Wednesday, November 7, 2012

ไกลตาไกลใจ..พิสูจน์แล้วใช่เลย

ไกลตาไกลใจ..พิสูจน์แล้วใช่เลย

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาจิตวิทยาโหลช็อกโกแลต ยืนยันสิ่งที่คนส่วนใหญ่รู้กันโดยสัญชาตญาณ นั่นคือคำพังเพยที่ว่า "ไกลตาไกลใจ" เป็นเรื่องจริง

จิตวิทยาโหลช็อกโกแลตคือ การที่บรรดาเลขาฯหน้าห้องทั้งหลายได้รับแจกเฮอร์ชีย์คิสสำหรับสัปดาห์เลขาฯ ซึ่งผลปรากฏว่า ช็อกโกแลตที่บรรจุอยู่ในโหลใสแจ๋วและวางเด่นเป็นสง่าอยู่บนโต๊ะทำงาน จะพร่องหายไปเร็วกว่าช็อกโกแลตที่เก็บไว้มิดชิดในตู้ปิดทึบ หรือวางอยู่ไกลตัว

หลุยส์ เอรอนนี ผู้อำนวยการโครงการควบคุมน้ำหนักของวิทยาลัยการแพทย์เวลล์ คอร์เนลในนิวยอร์ก และประธานโอเบซิตี้ โซไซตี้ เจ้าภาพการประชุมที่มีการนำเสนอรายงานชิ้นนี้ กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวให้แง่คิดเกี่ยวกับสิ่งที่นักวิจัยกำลังทำอยู่เพื่อประเมินเจตจำนงของคน

การศึกษาที่ว่ามีแกนนำคือ ไบรอัน แวนซิงค์ ผู้เชี่ยวชาญการตลาดด้านอาหารและพฤติกรรมการบริโภค ของมหาวิทยาลัยคอร์เนล โดยเอรอนนีชี้ว่า นี่เป็นหนึ่งในไม่กี่โครงการที่ทำการศึกษาและแสดงปริมาณของปัจจัยเร้าที่นักวิจัยเชื่อมานานแล้วว่ามีอยู่จริง

วิธีการก็คือ แวนซิงค์และทีมงานแจกช็อกโกแลตคิสส์ให้เลขานุการิณีในมหาวิทยาลัย 40 คน คนละ 30 ชิ้น โดยมีทั้งที่บรรจุอยู่ในโหลใสและโหลขุ่น และวางอยู่บนโต๊ะหรือวางห่างโต๊ะไป 6 ฟุต และจะแอบไปเติมให้ทุกคืน สี่สัปดาห์ต่อมา นักวิจัยจึงกลับไปนับจำนวนช็อกโกแลตที่พร่องหายไป

ผลปรากฏว่า เหล่าเลขาฯกินช็อกโกแลตเฉลี่ย 7.7 ชิ้นต่อวันเมื่อโหลใสแจ๋ววางอยู่บนโต๊ะ, 4.6 ชิ้นต่อวันถ้าโหลขุ่นวางอยู่บนโต๊ะ, 5.6 ชิ้นต่อวันถ้าโหลใสแจ๋ววางไกลออกไป 6 ฟุต และ 3.1 ชิ้นเมื่อโหลขุ่นวางห่าง 6 ฟุต

ในการสัมภาษณ์ภายหลังจากนั้น เลขาฯประเมินว่าตนเองกินช็อกโกแลตมากกว่าความเป็นจริงกรณีที่พวกเธอต้องเดินไปหยิบ แต่ประเมินต่ำเกินจริงเมื่อช็อกโกแลตเหล่านั้นอยู่ใกล้แค่มือเอื้อม

No comments:

Post a Comment

Custom Search

Followers