information and advice.) ญาติ มิตร

โบรกเกอร์ และ การบริการให้คำแนะนำต่างๆ

อาจเป็น -ต้นตอ- ของคำแนะนำที่เลว

มีนักกีฬามืออาชีพ เพียงน้อยนิด

ที่โด่งดังโดดเด่นจริงๆ


11. ดูกราฟไม่เป็น และไม่กล้าซื้อเมื่อเป็น

"new high" (Not using charts and being

afraid to buy stocksthat are going into

new high ground in price.) คนมากกว่า 98%

คิดว่าราคาที่ new high แพงไป...แล้วก็ตกรถ


12. ชอบขายหมู แต่ชอบกอดของเน่า

(Cashing in small, easy-to-take profits

while holding the losers.) อีกนัยหนึ่ง

ควรทำตรงกันข้าม คือ ให้โอกาสเวลา

เพื่อทำกำไรและรู้จัก cut loss


13. เป็นกังวลเกินไป กับค่าภาษีและค่าคอม

(Worrying too much about taxes and commissions.)

(บ้านเราคงไม่เป็นนักเพราะไม่แพงอย่างเขา)


14. จดจ้องรู้แต่ตอนซื้อ แต่ไม่รู้ตอนขาย

(Concentrating your time on what to

buyand once the buy decision is made,

not undetrstanding when or underwhat

conditions the stock must be sold.)

ส่วนมาก ทำการบ้าน แค่ครึ่งเดียว


15. ไม่เข้าใจ ความสำคัญ ของการซื้อหุ้นคุณภาพ

และการดูทางเท็คนิค เพื่อปรับปรุงการเลือกของตน

(Failing to understand the importance of

buying quality companieswith good institutional

sponsorshipand the importance of learninghow

to use charts to significantly improve selection and timing.)


16. ชอบเก็งกำไรหนักๆ พวก W/Cเพราะเชื่อว่า

เป็นทางลัดรวยเร็ว (Speculating too heavily in options

or futuresbecause they're thought to be a way to

get rich quick.)(คนที่ชนะคงค้าน -แต่มีกี่คนไม่รู้)


17. ไม่ค่อยทำตามตลาด แต่ชอบเคาะเพดาน

(Rarely transacting "at the market" and

preferring to put price limits on their buy

and sell orders.) (เลยชวดขายชวดซื้อ)


18. ละล้าละลังไม่รู้เวลาลงมือ (Not being able to

make up your mind when a decision needs

to be made.) (หลายคนไม่รู้เวลาจะซื้อ จะขาย

จะถือ ดูกระทู้ในสินธรก็ท่วมไปหมด)


19. ซื้อหุ้นอย่างไม่มีเป้าหมาย (Not looking at

stocks objectively.) ชอบซื้อตัวที่ชอบแล้วนั่งภาวนา

แทนที่จะสนใจศึกษา

Monday, July 20, 2009

หนี้ท่วมเมฆ ชาวโลกลอยคอ?

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชนรายวัน วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11450

เมื่อ พ้นวิกฤตเศรษฐกิจของโลกครั้งนี้แล้ว

หนี้สาธารณะของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะ

ประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นสูงมากเป็นพิเศษ

ปรากฏการณ์นี้ มีนัยยะสำคัญ หลายประการ

ที่สาธารณชนพึงรับทราบไม่ใช่ แต่ประเทศไทยเท่านั้น

ที่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ หนี้สาธารณะ (หนี้ที่รัฐบาล

เป็นลูกหนี้ เนื่องจากกู้มาใช้ เช่น กู้จากประชาชน

ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล กู้จากสถาบันการเงิน

ต่างประเทศ ฯลฯ) จะเพิ่ม จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

คือ ประมาณร้อยละ 40 ของ GDP เป็น 50

เป็น 60 หรือแม้แต่ 70 หากยังดื้อยาอย่างยิ่ง

จนต้องกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบ ด้วยรายจ่ายมหาศาล

(ขออย่าให้เกิดขึ้นจริงเลย เพราะไม่ใช่เรื่องสนุก

แม้แต่น้อย แต่ก็จำต้องทำ)นิตยสาร Economist

ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำตัวเลขต่างๆ รวมทั้งที่

IMF ได้คำนวณไว้ มาเปิดเผยอย่างน่าสนใจ

ขอนำข้อมูลบางส่วน มาใช้ในข้อเขียนนี้

10 ประเทศ ที่รวยสุดของโลก จะมีหนี้สาธารณะ

รวมกันเพิ่มจากร้อยละ 78 ของ GDP ในปี 2007

เป็นร้อยละ 106 ในปีหน้า และเป็นร้อยละ 114

ในปี 2014 โดยเฉลี่ย ประชากรแต่ละคนจะมีหนี้

เฉลี่ยคนละ 50,000 เหรียญสหรัฐ (เกือบ 2 ล้านบาท)

สาเหตุที่หนี้เพิ่มมากมาย ระหว่างปี 2007 ถึง 2010

รวมกันถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ก็เนื่องมาจาก

รายจ่ายที่จำเป็น ของภาครัฐในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ

ที่มีสาเหตุ จากเรื่องการเงิน (เช่น อุ้มสถาบันการเงิน

อุ้มอุตสาหกรรมที่จะล้ม อุ้มบริษัทยักษ์ใหญ่ ฯลฯ)

ตลอดจน กระตุ้นเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่ ขอยกตัวเลข

ของบางประเทศ ในเรื่องหนี้สาธารณะที่น่าสนใจ

ระหว่างยอดปี 2007 และปี 2014 เช่น ญี่ปุ่น

จะเพิ่มจากร้อยละ 170.6 ของ GDP เป็นร้อยละ 234.2

สหรัฐอเมริกาจะเพิ่มจากร้อยละ 62.9 เป็น 106.7

เยอรมันนีจากร้อยละ 65.5 เป็น 91.0

อังกฤษจากร้อยละ 46.9 เป็น 87.8

เกาหลีใต้จากร้อยละ 28.9 เป็น 51.8

สเปนจากร้อยละ 42.7 เป็น 69.2 ฯลฯ


สำหรับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ มาแรงใหม่

ตัวเลขพยากรณ์ระหว่าง 2009 ถึง 2014 นั้น

มีแนวโน้มจะกลับมาเกือบเท่าเดิมคือร้อยละ 40

ของ GDP หากสถานการณ์เป็นปกติ

และหากสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ก็จะอยู่ประมาณ

เกือบร้อย ละ 45 ของ GDP

ส่วนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในสถานการณ์ปกติ

จะอยู่ที่ร้อยละ 115 ของ GDP ในปี 2014

และในสถานการณ์เลวร้ายสุด จะอยู่ที่ประมาณ

ร้อยละ 150 ของ GDP กล่าวโดยสรุปก็คือ

ในระยะเวลาปานกลางคือ 2009-2014

หลับตาลง ก็จะเห็นแต่หนี้ๆ ๆ ๆ สาธารณะ

ในเกือบทุกประเทศ

คำตอบก็คือแล้วมันจะทำให้เกิดอะไรขึ้น?



จากการศึกษา 14 วิกฤตร้ายแรง

ของสถาบันการเงินในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา

Carmen Reinhart แห่ง University of Maryland

และ Ken Rogoff แห่ง Harvard University

พบว่า(ก) มีการไม่สามารถใช้หนี้คืนบางครั้งเกิดขึ้น

(พันธบัตรครบอายุแต่ไม่มีเงินจ่ายเงินต้นหรือดอกเบี้ย

จนต้องต่ออายุออกไปหรือมีวิธีการแก้ไขอื่นๆ)

(ข) เกิดเงินเฟ้อที่รุนแรง

(ค) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลง

เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในเวลาต่อมาที่

ขอขยายความก็คือ ข้อ (ข) เงินเฟ้อที่รุนแรง

รัฐบาลบางประเทศเมื่อเก็บภาษีไม่ได้เพียงพอ

กับรายจ่าย ก็มักจ่ายด้วยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม

เพื่อแก้ไขปัญหา (หากเงื่อนไขทางการเมืองเหมาะสม

มีอำนาจบังคับธนาคารกลาง ของประเทศ

ซึ่งเป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินให้พิมพ์ ธนบัตรเพิ่ม ฯลฯ)

เมื่อมีปริมาณธนบัตร เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้น ของสินค้าและบริการ

ราคาสินค้า ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เงินเฟ้อรุนแรง

ก็อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อรุนแรง

ที่เกิดขึ้น บ่อยครั้งเกิดจากความจงใจ ของภาครัฐ

ที่จะลดภาระหนี้สาธารณะ กล่าวคือเมื่อราคาสินค้า

โดยทั่วไปสูงขึ้น มูลค่าหนี้สาธารณะที่แท้จริงก็ลดลง

หรืออธิบายอีกอย่างว่า เมื่อเกิดเงินเฟ้อขึ้น

GDP ที่เป็นตัวเงิน ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

สัดส่วนหนี้สาธารณะ ก็จะลดลงเพราะ

ยอดหนี้สาธารณะ ไม่ได้เปลี่ยนแปลง

หรืออาจอธิบายว่า เมื่อมีเงินเฟ้อรัฐก็จะเก็บภาษี

ได้มากขึ้น การลดภาระหนี้สาธารณะก็ทำได้สะดวกขึ้น



สำหรับวิกฤตครั้งนี้ เมื่อมีหนี้จนล้นออกมาทางใบหูแล้ว

จะมีอะไรเกิดขึ้นในระยะปานกลางสำหรับบ้านเรา?

คำตอบก็คือ(ก) ปัญหาเรื่องไม่มีเงินจ่ายเมื่อพันธบัตรครบอายุ

มีความเป็นไปได้ต่ำ เพราะรัฐบาลมีลูกเล่นได้ตลอดเวลา

เช่น อาจออกพันธบัตรมาทดแทน ด้วยอัตราดอกเบี้ย

ที่สูงกว่าเก่ามาก คนถือเดิมก็คงพอใจ เพราะหาก

ไม่อยากถือต่อไปก็ขายได้ราคาดี

(ข) อัตราดอกเบี้ยมีทางโน้มที่จะสูงขึ้น เพราะรัฐบาล

ได้แย่งชิงเงินออมของประชาชน ไปจากภาคเอกชน

ที่ต้องการลงทุนเหมือนกัน เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น

สองภาคนี้ ก็จะแย่งชิงกันชัดเจนขึ้น ต่างก็ต้องเสนอ

ให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม จนสร้างแรงกดดัน

ให้อัตราดอกเบี้ยขยับตัวขึ้น

(ค) ต้องระวังเงินเฟ้อจากต่างประเทศ เพราะประเทศรวย

อาจใช้วิธีลดภาระหนี้ ด้วยการ จงใจให้ราคาสินค้าทั่วไป

สูงขึ้นดังได้กล่าวถึงแล้ว การจงใจนี้อาจทำทีละเล็กน้อย

หรือมีตัวช่วย คือราคาน้ำมันจ ะขยับสูงขึ้น

(สูงขึ้นแน่นอนในอนาคต สูงขึ้นเท่าใดและเมื่อใดเท่านั้น)

เมื่อประเทศใหญ่มีเงินเฟ้อขึ้น ก็ต้องมีผลกระทบ

ต่อบ้านเราในทิศทางเดียวกันมากบ้างน้อยบ้างเป็นธรรมดา

มีความเป็นไปได้สูง ที่อสังหาริมทรัพย์จะขยับตัวตามทิศทางนี้

(ง) หากรัฐบาล แย่งชิงทรัพยากรการเงินมากเกินไป

ก็จะมีเหลือ ให้ภาคเอกชนเอาไปลงทุนได้น้อย

สถานการณ์นี้ จะกระทบอัตราการเจริญเติบโต

ของเศรษฐกิจในระยะยาวได้ เนื่องจาก โดยทั่วไป

การลงทุนของภาครัฐมีผลิตภาพ (productivity)

ต่ำกว่าของภาคเอกชน ซึ่งการเจริญเติบโต

ของเศรษฐกิจที่ต่ำ จะนำไปสู่สารพัดปัญหาต่อไป

เช่น การว่างงาน การเก็บภาษีได้ต่ำ

การไม่สามารถ ลดภาระหนี้สาธารณะ

มาตรฐาน การครองชีพ ของประชาชน

ซึ่งวัดโดยรายได้ที่แท้จริงต่อหัวไม่สูงขึ้น ฯลฯ

หนี้ในรูปแบบใด ไม่ว่าหนี้สาธารณะหรือหนี้เอกชน

หรือหนี้ส่วนตัว ล้วนไม่ดีทั้งนั้น เพราะเมื่อยืมมาแล้ว

ต้องใช้คืน และความสามารถในการใช้คืนในอนาคตนั้น

ไม่มีความแน่นอนอย่างไรก็ดี บางครั้งก็เป็นสิ่งจำเป็น

ดังเช่นกรณีของหนี้สาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

และเพิ่มพูนศักยภาพในการ แข่งขันของประเทศ

ในอนาคต ประเด็นที่ต้องแน่ใจ ก็คือหนี้เหล่านี้

จะต้องมี คุณค่าดังที่ได้ตั้งใจไว้

ไม่ใช่รั่วไหลเป็นน้ำพริกไหลไปตามสายน้ำ

10หนังสือการลงทุนคลาสสิก (ตอนที่1)

ทุกวันนี้ หากจะศึกษาหาความรู้ ด้านการลงทุน

แทบไม่ต้องใช้เวลานานนัก แค่เปิดอินเทอร์เน็ต

แล้วจัดการ ดึงข้อมูลที่ต้องการได้เลย

ตรงกันข้าม ถ้าต้องการข้อมูลเชิงลึก

และมีรายละเอียดต้องค้นคว้าในหนังสือ

ที่บรรดากูรูด้านการลงทุน

และสัปดาห์นี้ ขอแนะนำหนังสือด้านการลงทุน

นักลงทุนรุ่นใหม่ รุ่นเก่า รวมถึงนักศึกษา

คนทั่วไปที่ต้องหยิบขึ้นมาอ่าน ซึ่งว่ากันว่า

ถ้ายังไม่ได้อ่านหนังสือเหล่านี้

อย่าเพิ่งกระโดดเข้าสู่โลกการลงทุน


The Intelligent Investor” (1949)

โดย Benjamin Graham

หนังสือเล่มนี้ถึงแม้จะรับใช้นักลงทุนมาแล้ว

ราวๆ 60 ปี แต่เนื้อหายังคงใช้ได้กับตลาด

ทุกสภาวะ โดยโครงสร้างของหนังสือ

ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับเลย

เพราะแก่นของการลงทุนอยู่ที่การวิเคราะห์

กระบวนการลงทุนเก็งกำไร การรับมือกับความผันผวน

การบริหารพอร์ตลงทุน วิเคราะห์หุ้น การลงทุนใน

กองทุนรวม และการป้องกันความเสี่ยง

หลักการลงทุนของ Benjamin Graham

จะเน้นถึงการลงทุน ในระยะยาวและหลีกเลี่ยง

การเก็งกำไรบ้าคลั่ง เขาให้ความสำคัญ

กับระเบียบวินัย ในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

รู้จัก “นายตลาด” และสร้างประโยชน์

จากพฤติกรรมของ “นายตลาด”

พิจารณาอย่างรอบคอบในการลงทุน

ความคาดหวังที่นักลงทุนควรมีต่อการลงทุน

มีคนบอกเอาไว้ว่า หลักการลงทุนของเขานั้น

ทำได้ไม่ยากเย็น แต่ใครที่คิดจะทำตามนั้น

ช่างยากเย็นนัก โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นของการลงทุน

เพราะต้องเอาชนะใจตัวเอง แต่ที่เห็นๆ กันทั่วตลาด

ล้วนแต่มีความ “โลภ” กันทั้งนั้น



Common Stocks and Uncommon Profits

(1958) โดย Philip Fisher เขาเคยบอกว่าในการศึกษา

สถิติการลงทุนทั้งหมด ทั้งของตัวเองและคนอื่น

มี 2 สิ่ง ที่มีอิทธิพลสำคัญ ในการที่ทำให้เขาเขียนหนังสือ

เล่มนี้ขึ้นมา อันแรกคือ ความจำเป็นที่จะต้องอดทน

ถ้าจะทำกำไร ให้ได้มากจากการลงทุน พูดง่ายๆ คือ

เป็นเรื่องง่ายกว่า ที่จะบอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับราคาหุ้น

มากกว่าว่า จะใช้เวลาเท่าไรมันถึงจะเกิด

และลักษณะประจำตัว ที่มักจะทำให้เราหลงผิด

ของตลาดหุ้น นั่นก็คือ การทำในสิ่งที่คนอื่นกำลังทำ

ในขณะนั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณมีความรู้สึก

อยากจะทำอย่างทนไม่ไหว จึงมักเป็นสิ่งที่ผิด

หนังสือนี้จะสอนให้ นักลงทุนพิจารณาปัจจัย

ทางคุณภาพ มากกว่าปัจจัยทางปริมาณ

ซึ่งหลักการนี้ ต่างจากหลักการของเกรแฮม

ที่สอนให้นักลงทุนศึกษาปัจจัยทางปริมาณ

ปัจจุบันมีแนวคิด และหลักการต่างๆ ประยุกต์

และแตกแขนงออกไป จากหลักการพื้นฐาน

แต่ทุกแนวคิด ก็ยังต้องอิงกับปัจจัยทางปริมาณ

และปัจจัยทางคุณภาพ ร่วมกันเพื่อประเมิน

มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม


Learn To Earn” (1995) โดย Peter Lynch

แม้ว่า Peter Lynch จะเขียนให้เด็กวัยรุ่นอเมริกันอ่าน

แต่จริงๆ แล้วใช้ได้กับเด็กทั่วโลก เพราะเนื้อหา

ไม่ได้เน้น แค่เรื่องตลาดหุ้นอย่างเดียว แต่จะเน้น

พื้นฐานของความมั่งคั่ง ว่าต้องเริ่มจากการเก็บออม

ไม่ฟุ่มเฟือย แต่เมื่อมีเงิน ควรจะนำไปเก็บออมอย่างไร

ถึงจะออกดอก ออกผล รวมถึงมีเนื้อหากับการอ่าน

งบการเงินเบื้องต้นด้วย ซึ่งสามารถกระตุ้น

ต่อมสำนึกด้านการออมของเด็กๆ ด้วย

อย่างเช่น เมื่อถึงวันเกิดแทนที่จะขอเงินคุณพ่อ

คุณแม่ไปซื้อรองเท้าไนกี้ ลองเปลี่ยนความคิด

ด้วยการขอเงินไปซื้อหุ้นไนกี้แทน

ผู้เขียนพยายามสอน ให้เด็กๆ มีความสนใจ

ที่จะลงทุนตั้งแต่ อายุยังน้อย เริ่มตั้งแต่เล่าถึง

ประวัติศาสตร์ด้านตลาดเงินตลาดทุน

สไตล์สนุกสนาน ที่ไม่ค่อยจะมีใครสอน

ตลอดจนพัฒนาการต่างๆ กว่าจะมาเป็นตลาดหุ้น

ที่เห็นกันทุกวันนี้ จากนั้นก็เล่าถึงหัวใจสำคัญ

ของการลงทุน ซึ่งก็คือเรื่องของเวลา

ที่เขาแนะนำให้ทุกคนเริ่ม ลงทุนทันทีที่มีโอกาส

และยังย้ำด้วยว่า ถ้าใครมีเวลาในการลงทุนมากๆ

สามารถลงทุนในหุ้นได้เลย ไม่ต้องซื้อตราสารหนี้

ให้เสียโอกาส แถมยังบอกด้วย ว่ากองทุนที่ลงทุน

ในหุ้นจะเป็นเครื่องมือที่ดี จากนั้นก็บอกวิธีเ

ลือกหุ้น 5 วิธีตั้งแต่วิธีที่แย่ที่สุด ไปจนถึงวิธี ที่ดีที่สุด


A Random Walk Down Wall Street” (1973)

โดย Burton G. Malkiel

หนังสือที่ให้แนวคิด ด้านการลงทุน

ที่ไม่ได้เขียนโดยนักขาย หรือ Salesman

แต่เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์การเงิน (Financial Economist)

ว่ากันว่า เป็นหนังสือที่สอนด้านการลงทุน ที่ดีที่สุด

ตั้งแต่ยุคบุกเบิก ของคอมพิวเตอร์จนถึงการล่มสลาย

ของ ธุรกิจดอตคอม

คำว่า “Random Walk” หมายความว่า

ราคาของหุ้น ในระยะสั้นไม่สามารถทำนายได้

หรือการเคลื่อนไหว ของราคาในระยะสั้น

เอาแน่เอานอนไม่ได้ พูดง่ายๆ ใครที่คิดจะทำกำไร

ด้วยการเก็งกำไรไปวันๆ ในระยะยาวแล้ว

อาจจะขาดทุนมากกว่ากำไร

หนังสือเล่มนี้สอนให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง


Common Sense on Mutual Funds” (1999)

โดย John Bogle ใครที่กำลังให้เงินทำงาน

ผ่านกองทุนรวม ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ก่อน

เพราะจะทำให้รู้ ถึงการทำธุรกิจกองทุนรวม

ตั้งแต่ต้นจนจบ ว่าพวกเขาทำกันอย่างไร

แล้วเราในฐานะลูกค้า (เจ้าของเงิน)

มีเกราะป้องกันตัวเอง อย่างไร เพื่อไม่ให้

ถูกเอารัดเอาเปรียบ

พฤติกรรม ของกองทุนรวมที่เป็นอยู่ในตลาด

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าธรรมเนียมที่สูง

ค่าใช้จ่ายเกินจริง การเปลี่ยนผู้จัดการบ่อย

เพื่อแย่งตัวกัน และกองทุนที่ออกมา

ตามใจตลาดเกินจำเป็น แล้วพูดถึงผลตอบแทน

และความเสี่ยง ที่ระบุในหนังสือนี้

เป็นสิ่งที่สามารถ พบเห็นได้ทั่วไป

ในธุรกิจกองทุนรวม บอกได้เลยว่าผู้เขียน

บอกเล่าถึงกองทุนรวมได้อย่างถึงพริกถึงขิง

และไม่ได้มองแค่ด้านดีเท่านั้น แต่ยังบอก

เอาไว้ว่า ไม่ว่าธุรกิจไหนก็ตาม คำว่า “กำไรสูงสุด”

คือสิ่งที่ปรารถนา ส่วนลูกค้า (ผู้บริโภค)

มักจะมาตามหลังตลอดเวลา

จาก หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รายงานโดย :ธนาคารเกียรตินาคิน kkbank@kiatnakin.co.th:

Friday, July 17, 2009

เอา Ebook (เทคนิคัล) มาฝากกัน

How To Indentify High-Profit Elliott Wave Trades in Real Time
http://www.slingfile.com/file/LH5QNxfixn

Technical Analysis From A to Z
http://www.slingfile.com/file/26391-307397360d.html

Applying technical analysis Elliot Waves คูมือการใช้โปรแกรม Advanced Get
http://www.slingfile.com/file/26388-2893767c11.html

John J.Murphy - Technical Analysis Of The Financial Markets
http://www.slingfile.com/file/26387-2316020f62.html

หนังสือที่บอกเกี่ยวกับเรื่อง Volume
http://www.slingfile.com/file/44665-4265889e24.html
http://www.slingfile.com/file/27192-6278567450.html

หนังสือเทคนิเคิล ของ อ.สุรไชย จาก asp
http://www.slingfile.com/file/3787990fa5

The Warren Buffett Way - Second_Edition
http://www.slingfile.com/file/bTe7msM0Wt

Thursday, July 16, 2009

วิถีมหาเศรษฐี !!! ( ลักษณะของคนที่จะเป็นเศรษฐี )

วิถีมหาเศรษฐี....W. Randall Jones

เขียนหนังสือชื่อ The Richest Man In Town

โดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ คุณสมบัติ

นิสัย แนวความคิด ปรัชญาการใช้ชีวิต

และอื่น ๆ ของคนที่รวยที่สุดในเมืองต่าง ๆ

ของอเมริกาจำนวน 100 คน เขาพบลักษณะร่วม

ของคนที่เป็นมหาเศรษฐี 12 ประการ

มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1) ไม่หาเงินเพื่อเงิน การทำอย่างนั้น

คุณจะไม่ได้เงิน เงินจะมาก็ ต่อเมื่อ คุณทำ

ในสิ่งที่ถูกต้อง และด้วยวิธีที่ถูกต้อง

ทำในสิ่งที่คุณรัก และมีความหลงใหล ที่จะทำ

คุณต้องทำ ในสิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์

แล้วเงินจะมาเอง มันเป็นผลพลอยได้

ในมุมของ VI หรือนักลงทุนเน้นคุณค่า

ผมคิดว่ามันถูกต้องตรงกัน อย่าลงทุนแบบจ้องหา

หรือหมกมุ่น กับผลตอบแทนเกินไป

มีความสุขกับการลงทุน ทำหรือเลือกลงทุน

อย่างถูกต้อง เงินจะมาเอง


2) รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง

ที่สำคัญต้องรู้ว่า อะไรคือความสามารถ

หรือความเชี่ยวชาญ ที่สุดของตัวเอง

ถ้าคุณคิดว่าต้องไปทำงานทุกวัน นั่นก็ผิดแล้ว

งานจะไม่ใช่งาน ถ้าคุณทำแล้วมีความสุข

และเป็นสิ่งที่คุณอยากทำ

วอเร็น บัฟเฟตต์เคยบอกกับซูซี่ อดีตภรรยา

ที่ล่วงลับไป ในตอนที่แต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า

เขาจะต้องรวย เหตุผลไม่ใช่เพราะเขาทำงานหนัก

หรือมีความเก่งเป็นพิเศษ แต่เป็นเพราะเขาเกิดมา

ด้วยทักษะที่ถูกต้อง ในสถานที่ที่ถูกต้อง

และในเวลาที่ถูกต้อง นั่นคือ ทักษะในการ

จัดสรรเงินทุน หรือก็คือ การลงทุนนั่นเอง


3) เป็นนายของตัวเอง คุณไม่สามารถรวยได้

โดยการทำงานให้คนอื่น เรื่องนี้ผมคงไม่ต้องอธิบาย

กับ Value Investor เพราะนักลงทุนนั้น

ทุกคนเป็นนายของตัวเอง


4) เสพติดความทะเยอทะยาน คนเราทุกคน

ต่างก็เสพติดอะไรบางอย่าง หรือหลายอย่างในชีวิต

เราติดกาแฟ ติด Internet ติดเหล้า ติดเซ็กส์

ติดอำนาจ เราต้องคิดว่าติดอะไรแล้วจะเป็นประโยชน์

มหาเศรษฐีบอกว่า “ไม่มีความมั่งคั่งถ้าไม่มีความทะเยอทะยาน”

ทำอะไรสำเร็จแล้ว ก็ต้องพยายามทำให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม ความทะเยอทะยานนั้นมีด้านมืด

มันอาจทำให้เรา มีความมั่นใจในตัวเองสูงเกินไป

และเป็นอันตราย ความทะเยอทะยานนั้นmควรจะมี

วัตถุประสงค์ชัดเจน และเราจะต้องไม่ปล่อยให้มัน

อยู่เหนือการควบคุมของเรา


5) ตื่นเช้า มาถึงก่อน เริ่มตั้งแต่อายุน้อย

ในเรื่องของการทำงานทั่วไป และในฐานะของผู้บริหาร

หรือผู้ประกอบการนั้น ผมคิดว่าต้องทำทั้งสามเรื่อง

แต่ในเรื่องของการลงทุนนั้น ผมคิดว่าการเริ่มตั้งแต่อายุน้อย

นั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

และเป็นเศรษฐี ได้ง่ายที่สุด แนวทางข้อนี้

ค่อนข้างจะต้องสัมพันธ์กับข้อสอง

นั่นคือ ถ้าคุณสามารถค้นพบตัวเอง ว่าเก่งทางไหน

ตั้งแต่อายุน้อย ความสำเร็จก็ไม่หนีไปไหน


6) อย่าตั้งเป้าหมาย ลงมือทำให้สำเร็จทีละน้อย


เดินหน้าไปทุกวัน เป้าหมายหรือแผนธุรกิจนั้น

พอเขียนเสร็จ ก็ล้าสมัยแล้ว มหาเศรษฐีบางคน

ไม่มี Business Plan และไม่ตั้งแม้แต่เป้ายอดขายด้วยซ้ำ

ข้อนี้ฟังดูเหลือเชื่อ ผมคิดว่าเป้าหมายคงอยู่ในใจ

และเป็นเป้ากว้าง ๆ ที่จะช่วยบอกทิศทาง

พวกเขาเน้น ที่การปฏิบัติ ว่าต้องได้ผล

มากกว่าการตั้งเป้า แต่ปฏิบัติไม่สำเร็จ

นักลงทุนเองก็ควรคิดว่า Execution

หรือการปฏิบัตินั้น สำคัญกว่าเป้าหมายมาก

ถ้าเราลงทุนแล้วพอร์ตเราโตขึ้นเรื่อย ๆ

นี่แหละความสำเร็จ


7) อย่ากลัวความล้มเหลว ทางเดียวที่จะประสบความสำเร็จ

ก็คือ กล้าที่จะล้มเหลว และล้มเหลวต่อหน้าสาธารณชนด้วย

ทุกคนจะต้องเคยล้มเหลวมาบ้าง ไม่มีใครประสบความสำเร็จตลอด

โดยที่ไม่มีความล้มเหลวมาคั่น ถ้าเรากลัวความล้มเหลว

เราจะไม่กล้าทำอะไร ว่าที่จริง ไม่มีคำว่าล้มเหลว

ยกเว้นว่าคุณจะเลิก การลงทุนนั้นก็เช่นเดียวกัน

ไม่มีทางที่คุณจะประสบความสำเร็จตลอด

อย่าเลิกเมื่อขาดทุนหนัก สู้ต่อไป วันหนึ่งเราจะชนะ


8) ทำเลไม่สำคัญ ทำเลที่ว่านี้คือสถานที่ที่คุณอยู่

หรือที่ที่คุณทำงาน ไม่ว่าคุณจะอยู่เมืองไหน

คุณสามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่ต้องย้าย

ไปอยู่เมืองใหญ่หรือเมืองธุรกิจหลัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบันที่เรามีเครือข่าย

การสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพ ว่าที่จริง บัฟเฟตต์นั้น

อยู่ที่เมืองโอมาฮา รัฐเนบราสกา ซึ่งเป็นเมืองทางการเกษตร

มาตั้งแต่เริ่มธุรกิจลงทุนเมื่อ 50 ปีก่อน ที่การสื่อสารยังไม่ดีนัก

แทนที่จะอยู่ที่นิวยอร์ค หรือบอสตันที่เป็นศูนย์กลาง

ทางการเงินและการลงทุน ผมเองคิดว่านักลงทุน

ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่กรุงเทพ ถึงจะประสบความสำเร็จ

ในการลงทุน ว่าที่จริง ยิ่งห่างอาจจะยิ่งดี


9) ยึดมั่นในจรรยาบรรณทางธุรกิจ นี่เป็นกฎเหล็กที่สำคัญที่สุด

วอเร็น บัฟเฟตต์ พูดว่า “ชื่อเสียงนั้นใช้เวลา 20 ปีในการสร้าง

แต่ใช้เวลาแค่ 5 นาทีในการทำลาย ดังนั้นคุณต้องสำนึกไว้ตลอดเวลา”


10) เน้นที่การขาย ไม่มีอะไรเกิดขึ้นจนกว่า

บางสิ่งบางอย่างจะถูกขายออกไป นักลงทุนไม่ได้ขายอะไร

แต่ต้องรู้ว่า บริษัทที่เราลงทุนนั้นขายอะไร

และการขาย เป็นหัวใจของความสำเร็จของบริษัท

และเป็นความสำเร็จของราคาหุ้น ในความรู้สึกของผม

ผมคิดว่า VI จำนวนมากชอบดูกำไรซึ่งเป็นบันทัดสุดท้าย

แต่ไม่ค่อยดูยอดขาย ที่เป็นบันทัดแรกในงบการเงิน


11) ขอยืมไอเดียจากคนที่เก่งที่สุดและคนที่แย่ที่สุด

การอ่านประวัติและวิธีคิดของคนที่ยอดเยี่ยมที่สุด

อย่างการลงทุนของบัฟเฟตต์นั้น ผมคิดว่า

ไม่มีอะไรมาทดแทนได้


12) ไม่มีวันเกษียณ การเกษียณจะทำให้ชีวิตคุณล้มเหลว

การเกษียณเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การเกษียณเป็นอันตราย

ต่อความสนุกในชีวิต อันตรายต่อความมั่งคั่งส่วนตัว

นักลงทุนไม่มีวันเกษียณ บัฟเฟตต์ และ มังเจอร์

อายุเกือบ 80 ปีแล้วยังทำงานทุกวัน แม้แต่ปีเตอร์ ลินช์

หรือ จอห์น เนฟฟ์ ที่เกษียณจากการบริหารกองทุนรวม

แต่พวกเขาก็ยังบริหารกองทุนส่วนตัวอยู่

โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

Wednesday, July 15, 2009

คนวิกลจริต

ต่อจาก

http://imbroker.blogspot.com/2009/07/change.html





เห็นcycle ข้างบนแล้ว คิดยังไงกันบ้างคะ

(ภาพนี้ ยืมมาจาก http://www.stock2morrow.com/

ดูแล้ว เข้าใจ ง่ายดี ไม่ต้องอธิบาย ยืดยาว)





(หล่อมั้ย? รูปนี้)


เคยเห็นกันแต่รูปของไอน์สไตน์ ตอนแก่ๆหัวฟูๆ

ลองดูรูปตอนหนุ่มๆ เทียบกันไปด้วย ใครจะรู้

ไอน์สไตน์ ก็มีมุม ที่ดูดีไม่หยอก เหมือนกัน


Albert Einstein ให้นิยามของ 'ความวิกลจริต'

ไว้ว่า 'การทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ว่า...

หวังให้ผล ที่ออกมา เปลี่ยนแปลงไป'


ในกรณีนี้ ก็คือพฤติกรรม ที่ทำอะไรแล้ว

ไม่สำเร็จ แต่ก็ยังคงทำเหมือนเดิม ซ้ำๆ

อยู่นั่นเอง เพื่อที่จะให้มัน สำเร็จขึ้นมาได้

สักวันหนึ่ง...


มีตัวอย่าง คลาสสิค ที่เล่ากันว่า

มีคนทำของหล่นหาย เขาก็พยายาม

จะมองหา ของที่ตกหายไป แต่เนื่องจาก

เป็นเวลา กลางคืน เดือนมืด

จึงมองไม่เห็นอะไรเลย

มีเสาไฟฟ้าต้นหนึ่ง อยู่ข้างถนน

เขาจึงได้แต่เดินหาของ ตามบริเวณ

รอบๆเสาไฟนั้น เพราะเป็นที่เดียว

ที่มีแสงสว่าง พอมองเห็น อะไรได้

มีคำถามว่า ในคืนนั้น เขาจะหาของเจอไหม

ถ้าหากใช้มาตรฐาน ของไอน์สไตน์

คนในเรื่องนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะเป็นคนวิกลจริต


ลองคิดดู คุณเป็นอย่างนั้นมั้ย?

.

.

.

ถ้าการลงทุน ของคุณ เป็นแบบวัฏจักร

ตามภาพ ข้างบน คุณก็อาจเข้าข่ายนี้ได้


ข่าวดี !!! คือ " วิกลจริต แก้ได้ "

โดยคุณ ต้อง Change ไง



ถ้าหากปล่อยให้ ทุกอย่างดำเนินไป

ตามความเคยชิน ปล่อยให้อารมณ์

หรือความเข้าใจ ที่ผิด เป็นตัวขับเคลื่อน

พฤติกรรมทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ คนดี

มีการศึกษา จึงกลายเป็นคนวิกลจริต

ในความหมายของไอน์สไตน์

นักลงทุนที่ดี จึงควรใช้ทั้งสติและปัญญา

หมั่นทบทวน กลยุทธ์การลงทุน อย่างสม่ำเสมอ

ไม่ยอมใช้กลวิธี ที่ล้มเหลวซ้ำสอง

แต่ต้องนำความผิดพลาด ครั้งแรกมาเป็นบทเรียน

หรือต้องต่อยอดสิ่งที่สำเร็จให้พัฒนายิ่งขึ้นไปเสมอ



คราวหน้า เราจะมาต่อกัน ถึงเรื่อง Change

ว่าจะต้องทำยังไง เริ่มจากตรงไหนดี

วันนี้ แค่นี้ก่อนค่ะ

Change

สืบเนื่องจากการ ที่เคยโพสต์ บทความ

เรื่อง เกี่ยวกับ จุดมั่นใจ แต่ยังไม่ได้

มาเขียนต่อ ซะที (ย้อนไปอ่านได้ที่ link ข้างล่าง)

จุดมั่นใจ
http://imbroker.blogspot.com/2009/06/blog-post_15.html


ตาล่า! หา...'ความมั่นใจ'
http://imbroker.blogspot.com/2009/06/blog-post_16.html


มีอะไรใน confidence
http://imbroker.blogspot.com/2009/06/confidence.html มีอะไรใน confidence


ในใจ... กังวลว่า จะเขียนต่อ ดีหรือ ไม่ดี

เพราะการเขียน เกี่ยวกับเรื่อง การลงทุน

โดยเฉพาะ เรื่องหุ้น นี่มันยากนะ

เพราะถ้ากลั่นกรอง เรียบเรียง ได้ไม่ดี

เขียนไปแล้ว ไม่รู้ผู้อ่าน จะเข้าใจ

ตามเจตนา ที่เราต้องการ ถ่ายทอดหรือเปล่า

เกิดเข้าใจ ไปกันคนละประเด็น ล่ะก็

ตายเลย! แทนที่จะได้ "บุญ" อาจกลาย

เป็น "บาป" ก็ได้


ก็เลย ต้องขอออกตัว ซะก่อนเลยว่า

ความเห็น ที่ฉันโพสต์มานี้ กลั่นกรอง

มาจากประสบการณ์ การเป็น marketing

ตลอดระยะเวลา ประมาณ 4ปี กับอีก

6 เดือน ของฉันเอง


ฉันก็เขียนไป ตามความเห็น ความเข้าใจ

จากข้อมูล ที่ได้ สังเคราะห์ออกมา...

จากสมอง ที่มีรอยหยัก อยู่น้อยนิดของฉัน

อาจมีส่วนที่ถูกอยู่บ้าง หรือผิดบ้าง

หรือความเห็น อาจไม่ตรง กับผู้อ่านบ้าง

ก็ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย


ถือว่า เรามาแชร์ความคิด ก็แล้วกัน

ถ้าใครมี ข้อมูล ความเห็น ที่คิดว่าดี

ก็มาช่วยแชร์กัน จะยินดีมากเลยนะคะ


เอ้า!! มาต่อกันเลย สำหรับเรื่อง ที่ค้างไว้

ใครยังไม่รู้เรื่อง กลับไปอ่านได้ที่


จุดมั่นใจ
http://imbroker.blogspot.com/2009/06/blog-post_15.html


ตามล่า! หา...'ความมั่นใจ'
http://imbroker.blogspot.com/2009/06/blog-post_16.html


มีอะไรใน confidence
http://imbroker.blogspot.com/2009/06/confidence.html


กล่าวโดยสรุป ปัญหา 'จุดมั่นใจ'

เป็นเรื่องของการ ตัดสินใจลงทุน

ในเวลา และสถานการณ์ ที่ไม่ถูกต้อง

คือ เรา ตัดสินใจผิด นั่นแหละ

ซึ่งการตัดสินใจ ของเรา ก็มีที่มา

จาก skill หรือ ทักษะ ในการวิเคราะห์

ของเรานั่นเอง


คือเราผิดมาตั้งแต่ต้นน่ะ(ไม่ใช่ตั้งแต่เกิดนะ)

ตั้งแต่เรื่อง สมติฐานของเรา ทฤษฎีที่เราใช้

(ทฤษฎี ไม่ได้ผิดหรอก แต่เราเอามันมาใช้

ผิดที่ ผิดเวลา ผิดสถานการณ์ เช่น คอมพิวเตอร์

ถ้าคุณใช้ ในทางทีถูก ที่ควร มันก็ให้ประโยชน์

มหาศาล แต่ถ้าเอามาใช้ ในทางที่ไม่ดี

ก็มีโทษมหันต์ เช่นกัน) ผสมกับ อารมณ์

กลัว + โลภ เข้าไปด้วย ก็ยิ่งทำให้เรา

มีโอกาส ที่จะตัดสินใจ ได้ผิดพลาด มากขึ้น


แล้วจะแก้ไขได้ ยังไง ????

ง่ายมั้กๆๆมากๆๆๆๆๆๆๆๆ
.
.
.
คำตอบคือ Change เรา ต้องเปลี่ยน!!!

(เลียนแบบ โอบามา มั่ง)

Friday, July 10, 2009

เจาะลึกแนวโน้มการใช้สกุลเงินอื่นทดแทนดอลล์

ANALYSIS : เจาะลึกแนวโน้มการใช้

สกุลเงินอื่นทดแทน ดอลล์ในฐานะ

เงินสำรองหลักของโลก ต่อไปนี้

เป็นการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ

ที่เกี่ยวกับดอลลาร์ ในฐานะสกุลเงิน

สำรองของโลก เพราะเหตุใดจึงควร

มีการใช้เงินสกุลอื่น ทดแทนดอลล์

ในฐานะ สกุลเงินสำรองของโลก

จีนและประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่

อย่างรัสเซีย และบราซิล ถือเป็น

หนึ่งในประเทศ ที่ถือครองสินทรัพย์

ในรูปดอลลาร์ มากที่สุดในโลก

โดยส่วนใหญ่ อยู่ในรูปของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

ซึ่งจีนเป็นประเทศ ที่ครอบครองทุนสำรอง

เงินตราต่างประเทศ มากที่สุดในโลก

สหรัฐ ประสบความยากลำบาก

ในการรักษา มูลค่าของดอลลาร์

โดยร่วงลงลงมาแล้ว เมื่อเทียบกับ

สกุลเงินสำคัญ ราว 33% นับแต่ปี 2002

วิกฤติการเงิน กระตุ้นให้รัฐบาลสหรัฐ

นำเงินหลายล้านล้านดอลลาร์มาใช้

ในการกอบกู้เศรษฐกิจ



ต่อไปภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ค่าดอลลาร์

ดิ่งลงต่อไป จีนจะได้รับผลกระทบ

จากเรื่องนี้มาก โดยเชื่อว่าจีนครอบครอง

ดอลลาร์สัดส่วนราว 70% ในทุนสำรอง

เงินตราต่างประเทศของจีน

ซึ่งมีมูลค่าราว 1.9 ล้านล้านดอลลาร์

การที่สหรัฐ เป็นผู้ผลิตสกุลเงินสำรอง

หลักของโลก ส่งผลให้สหรัฐมีความได้เปรียบ

ซึ่งเป็นการสนับสนุน ความไม่สมดุล

ในระบบการเงินโลก และทำให้รัฐบาลสสหรัฐ

ประสบภาวะขาดดุล ในขณะที่สหรัฐจัดหา

อุปทานดอลลาร์ อย่างต่อเนื่อง

ให้แก่ตลาดโลก


การกักตุน สกุลเงินสำรองในรูปของดอลลาร์

มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะฟองสบู่

ด้านสินทรัพย์ ซึ่ง นักเศรษฐ ศาสตร์บางคน

ระบุว่า การที่จีนนำสกุลเงินสำรอง

ออกมาหมุนเวียน ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ

และมีส่วนทำให้ เกิดภาวะฟองสบู่ใน...

ตลาดที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้

เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน

-----สกุลเงินใดควรจับตามอง----

1.ยูโร ยูโรเป็นสกุลเงินที่ได้รับการซื้อขาย

มากที่สุดในโลก รองจากดอลลาร์

และเป็นสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงมาก

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องง่าย ที่จะซื้อ

และขายพันธบัตร ในรูปยูโร

โดยไม่สร้างความผันผวน ให้กับตลาด

ด้วยเหตุนี้ สัดส่วนของยูโร

ในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั่วโลก

จึงเติบโตขึ้น นับตั้งแต่มีการจัดตั้งสกุลเงินนี้

ในปี 1999 โดยเพิ่มขึ้นจาก 18.1%

สู่ 25.9% ในปัจจุบัน


ขณะที่ธนาคารกลางรัสเซีย ได้ปรับสัดส่วน

การถือครองยูโรกับดอลลาร์ในปริมาณที่เท่ากัน

อย่างไรก็ดี การที่รัสเซียทำเช่นนี้

มีสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการที่มีความสัมพันธ์

ทางการค้า อย่างแข็งแกร่งกับยูโรโซน

ซึ่งมีสมาชิก 16 ประเทศ


อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางยุโรป (ECB)

หลีกลี่ยงการสนับสนุน ให้ใช้ยูโร

เพราะจะเป็น การกระตุ้นความต้องการซื้อยูโร

จะส่งผลให้ ค่าเงินทะยานขึ้น และเป็นอุปสรรค

ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซน

2. หยวน สกุลเงินหยวนของจีน

เป็นสกุลเงินของประเทศที่มี

ประชากร มากที่สุดในโลก

และหลายคน เชื่อว่าจีนจะกลายเป็นประเทศ

ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ มากที่สุดในโลก

ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า จีนได้ทำข้อตกลง

กับประเทศคู่ค้า ในการใช้หยวนมากยิ่งขึ้น

ในฐานะผู้รักษามูลค่าของทุนสำรอง

ถ้าหากจีนได้ก้าวมา เป็นประเทศมหาอำนาจ

ทางเศรษฐกิจ อันดับหนึ่งของโลก

อุปสรรคใหญ่ ทั้งการเงินและการเมือง

จะขัดขวางกระบวนการนี้ ส่งผลให้ต้องใช้

เวลาหลายปี หรือหลายสิบปี กว่าจะสำเร็จได้

โดยจีนจำเป็น ต้องผ่อนคลายมาตรการ

ควบคุมเศรษฐกิจ และระบบการเงินของตน

เพื่ออนุญาตให้หยวน ไหลเวียนได้อย่างอิสระ

และเพื่ออนุญาต ให้ธนาคารกลาง

ของประเทศอื่นๆ และชาวต่างชาติ

ลงทุนในหยวนได้อย่างอิสระ

3. สกุลเงินของประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์

อุปสงค์ในน้ำมัน , โลหะ และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ

อาจกระตุ้น ให้ธนาคารกลางหลายแห่ง

กระจายทุนสำรองบางส่วนของตน

เข้าสู่สกุลเงิน ประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัฑ์

อย่างเช่น ออสเตรเลีย, แคนาดา และนิวซีแลนด์

ปัญหาใหญ่ ก็คือการที่ตลาดสำหรับสกุลเงินกลุ่มนี้

มีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับปริมาณสำรองทั่วโลก

ที่ 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นความเคลื่อนไหว

ของราคาเพียงเล็กน้อย จึงอาจก่อให้เกิดความผันผวน

ที่สูงมาก ในอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินกลุ่มนี้


4. SDR จีนและรัสเซียเสนอแนะว่า

SDR Special Drawing Right ซึ่งเป็นตระกร้า

สกุลเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF

อาจกลายเป็น สกุลเงินสำรองหลักของโลก

การใช้ SDR มากยิ่งขึ้น อาจรวมถึงการสนับสนุน

ให้ใช้ SDR ในการชำระค่าสินค้า

และใช้เป็นสกุลเงินในการทำ ธุรกรรมเอกชน

ระหว่างประเทศ เช่น การกู้เงิน , พันธบัตร

หรือเงินฝาก IMF จะพิจารณาทบทวนองค์ประกอบ

ของ SDR ใน ปี 2010 และมีแนวโน้มว่า

ประเทศเกิดใหม่ จะทำตามอย่างจีน

ในการผลักดันให้ IMF นำสกุลเงินของประเทศตนเอง

ไปรวมไว้ใน SDR ด้วย


นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า

เป็นเรื่องง่ายกว่าสำหรับธนาคารกลาง

ในการปรับสัดส่วน ทุนสำรองของตน

ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของ SDR

รายงานรายไตรมาสของ IMF เรื่อง

“สกุลเงินที่เป็นองค์ประกอบในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ”

แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของดอลลาร์ในทุนสำรอง

ของธนาคารกลาง ทะยานขึ้นในไตรมาสแรก

สู่ 64.9% จาก 64% สัดส่วนดังกล่าว

ถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี

แต่มีสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากความต้องการซื้อ

ดอลลาร์ ในฐานะสกุลเงินที่มีความปลอดภัยสูง

ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงิน

อย่างไรก็ดี สัดส่วนนี้ยังคงอยู่ต่ำกว่าสัดส่วน 73%

ของดอลลาร์ในช่วงต้นปี 2001

ที่มา : http://www.chaloke.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7042#81016

Thursday, July 9, 2009

เลือกหุ้นเหมือนเฟ้นหาส่าวงาม

ไม่ได้ มาเขียนบทความ หลายวัน

หยุดไป หลายวัน คิดว่าจะได้...

พักผ่อน สบาย ๆๆ ที่ไหนได้ ล่ะ

คนมันเคยชิน กับการนั่งหน้าจอ

ดูราคาหุ้น เคลื่อนไหว เขียว สลับแดง

เหลือง หรือ บางทีจะมี ฟ้าและม่วง

เข้ามา แจมด้วย เป็นบางวัน


แต่พอ ไม่ได้เห็นหลายๆ วัน เข้า

มันก็เลย คิดถึง รู้สึกกระสับกระส่าย

กระวนกระวาย อยากให้ตลาดหุ้น

รีบเปิดเร็วๆ จังเลย

เพื่อมาพบเจอ กับความเจ็บปวด

ของใครบางคน และก็พบกับบางคน

ที่รู้สึก Happy มากๆๆ ที่หุ้นลง???

(เพราะได้ SHORT SET50 ไว้)



อยู่ในตลาดนานๆ มันก็จะเป็นอย่างนี้เอง

วันนึงสุข อีกวัน อาจเศร้า ได้

หรือบางที สุข กับ เศร้า อาจห่างกัน

เป็นรายชั่วโมง นาที หรือวินาที

ยังมีให้เห็นเลย ไม่ต้องรอให้ห่างกันเป็นวันๆ


เฮ้อ!!สำหรับฉัน ยิ่งอยู่นาน

ยิ่งซาดิสก์ ขึ้นทุกวันๆ เวลาขึ้น

ก็อยากให้มันขึ้นไปแรงๆ เหยียบมิดเลยเพ่


แต่เวลาลง ก็อยากให้กระซวก!! มันลงมา

ประมาณ ว่า เบรคแตก ยั้งไม่อยู่กันเลย

เอาไงเอากัน ไม่ชอบภาวะเงียบงัน

มันทำไร ไม่ถูก อ่ะนะ

ไม่รู้ คนอื่น จะเป็นเหมือนกัน หรือป่าวนะ


เอาล่ะ รู้สึก จะเพ้อ(เจ้อ) นานเกินไปแล้ว

วันนี้ เอาเรื่อง การเปรียบเทียบการเลือกหุ้น

ในตลาดของ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ มาฝากกัน



จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เปรียบเทียบการเลือกหุ้น

ในตลาดหุ้น เหมือนกับการประกาศ เชิญชวน

ให้คนอ่านหนังสือพิมพ์ เลือกเฟ็นสาวงาม

100 คน จากภาพถ่าย...


'ผู้ชนะ คือ คนที่โหวตเลือกสาวงาม

ได้ตรง กับคนที่ได้รับ คะแนนสูงที่สุด'



กรณีนี้ ย่อมไม่ใช่ การเลือกสตรี ที่เรา

ได้ใช้สติปัญญา ของเราเอง ไตร่ตรอง

วิเคราะห์ อย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน

แล้วเห็นว่า คนไหนหน้าตา สวยที่สุด

ก็เลือก คนนั้น


และยังไม่ใช่ การเลือกผู้หญิง ที่ประชาชน

ทั่วไป เห็นว่าสวยที่สุด อีกด้วย


ขยับขึ้นไป ขั้นที่สาม เป็นการใช้สติปัญญา

คาดเดา อีกทอดหนึ่งว่า คนทั่วไป คิดว่า

คนทั่วไปคนอื่น เห็นว่าใครสวยที่สุด


การเดา อาจยังไม่จบอยู่เพียงแค่นี้

อาจเดา กันต่อๆ ไป ได้อีกถึงขั้นที่สี่

ที่ห้า...


ที่สำคัญ...ที่เล่ามานี่ คุณได้ 'สาวงาม'

ในใจ ของคนอื่น(ทั่วไป) หรือยัง

ถ้าพบแล้ว ก็ช่วย บอกมาด้วย

ฉันจะได้เดาว่า คนอื่นๆ เขาชอบ

หุ้น ตัวเดียว กับคุณมั้ย

บายยย บายยย........

หวั่นน้องใหม่ PTT13CA ต่ำจอง

KGI ส่ง DW นาม PTT13CA

ลงกระดานเทรดวันนี้วันแรก

ในตลาดหุ้นไทย ผู้บริหารบอก

เหนือราคาจองที่ 6.23 บาทหรือไม่

ขึ้นอยู่กับราคาหุ้นแม่-ราคาน้ำมัน


ฟากนักวิเคราะห์ฟันธงร่วงแน่นอน

หลังวานนี้ราคาหุ้นแม่ต่ำกว่า

ราคาอ้างอิงวันที่ 229 บ.

แนะแค่เทรดดิ้งเท่านั้น


KEST-PHATRA เล็งคลอด

DW ล็อตใหม่ Q3-Q4 นี้

นักวิเคราะห์แนะ นลท.วันนี้

หุ้นรีบาวด์ให้ขายสถานเดียวเท่านั้น


วันนี้แล้วหลักทรัพย์ใหม่ถอดด้าม

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธุ์(Derivative Warrant)

โดย DW ที่จะเข้าซื้อขายในตลท.

เป็นตัวแรกก็คือ PTT13CA

หุ้นอ้างอิง คือ หุ้นสามัญของบริษัท ปตท.

จำนวน 7.29 ล้านหน่วย ในราคา 6.23 บาท/หน่วย

(2.72% ของราคาหุ้นปตท. ณ วันที่ 2 ก.ค. นี้)

รวมมูลค่า 45,454,703 บาท

กำหนดอัตราใช้สิทธิ 5 DW ต่อ 1 หุ้นสามัญของปตท.

โดยจะเข้าทำการซื้อขายในตลาดหุ้น

วันแรกที่ 9 ก.ค. นี้

ในหมวดใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

โดย PTT13CA มีอายุ 6 เดือน

ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2552

ถึง 18 ธันวาคม 2552 (ซื้อขายวันสุดท้ายที่ 14 ธ.ค. นี้ )

โดยผู้ถือ DW สามารถใช้สิทธิได้ครั้งเดียว

ณ วันครบกำหนดอายุ

อัตราการใช้สิทธิ 5 DW ต่อ 1 PTT

ราคาการใช้สิทธิ 251.90 บาท

(ร้อยละ 110 ของราคาปิด PTT ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2552)

ราคาอ้างอิง คือ ราคาปิด PTT

ณ วันทำการซื้อขายสุดท้าย (วันที่ 14 ธันวาคม 2552)



สำหรับ DW ที่จะเข้าจดทะเบียนซื้อขาย

ในตลาดหลักทรัพย์นี้ มีลักษณะคล้ายกับ

ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)

โดยเป็นตราสารที่ผู้ซื้อจะได้สิทธิ

ในการซื้อหุ้นในราคาและจำนวนที่กำหนด

แต่ต่างกันที่ผู้ออก DW ไม่ใช่

บริษัทจดทะเบียนเจ้าของหุ้น

แต่เป็นบุคคลที่สาม เช่น บริษัทหลักทรัพย์

นอกจากนี้ เมื่อ DW ครบกำหนดอายุ

หากผู้ซื้อต้องการใช้สิทธิ ผู้ซื้อจะไม่ได้หุ้นจริง ๆ

แต่ได้รับเงินจากผู้ออกเท่ากับส่วนต่างของ

ราคาใช้สิทธิกับราคาหุ้นหรือที่เรียกว่า

การชำระเป็นเงินสด (Cash Settlement)

และ DW จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ด้วยวิธีการซื้อขายและกฎเกณฑ์เช่นเดียวกัน

กับการซื้อขายหุ้น



ผู้ออกหลักทรัพย์ DW อย่าง KGI นั่น

ค่อนข้างมั่นใจว่า ดิลิเวอร์ทีฟ วอร์แรนต์

จะประสบความสำเร็จ เพราะมีตัวอย่าง

จากต่างประเทศพบว่าเติบโตอย่างรวดเร็วมาก

เช่นเกาหลีมีการเติบโตมากที่สุด

โดยปีปี 2546 มีมูลค่าการซื้อขาย

ดิลิเวอร์ทีฟ วอร์แรนต์ เพียง 12 ล้านเหรียญสหรัฐ

แต่มาปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 73,039 ล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะที่ในฮ่องกง พบว่าสัดส่วนการซื้อขาย

ดิลิเวอร์ทีฟ วอร์แรนต์คิดเป็น 29%

ของการซื้อขายในตลาดหุ้น จาก 11% ในปี 2546


ซึ่งสำหรับประเทศไทย คาดว่า

จะใช้เวลา 1-2 ปี ที่จะมีสัดส่วน

การซื้อขาย 10-15% ของหุ้น



ทั้งนี้ จุดอ่อนของดิลิเวอร์ทีฟ วอร์แรนต์นี้

คือผู้ถือ DW จนครบอายุและใช้สิทธิ

แปลงสภาพต้องเสียภาษีเงินได้จากการใช้สิทธิ

เพราะทางกรมสรรพากรเห็นว่า

เป็นการแปลงสภาพนอกตลาด

ซึ่งในต่างประเทศก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน

ตัวอย่างของไต้หวันตลอด 10 ปี

ที่มีสินค้าตัวนี้พบว่ามีลูกค้าเพียง 2 รายเท่านั้น

ที่แปลงสภาพ นอกนั้นไม่ได้มีการใช้สิทธิแต่อย่างใด



นอกจากนี้ จุดเด่นของดิลิเวอร์ทีฟวอร์แรนต์

ที่สำคัญทำให้ได้รับความสนใจจากนักลงทุน

อย่างมาก คือ ใช้เงินลงทุนไม่มาก

เทียบกับลงทุนตรงในหุ้นอ้างอิง

และกำไรของดิลิเวอร์ทีฟ จะมากกว่าการลงทุน

ในหุ้นอ้างอิง โดยมีผลกำไรต่อเงินลงทุนสูงกว่า

และจำกัดการขาดทุนแต่ไม่จำกัดระดับของกำไร

รวมถึงไม่มีการกำหนดเพดานการขึ้นลง(ซิลลิ่งและฟลอร์)


และอีกความน่าสนใจของ DW

คือหุ้นอ้างอิงของ DW ที่จะซื้อขายนั้น

จะเป็นหุ้น Top 10 ในกลุ่มดัชนี SET50

ซึ่งมีสภาพคล่องและมีขนาดใหญ่

DW จะมีอายุ 6 เดือน

โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ DW

ต้องมีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker)

เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายได้ในเวลาที่ต้องการ



ปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์แสดงความสนใจ

เป็นผู้ออก DW แล้วประมาณ 3-4 ราย

ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)



**** KGI บอก PTT13CA เทรดวันนี้

เหนือจองที่ 6.23 บ./หน่วยหรือไม่

ฝากความหวังไว้ที่ราคาน้ำมัน-หุ้นแม่

นางสาวนฤมล อำนวยวิภาส

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์

บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants)

ที่ออกโดยบริษัทคือ PTT13CA

ซึ่งจะเข้าซื้อขายวันนี้(9 ก.ค.)เป็นวันแรก

จะเปิดซื้อขายเหนือราคาจองที่ 6.23 บาท/หน่วย

หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือ

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 วันซื้อขาย

ซึ่งระหว่างวันราคาเริ่มมมีสัญญาณฟื้นตัว

รวมทั้งราคาหุ้นตัวแม่ว่าที่ถูกชี้นำโดยราคาน้ำมัน

และทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ คืนนี้

ว่าจะออกจะมีทิศทางออกมาอย่างไร



อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันดิบ

ยังคงปรับตัวลงต่อ เชื่อว่านักลงทุน

จะมีความเข้าใจความเสี่ยงการลงทุน

ที่ราคาหุ้น PTT13CA จะอ้างอิงตามหุ้นแม่

ที่ปรับตัวขึ้นลงตามทิศทางราคาน้ำมัน

ในตลาดโลกที่ปรับตัวลง 3 วันต่อเนื่อง

ทั้งนี้หากราคาหุ้นยังคงลงต่อที่ระดับราคาหนึ่ง

หากประเมินจากปัจจัยพื้นฐานและ

ปัจจัยทางเทคนิคคาดว่าจะยังคงมี

นักลงทุนเข้ารอซื้อเพื่อลงทุน

และหากราคาน้ำมันในตลาดโลกคืนนี้

ปรับตัวขึ้นก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อ PTT13CA

ที่เข้าเทรดในวันนี้


ด้านความคืบหน้าเตรียมออก DW

อีก 4 หลักทรัพย์ ว่าขณะนี้อยู่ระหว่าง

การคัดเลือกหุ้น ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นได้

ในสัปดาห์หน้า เพื่อนำยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต.

ทั้งนี้คาดว่าหลังขั้นตอนดังกล่าว

ไม่เกิน 1 เดือนครึ่ง ทั้ง 4 หลักทรัพย์

จะสามารถเข้าซื้อขายได้ โดยหุ้นดังกล่าว

จะเป็นหุ้นชั้นนำในกลุ่มพลังาน

และธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด

อีกทั้งนโนบายในการเลือกหุ้น

จะพิจารณจากหุ้นที่ไม่เคยออกใบสำคัญแสดงสิทธิ

ที่จะซื้อหุ้นสามัญ หรือวอแรนต์



****KEST เชื่อ DW ขึ้นอันดับหุ้นยอดนิยม
ของ นลท.แน่ เหตุอ้างอิงหุ้นใหญ่แถมราคาถูก


นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KEST)

เปิดเผยกับ eFinanceThai.com

ว่าใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants)

ที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ ประเมินว่า

ในอนาคตมีโอกาสที่จะได้รับความนิยม

จากนักลงทุน เนื่องจาก DW ที่บริษัทหลักทรัพย์

เป็นผู้ออกจะคัดเลือกและอ้างอิงหุ้น

ที่เป็นยอดนิยมในหมู่นักลงทุนและมีราคาถูก

ประกอบกับหุ้นในกลุ่มดังกล่าวบริษัทก็ไม่ได้

มีการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ หรือวอร์แรนต์

ที่เป็นที่ต้องการของนักลงทุน ดังนั้นจึงเชื่อว่า

DW น่าจะได้รับการตอบรับที่ดี

จากกลุ่มนักลงทุนที่สนจะลงทุนในวอร์แรนต์


สำหรับความคืบหน้าใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW)

ในเบื้องต้นคาดว่าจะสมารถออกได้ประมาณไตรมาส 4/52

โดยขณะต้องการปรับเกณฑ์ Direct Listing

เพื่อให้เกณฑ์มีความเป็นสากล เป็นไปใน

ทิศทางเดียวกับต่างประเทศ
โดยการร่วมมือการทำงานระหว่าง 3 หน่วยงาน

ประกอบด้วย ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์

และชมรมวาณิชธนกิจ


อย่างไรก็ดี สำหรับหลักทรัพย์ที่จะใช้อ้างอิง

ในการออกยังไม่ได้สรุปชัดเจน

ทั้งนี้จะพิจารณาจากความเหมาะสม

และภาวะตลาดในขณะนั้นเป็นหลัก




****PHATRA มั่นใจเข็น DW ออกขาย

ภายใน Q3/52 แน่ หลัง ผถห.ไฟเขียว

วงเงินในการออก DW จำนวน 300 ลบ.


นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

และกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด มหาชน (PHATRA)

เปิดเผยว่า ประมาณไตรมาส 3 คาดว่า

บริษัทฯจะสามารถออก Derivative Warrant (DW)

โดยได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในวงเงิน

ไม่เกิน 300 ล้านบาท และได้ยื่นเสนอ

ต่อก.ล.ต. ไปแล้ว โดยผู้ที่จะมาขาย

ก็จะเป็นบริษัทหลักทรัพย์รายอื่น

สำหรับนักลงทุนในการลงทุน DW

จะต้องพิจารณาจากหุ้นแม่เป็นหลักว่า

มีศักยภาพหรือไม่ อีกทั้งดูราคาที่เหมาะสม

รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ผู้ออก



ทั้งนี้ หากแนวโน้มถึงช่วงสิ้นปี

เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัว

หุ้นในกลุ่มพลังงานที่ในอดีตมีผลต่อดัชนีฯ

ก็มีโอกาสที่จะฟื้นกลับมาได้

นอกจากนี้ยังประเมินว่าแนวโน้มของ DW

น่าจะมีโอกาสเติบโตได้เร็วตามทิศทางเดียว

กับตลาด Futures ของประเทศไทย

อีกทั้งเป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่มากขึ้น

สามารถสนองความต้องการ

ซึ่งน่าจะสร้างประโยชน์และได้รับความนิยม

ซึ่งผู้ออกผลิตภัณฑ์จะต้องช่วยกันสร้าง

ความน่าสนใจให้กับสินค้า



***เซียนหุ้น หวั่น PTT13CA เทรดวันแรกต่ำจอง 6.23 บ.

หลังวานนี้ราคาหุ้นแม่ต่ำกว่าราคาอ้างอิงวันที่ 2 ก.ค.ที่ 229 บ.


นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย)

เปิดเผยว่า ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants:DW)

PTT13CA ที่จะเข้าซื้อขายในวันนี้(9 ก.ค.52)

เป็นวันแรกนั้น ประเมินว่า ราคา DW PTT13CA

ไม่น่าจะยืนเหนือราคาจองที่ 6.23 บาท ได้

เพราะเมื่อเทียบกับราคาหุ้นแม่ PTT

ปิดตลาดหุ้นวันนี้ที่ระดับ 222 บาทนั้น

ต่ำกว่าไอพีโอของ PTT ที่อ้างอิง 2.72%

ของราคาหุ้นปตท. ณ วันที่ 2 ก.ค. ที่ระดับ 229 บาท

ซึ่งเป็นราคาที่ประเมินราคาจองของ DW

PTT13CA ที่ 6.23 บาท อย่างไรก็ตาม

ทิศทางของ DW PTT13CA ยังคงต้องขึ้นอยู่

กับภาวะตลาดฯประกอบด้วย


นอกจากนี้ ประเมินว่า หากถือ DW PTT13CA

จนครบกำหนด คาดว่าน่าจะให้ผลตอบแทน

น้อยกว่าการลงทุนในหุ้น PTT จึงแนะนำเพียงเทรดดิ้ง

โดยดูทิศทางของหุ้น PTT เป็นหลัก


'ทิศทางของ DW PTT13CA ค่อนข้างดูยาก

ทั้งนี้ หากถือจนครบกำหนด รอแปลงสิทธิ

คิดว่าน่าจะให้อัพไซด์น้อยกว่า

การลงทุนในหุ้น PTT ทั้งนี้ หากเทียบกับ

ราคาปัจจุบันราคาหุ้นไม่น่าจะยืนเหนือจอง

ที่ 6.23 บาทได้ เนื่องจากราคา PTT

ปัจจุบันต่ำกว่าราคา PTT ที่ประเมินราคาจอง

ของ DW PTT13CA' นักวิเคราะห์ กล่าว


ด้านนางสุนทรี เกียรติพงษ์ถาวร

ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารอนุพันธ์ บล. เคที ซีมิโก้

กล่าวว่าใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW)

ที่อ้างอิงกับหุ้นของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (PTT13CA)

ที่จะซื้อขายในวันนี้ เป็นวันแรกราคาคงเคลื่อนไหวทรงตัว

เพราะเป็นสินค้าใหม่ที่ออกเป็นครั้งแรก

นักลงทุนจึงน่าจะรอดูสถานการณ์ก่อน

ประกอบกับภาวะตลาดอาจมีแนวโน้มไม่ค่อยดี

หลังจากวานนี้ตลาดหุ้นไทยเปิดมา

ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรงมาก


แต่ในระยะยาวมองว่า DW น่าจะเป็นสินค้า

ที่ได้รับความนิยมมาก หลังจากโบรกเกอร์

หลายๆแห่งเริ่มทยอยออก DW อีกหลายตัว

เพราะหากพิจารณาดู DW เป็นสินค้า

ชนิดเดียวกับ Warrant เพียงแต่แหล่งขาย

แตกต่างจากเดิมที่ออกโดย บริษัทจดทะเบียนเอง

เปลี่ยนเป็นโบรกเกอร์แทนเท่านั้น



'DW ของ KGI ซึ่งเป็นเจ้าแรกที่ออกโดยโบรกเกอร์

เป็นรายแรกในวันนี้ มองว่าปริมาณการซื้อขาย

หรือราคาอาจจะเคลื่อนไหวทรงตัวและ

วอลุ่มเบาบางก่อน เพราะสถานกาณณ์ตลาดหุ้น

ช่วงนี้ผันผวน แต่ถ้าวันพรุ่งนี้ภาพรวมของตลาดหุ้น

ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง ก็อาจจะเป็นปัจจัย

ที่หนุนให้ราคาปรับตัวขึนแรงได้' นางสุนทรี กล่าว


ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 09/07/09 เวลา 8:14:31

Friday, July 3, 2009

เทรด PTT13CA กันดีกว่า

ชื่อเต็ม : ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในหุ้นสามัญ

ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)


ออกโดย : บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย)
จำกัด (มหาชน) รุ่น A (คอลวอร์แรนต์)

ชื่อย่อ : PTT13CA

PTT = หุ้นอ้างอิง
13 = หมายเลขโบรกเกอร์ของ KGI
C = คอลออปชั่น
A = รุ่นที่ A (A-Z)


หมวดหลักทรัพย์ : ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

วันจองซื้อ : 22-30 มิ.ย. 52

จองขั้นต่ำ : 20,000 บาทและเพิ่มเป็นทวีคูณของ 5,000 บาท

ราคาจอง : 2.72% ของราคาปิด PTT ณ 2 ก.ค. 52

ราคาใช้สิทธิ : 110% ของราคาปิด PTT ณ 2 ก.ค. 52

อัตราใช้สิทธิ : 5 DW : 1 PTT

จำนวนที่ออก : 20,000,000 หน่วย

ซื้อขายวันแรกใน SET: 9 ก.ค. 52

วันซื้อขายวันสุดท้าย : 14 ธ.ค. 52

วันครบกำหนดอายุ : 18 ธ.ค. 52

ผู้ดูแลสภาพคล่อง : KGI

ผู้จัดจำหน่าย : บล. ธนชาต

ดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ link นี้

http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/69dw/0171DW_SEC06532009-05-21T31.pdf

Inside DW

หลังจากที่ได้ นำข้อมูล เกี่ยวกับ DW มาลง

2 บทความแล้ว หวังว่า เพื่อนๆ คงจะได้ ...

ความรู้ และมีความเข้าใจ ใน DW เพิ่มขึ้น

กันบ้าง ไม่มากก็น้อย นะคะ แต่ก็ยังอยากสรุป

ให้เข้าใจง่ายๆ อีกที ละกันค่ะ...



เจ้า DW นี้ ถือว่าเป็นหลักทรัพย์ และจะเข้า

trade ใน SET ไม่ใช่ TFEX


การซื้อขาย ก็เหมือนกับเรา ซื้อขาย Warrant

ใน SET นั่นแหละ และก็ต้องอย่าลืม ดูเรื่อง

วันครบกำหนดอายุด้วย


ส่วนที่ต่างกับ Warrant ก็คือ ผู้ออก เป็นบริษัท

ที่ไม่ใช่เจ้าของหุ้น เมื่อผู้ถือ DW ต้องการใช้สิทธิ

บริษัทผู้ออกนี้ จะต้องไปซื้อหุ้น ในตลาด มาส่งมอบ

เพราะฉะนั้น เราก็ต้องพิจารณา ดูว่า บริษัทที่ออก

DW นี้ สามารถเตรียมหุ้น มารองรับการใช้สิทธิ

ได้เพียงพอ หรือไม่ มีความน่าเชื่อถือ และฐานะ

ทางการเงินดี เมื่อลูกค้ามาใช้สิทธิ แล้วไม่ผิดสัญญา


DW ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับตลาดทุนไทย

แต่สำหรับ ตลาดทุนที่พัฒนาแล้ว อย่างในอเมริกา

ยุโรป เลิกสนใจ DW ไปนานแล้ว เพราะโครงสร้าง

ตลาดของเขา เป็นนักลงทุนสถาบัน

DW เป็นสินค้า ที่เหมาะสมกับตลาดทุน ที่มีโครงสร้าง

เป็น นักลงทุนรายย่อย และเก็งกำไร จึงบูมมากใน

ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งเกาหลีใต้



สำหรับประเทศไทย มีบล.เคจีไอ และกิมเอ็ง

เป็นผู้นำ ผลิตภัณฑ์นี้ เข้ามาเสนอ ให้นักลงทุนไทย

ซึ่งทั้ง สองบริษัทนี้ ได้รับอนุญาต จาก ก.ล.ต.

ให้สามารถทำธุรกรรม ดังกล่าวได้ ในฐานะบุคคลที่ 3

โดยจะต้องหาหลักทรัพย์อ้างอิง มาทำการซื้อขาย

อาจจะเป็นหลักทรัพย์ หรือดัชนีหลักทรัพย์

โดย ก.ล.ต. กำหนดว่า หุ้นที่สามารถเป็นหลักทรัพย์

อ้างอิงได้ ต้องจดทะเบียนซื้อขายม่ต่ำกว่า 1 ปี

มี Market Cap เฉลี่ย 3 เดือน มากกว่า1 หมื่นล้านบาท

และมีปริมาณการซื้อขาย มากกว่า 1%


ในช่วงปลายปี 2008 หลักทรัพย์ ที่ผ่านเกณฑ์ ดังกล่าว

มี 26 บริษัท อยู่ในกลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ พลังงาน

วัสดุก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ทั้ง เคจีไอ

และกิมเอ็ง สามารถหาหุ้นที่น่าสนใจ และเป็นที่ต้องการ

ของนักลงทุนได้มาก พอสมควร และเนื่องจากบริษัท

ที่ออก DW ไม่ต้อง ขออนุญาต บริษัทจดทะเบียน

ผู้ออก ไม่มีความสัมพันธ์ กับบริษัทนั้นเลย ทำให้

สามารถ เลือกหุ้น ที่ดีที่สุด มาทำ DW ออกขาย

ให้กับ ลูกค้า ได้



แล้ว เคจีไอ กับ กิมเอ็ง ได้ประโยชน์ อะไร???

ได้ประโยชน์ ในเรื่องของความเชื่อมั่น และภาพพจน์

ที่ดีในสายตาสถาบันการเงิน

แต่ในฐานะที่เขา เป็นผู้ออก หลักทรัพย์ใหม่ ขายให้กับ

ประชาชนครั้งแรก(IPO) เขาก็จะต้องซื้อหุ้นมาเก็บไว้

เพื่อรองรับ การใช้สิทธิ ทำให้เป็นการเพิ่มสภาพคล่อง

ให้กับหุ้น อีกทางหนึ่ง และไม่มีผลกระทบด้าน

Dilution เพราะไม่มีการเพิ่มทุน เป็นหุ้นที่ซื้อขาย

บนกระดาน อยู่แล้ว และทำให้หุ้น หลายบริษัท ที่เป็น

ที่ต้องการของนักลงทุน แต่ขาดสภาพคล่อง หรือไม่มี

Warrant ขาย DW จะช่วยอุดช่องว่าง ดังกล่าวนี้ได้



แต่แม้ว่า DW จะน่าสนใจแค่ไหน สิ่งสำคัญ ที่นักลงทุน

จะลืมไป ไม่ได้เลย คือเรื่องของความเสี่ยง ซึ่งจะมีอยู่

ตลอดเวลา นอกเหนือจากความผันผวนของตลาดแล้ว

ยังมีความเสี่ยง ด้านผู้ออกด้วย เพราะหากมีปัญหา

จะเกิดหนี้สูญ ทันที



เพื่อลดความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้น กับนักลงทุน

ทาง ก.ล.ต. เลยกำหนดให้ บล. ที่สนใจออก DW

ต้องมีทุนจดทะเบียน ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท

มีสภาพคล่องขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท

อัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องต่อสินทรัพย์เสี่ยง

ไม่ต่ำกว่า 7% และมีอันดับความน่าเชื่อถือ ระดับ

Investment Grade ขึ้นไป



ก็ถือว่า DW นี้ เป็นรูปแบบใหม่ ที่ บล. ต่างชาติ

นำมาดึงดูด นักลงทุนไทย เพื่อจูงใจให้ทำธุรกรรม

และเป็นเพียงแค่การบริการ ให้ลูกค้าซื้อหุ้นเท่านั้นเอง



โปรดติดตาม PTT13CA ตอนต่อไป

ถ้าใครมีความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็โปรดช่วยกันโพสต์

ด้วยนะคะ จะได้เป็นการแบ่งปันความรู้กันค่ะ

Thursday, July 2, 2009

ใบสำคัญแสดงสิทธิ์อนุพันธ์ (Derivatives Warrant: DW) ต่อจากคราวที่แล้ว



จากบทความ ทีเคยเขียนไว้ ในคราวก่อน ในเรื่องของ
ใบสำคัญแสดงสิทธิ์อนุพันธ์ (Derivatives Warrant: DW)
สามารถ หาอ่านได้ ตาม link ข้างล่างนี้

http://imbroker.blogspot.com/2009/06/derivatives-warrant-dw-9.html

เราลองอ่านทบทวนดูแล้ว เห็นว่าข้อมูล ยังหยาบไป
เลยอยากเพิ่มเติม ข้อมูล ในบางประเด็น อีกครั้งค่ะ
เริ่มเลย ละกันนะ...


พรีเมี่ยม คือ ราคาที่ผู้ถือ DW เป็นผู้จ่าย เพื่อซื้อสิทธินี้
(ก็เหมือนกับ ราคาที่เราซื้อ Warrant นั่นแหละ)



ลักษณะมูลค่าที่แท้จริง

ATM : ราคาใช้สิทธิ = ราคาปัจจุบัน

ITM : ราคาใช้สิทธิ < ราคาปัจจุบัน

OTM : ราคาใช้สิทธิ > ราคาปัจจุบัน



ประเภทของระยะเวลาการใช้สิทธิ

1)European ใช้สิทธิได้ครั้งเดียว ณ วัน
ครบกำหนดอายุ เท่านั้น

2)American ใช้สิทธิ ได้ทุกวัน จนกระทั่ง
ถึงวัน ครบกำหนดอายุ



ภาษี

1)Capital Gain Tax ได้รับยกเว้น
ภาษี เหมือนกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ใน ตลท.

2)การใช้สิทธิ
-การซื้อสินค้าอ้างอิง ไม่เสียภาษี เหมือนการ
ใช้สิทธิ Warrant ปกติ

-เงินได้จากการใช้สิทธิ (Cash Settlement)
คิดเป็นเงินได้พึงประเมิน (ต้องจ่ายภาษี บุคคลธรรมดา)



ความเสี่ยง

-ผู้ถือ DW ใช้สิทธิ แต่ผู้ออก DW ผิดนัด
ไม่สามารถ ส่งมอบเงินสด หรือส่งมอบสินค้าอ้างอิงได้

-Gearing Risk อัตราผลตอบแทนสูง
แต่ก็ "เจ๊งหนัก" ได้เหมือนกัน

-มีอายุจำกัด

-ราคา(พรีเมี่ยม) ของ DW อาจไม่เคลื่อนไหว
ตามทฤษฎี ในระยะสั้น เพราะมี แรงซื้อ หรือขาย
ตามกลไกตลาดเข้ามากระทบ


ลองดูตารางเปรียบเทียบ ระหว่าง DW กับ Warrant
ตามภาพข้างล่างนี้นะคะ



Custom Search

Followers