Friday, November 6, 2009

Dollar Index ตอนที่ 2 / ความสำคัญของค่าเงินดอลลาร์

Dollar Index ตอนที่ 2 / ความสำคัญของค่าเงินดอลลาร์

ซึ่ง ณ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า Dollar Index นั้นเป็นดัชนีสำคัญ

ในการบอกถึงแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆดังนี้


1.ทิศทางค่าเงินดอลลาร์ต่อสกุลเงินต่างๆ เช่น ไทยบาทต่อดอลลาร์ ,

เยนต่อดอลลาร์ , ปอนด์ ต่อดอลลาร์ หรือ ยูโรต่อดอลลาร์

ซึ่งหมายความว่า หาก Dollar index มีการอ่อนค่าลง ก็จะส่งผล

ถึงแนวโน้มของเงินสกุลต่างๆ ว่ามีโอกาสที่จะแข็งค่าต่อดอลลาร์

แต่อย่างไรก็ดี การที่ค่าเงินสกุลต่าง จะแข็งค่าต่อเงินสกุลดอลลาร์

อาจมีอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ สภาวะเศรษฐกิจ การเมือง

ความเชื่อมั่น และ Demand & Supply ของเงินสกุลนั้น

ว่ามีมากน้อยอย่างไร


2.กระแสเงิน (Fund Flow) ที่มักจะเข้าไปลงทุนในประเทศ

ที่มีค่าเงินแข็งกว่าเงินสกุลดอลลาร์ ซึ่งจะเข้าทั้งในตลาดตราสารเงิน

และตลาดทุน โดยจะเห็นว่าส่วนใหญ่ที่ผ่านมาเมื่อเงินบาทไทย

มีแนวโน้มที่จะแข็งค่า ก็มักจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาซื้อหุ้น

จำนวนมาก จึงทำให้ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ

ดูจะเป็นสัดส่วนเดียวกับเงินบาทที่แข็งค่า คือต่างชาติมักจะซื้อหุ้น

เมื่อเห็นว่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่า และจะขายเมื่อเงินบาท

มีแนวโน้มอ่อนค่าดังตัวอย่างในรูป


แต่อย่างไรก็ดีจะเห็นว่า ในปี 2008 เกิดการขายของนักลงทุนต่างชาติ

ในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ก็เป็นได้ เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์

ซับไพร์ม ที่ทำให้เงินลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลกถูกเทขาย เพื่อนำเงิน

กลับมาอุ้มวิกฤติ ในประเทศอเมริกา


3.ราคาทองคำ เนื่องจากเงินสกุลดอลลาร์ เปรียบเสมือน

เงินสกุลหลัก ในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งหากค่าเงินดอลลาร์

มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงไป ก็จะทำให้เงินดอลลาร์ถูกแปลงสภาพ

เป็นสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์

ดังเช่นทองคำเป็นต้น โดยในอดีตที่ผ่านมา ทองคำเปรียบเสมือน

เงินสดสกุลหนึ่ง ที่มีสภาพคล่อง และสามารถใช้เป็นสินทรัพย์

ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดี ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างทองคำและดอลลาร์

มักจะมีความสัมพันธ์แบบผกผันคือ หากดอลลาร์อ่อน ทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น

และหากดอลลาร์แข็ง ทองคำจะปรับตัวลดลง


4.ราคาน้ำมัน ความสัมพันธ์ของราคาน้ำมัน มักจะเป็นสัดส่วนผกผัน

กับดัชนีค่าเงินดอลลาร์ กล่าวคือ ราคาน้ำมัน มักปรับตัวสูงขึ้น

เมื่อค่าเงินดอลลาร์มีการอ่อน

โดยปัจจัยที่ 1 คือ เงินสกุลดอลลาร์ เปรียบเสมือนสกุลหลัก

ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าที่มีอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

บรรดาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำมัน ทองคำ เหล็ก ธัญพืช

ต่างใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย จึงทำให้

ประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ต้องการที่จะขายสินค้าในมูลค่าทางการเงินเท่าเดิม

(คือยังได้เงินดอลลาร์มาซื้อสินค้าอย่างอื่นในปริมาณหรือขนาดเท่าเดิม)

แต่หาก ค่าเงินดอลลาร์อ่อน ก็หมายถึงอำนาจซื้อของเงินดอลลาร์

ลดน้อยลง จึงทำให้ผู้ขายสินค้าเหล่านี้ ปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่ม

มาชดเชยมูลค่าดอลลาร์ที่ขาดหายไป


ปัจจัยที่ 2 อาจเกิดสภาวะการเก็งกำไร เข้าถือครองใน

สินทรัพย์ โภคภัณฑ์ (commodities) มากขึ้นเมื่อ

ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่า เพราะผู้ลงทุนทุกคน

ต่างมุ่งหวัง ที่จะถือสินทรัพย์ ที่มีแนวโน้มแข็งค่ามากกว่าอ่อนค่า

เพื่อรักษามูลค่าสินทรัพย์รวมที่ได้ลงทุนไว้ ดังนั้น เมื่อแนวโน้ม

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนก็จะส่งผลให้ราคา Commodities ปรับตัวสูงขึ้น


ขอขอบคุณ :

http://www.investorchart.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538772066&Ntype=2

No comments:

Post a Comment

Custom Search

Followers